|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : การวิเคราะห์พหุระดับ / Factors Promoting Self-Improvement of Teachers under the Office of Primary Educational Area Service in the Three Southern Border Province : Multilevel Analysis |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาตนเองของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยพหุระดับที่ส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,100 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม(Questionnaire)สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับ ด้วยโปรแกรม HLM for Window <br />
ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้<br />
1. ผลการวิเคราะห์ระดับการพัฒนาตนเองของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านบุคลิกภาพ ( = 4.24 SD = .47) รองลงมา คือ ด้านทักษะ ( =4.05 SD = .49) ต่ำสุด คือ ด้านวิชาชีพ ( =3.91 SD = .52)<br />
2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับ พบว่า ตัวแปรระดับครู ได้แก่ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปัจจัยด้านการรับรู้ในความสามารถของตนเอง ปัจจัยด้านความทะเยอทะยาน และปัจจัยด้านเจตคติต่อวิชาชีพครู มีอิทธิพลทางบวกต่อการพัฒนาตนเองของครูอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนตัวแปรระดับโรงเรียน (Macro-level) ที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ การสนับสนุนจากผู้บริหารสถานศึกษา ส่วนตัวแปรผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งนี้ตัวแปรระดับครูและตัวแปรระดับโรงเรียนทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของการพัฒนาตนเองได้ร้อยละ 98.5 (R2 = 0.985) <br />
The purpose of this study were 1) to study self-improvement level of teachers under the office of primary education area in the three southern border provinces 2) to study the multilevel factors that promote self-improvement of teachers under the office of primary education area in the three southern border provinces. There were 1,100 teachers in the Office of the Primary Education Area in the three southern border provinces by multi-stage random sampling method, which using the questionnaire to collect data. The Statistical analysis were percent, mean, standard deviation, Pearson?s product moment coefficient of correlation and multilevel analysis using HLM for Window.<br />
The results showed that.<br />
1. The results of self-improvement level of teachers under the office of the primary education area in the three southern border provinces using analytical means and standard deviation. Self-improvement level of personality was at the highest level of 4.24 with standard deviation of .47, followed by level self-improvement with skill level of 4.05, standard deviation of .49 and developmental level. Self to professional variables the mean was 3.91 and the standard deviation was .52.<br />
2. Multi-level Analysis showed that Teacher-level variables include the Factors related to perception of self-efficacy. Ambitious factor Attitude to teacher professionalism and achievement motivation factors. Positive influences on self-development of teachers. School variable (Macro-level) with statistical significance at 0.01 was supported by school administrators. And Impact of unrest in the area did not show statistical significance at 0.01. All teacher variables and school variables were able to explain 98.5 percent of self-development variance (R2 = 0.985). <br />
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | มัรฎียะฮ์ เตล็บ | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
มัฮดี แวดราแม |
Roles: |
อาจารย์ที่ปรึกษา |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2560 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
615 |
|
Counter Mobile: |
24 |
|