|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน (3-6 ปี) จำนวน 223 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นแบบสุ่มอย่างง่ายโดยสุ่มจากคอมพิวเตอร์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิงโดยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบถอยหลัง <br />
ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติของผู้ปกครองด้านทันตสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x? = 1.84, S.D. = 0.66) รายข้อ พบว่าผู้ปกครองมีการปฏิบัติในระดับปานกลางมากที่สุด คือ ผู้ปกครองไม่ให้เด็กดื่มน้ำอัดลมตามที่เด็กต้องการ (x? = 2.34, S.D. = 0.53) รองลงมาคือผู้ปกครองไม่ให้เด็กคาบขวดนมไว้ขณะเด็กนอนหลับ (x? = 2.28, S.D. = 0.61) และผู้ปกครองไม่ซื้อยาแก้ปวดให้เด็กกินเมื่อเด็กปวดฟัน (x? = 2.17, S.D. = 0.86) ตามลำดับ และพบว่าปัจจัยด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารทันตสุขภาพ (? = -0.372, P-value <0.001) และทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน (? = -0.215, P-value <0.001) ส่งผลต่อการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยทั้ง 2 สามารถร่วมทำนายได้ร้อยละ 21.6<br />
หน่วยงานสาธารณสุขควรส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีการปฏิบัติในเรื่องการให้เด็กแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหารและก่อนนอน และมุ่งเน้นการปฏิบัติด้านการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียน <br />
This cross-sectional analytical study aimed to investigate 1) practice of parents on dental care of preschool-aged children and 2) factors affecting practice of parents on dental care of preschool-aged children in Nong Chik District, Pattani Province. Two hundred and twenty-three samples of parents were selected using probability sampling by simple random technique from computer. A structured questionnaire was developed as the research instrument. The descriptive statistics were used in data analysis: frequencies, percentages, means and standard deviations. Also, inferential statistics were performed by backward multiple linear regression. <br />
The results of the study found that the overall practice of parents on dental care was at a medium level (x? = 1.84, S.D. = 0.66). By each question, disallowing their children drinking soft drink showed the highest mean score (x? = 2.34, S.D. = 0.53), followed by disallowing their children to hold a milk bottle in the mouth while they were sleeping (x? = 2.28, S.D. = 0.61) and not buying analgesic drugs for their children when they have had a toothache (x? = 2.17, S.D. = 0.86), respectively. Regarding the factors affecting practice of parents on dental care, the study revealed that receiving information about dental care (? = -0.372, P-value <0.001) and attitude toward dental care of preschool-aged children (? = -0.215, P-value <0.001) were statistically significant effects to practice of parents on dental care of preschool-aged children in Nong Chik District, Pattani Province at the significant level of 0.05. The above two factors could predict on dental care of preschool- aged children by 21.6%.<br />
The public health organizations should continuously promote practices of parents regarding brushing teeth every time after meals and before bed and should put emphasis on practices of parents concerning oral health care among preschool-age children.<br />
|