ชื่อเรื่อง/Title การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับครอบครัวตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา : วิธีการ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ / Islamic Family Dispute Mediation Practice by the Islamic Committee of Songkhla : Method and User?s Satisfaction
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของสำนักงานของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการโดยการจำแนกตามเพศ อายุและระดับการศึกษาทางด้าน ต่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับครอบครัวของสำนักงานของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับครอบครัวของสำนักงานของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) การเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ(Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถามจำนวน 127 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายและข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) บุคคลที่ให้ข้อมูลหลัก(Key Informants) จำนวน 5 คนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)<br /> ผลการวิจัยพบว่า <br /> 1) วิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีรูปแบบและขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังนี้ <br /> 1.1) การรับเรื่องร้องเรียนและซักถามปัญหาข้อพิพาทในเบื้องต้น<br /> 1.2) ติดต่อผู้ถูกร้องเรียนมาซักถามปัญหาข้อพิพาท<br /> 1.3) เรียกคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายมาพร้อมกันเพื่อพูดคุยและหาข้อสรุปโดยใช้วิธีการซักถามต่อหน้าพร้อมทั้ง 2 ฝ่าย และแยกห้องประชุมพูดคุยในกรณีพิพาทที่รุนแรงไม่สามารถควบคุมได้<br /> 1.4)ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเบื้องต้นจะเกริ่นนำด้วยการอ่านดุอาอฺอ่าน สูเราะหฺฟาตีหะฮฺ และตักเตือน (นาศีฮัต) ด้วยหลักคำสอนอิสลาม การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทใช้วิธีการพูดคุยหาข้อสรุปจากทั้ง 2 ฝ่าย หากยอมรับจากข้อสรุปด้วยการยอมความกันได้ก็ถือเป็นอันเสร็จสิ้นโดยการลงชื่อทั้ง 2 ฝ่ายในสัญญาไกล่เกลี่ย แต่หากคู่พิพาทไม่สามารถตกลงตามข้อสรุปหรือยอมความกันได้ ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยจะยุติการไกล่เกลี่ย โดยให้คู่พิพาททั้ง 2 ฝ่ายลงชื่อในสัญญาไกล่เกลี่ย และระบุในสัญญาตอนท้ายว่าไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้<br /> 2) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเปรียบเทียบระดับความแตกต่างความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีเพศและระดับการศึกษาทางด้านศาสนาที่ต่างกัน ไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ใช้บริการการไกล่เกลี่ยที่มีอายุต่างกัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5<br /> 3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขและปรับปรุงรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 11 ซึ่งมีประเด็นที่ต้องมีการปรับปรุงและแก้ไข คือด้านสถานที่มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการบริการ ด้านบุคลากรด้านระยะเวลาในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ด้านผลของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และด้านกระบวนการและขั้นตอนน้อยที่สุด<br />

This study aimed 1) to examine approaches of family conflict mediation of the Islamic Committee of Songkhla, 2) to investigate and compare satisfaction levels of clients divided as genders, ages, and levels of Islamic education on family conflict mediation, 3) to gather recommendations and solutions on family conflict mediation of the Islamic Committee of Songkhla by mean of mixed method research. Data collection was separated into two parts. In quantitative research, it was conducted with 127 samples using simple sampling. In qualitative research, it was manipulated with five key informants using purposive sampling. <br /> The findings were as follows. <br /> 1) The procedure of the family conflict mediation comprised as follows :<br /> 1.1) to receive a complaint and preliminarily inquire the conflicts; <br /> 1.2) to contact a complainant to ask about a conflict;<br /> 1.3) to call two involved sides for a face-to-face talk by questioning and make conclusions, as well as separate the questioning rooms in case of uncontrollable and severe conflicts. <br /> 2) The overall satisfaction of the clients on family conflict mediation of the Islamic Committee of Songkhla was at high level. There was no a statistically significant difference between the genders and the Islamic education levels of the clients. However, there was a statistically significant difference in the ages of the clients at 0.05. <br /> 3) The overall recommendations and solutions of family conflict mediation of the Islamic Committee of Songkhla were at 11 percent. The highest recommended issues to be improved and solved were on the meeting.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameอดุลเดช โต๊ะแอ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contens
Symbols
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
Chapter6
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: มะรอนิง สาแลมิง
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2561
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 520
     Counter Mobile: 31