|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาป'ญหาและสร้างแนวทางการจัดฝาก<br /><br />
ประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การดำเนินการวิจัย<br /><br />
แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาป'ญหาการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครู ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5 ด้าน คือ 1) การปฐมนิเทศและส่งตัวนักศึกษาฝากสอน 2) การสังเกตการสอนของอาจารย์พี่เลี้ยง 3) การเยี่ยมสถาบันปฏิบัติการสอน 4) การประชุมอภิปรายการสัมมนาระหว่างปฏิบัติการสอนและการวิจัยในชั้นเรียน 5) การสัมมนาหลังปฏิบัติการสอน ซึ่งกลุ่มตัวอย2าง<br /><br /><br />
เป็นผู้บริหารสถานศึกษา 74 คน อาจารย์พี่เลี้ยง 212 คน อาจารย์นิเทศก์45 คน และนักศึกษาปฏิบัติ<br /><br /><br />
การสอน 212 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสำรวจรายการและมาตราประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความถี่ ระยะที่ 2 การสร้างแนวทางการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมีขั้นตอนดำเนินการ 1) นำผลการวิเคราะห์ปัญหาการจัดฝากประสบการณ์<br /><br />
วิชาชีพครูของคณะศึกษาศาสตร์ และศึกษาเอกสารการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยของรัฐ มาร่างเป็นแนวทางการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครู 2) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครู ในทางนโยบาย โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ คือ<br /><br />
ผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ 1 คน คณะกรรมการบริหารงานการฝากประสบการณ์วิชาชีพและปฏิบัติการสอน 12 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา 3)ตรวจสอบความคิดเห็นกับผู็ปฏิบัติโดยการจัดประชุมกลุ่มแบบ Focus Group ประกอบด้วย อาจารย์นิเทศก์ 5 คน อาจารย์ พี่เลี้ยง 5 คน และผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน และทำการวิเคราะห์เอกสารทางราชการที่น่าเชื่อถือ เพื่อสนับสนุนการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์ เนื้อหา ซึ่งผลการวิจัย มีดังนี้ <br /><br />
1. ปัญหาการดำเนินการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครูของ คณะศึกษาศาสตร์<br /><br />
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา มีปัญหาโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลางส่วนอาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ นักศึกษาปฏิบัติการสอน มีปัญหาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากโดยผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์พี่เลี้ยง และนักศึกษา มีปัญหาด้านการปฐมนิเทศและส่งตัวนักศึกษาฝากสอน มีปัญหาสูงที่สุด ส่วนอาจารย์นิเทศก์ มีปัญหาด้านการเยี่ยมสถาบันปฏิบัติการสอน มีปัญหาสูงที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า<br /><br />
1.1 ด้านการปฐมนิเทศและส่งตัวนักศึกษาฝากสอน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา<br /><br />
อาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ และนักศึกษา มีปัญหาสูงที่สุด ในเรื่อง การประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายก่อนที่ส่งนักศึกษาไปฝากประสบการณ์วิชาชีพครู<br /><br />
1.2 การสังเกตการสอนของอาจารย์พี่เลี้ยง พบว2า ผู้บริหารและนักศึกษา มีปัญหาสูงที่สุด ในเรื่องการกำหนดวัน ? เวลาในการสังเกตการสอนให้กับนักศึกษา และการพูดคุยและร่วมกันทำความรู้จักกับบุคคลที่เกี่ยวข้องภายในโรงเรียน ส่วนอาจารย์พี่เลี้ยงมีป'ญหาระดับปานกลาง<br /><br />
1.3 การเยี่ยมสถาบันปฏิบัติการสอน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา อาจารย์พี่เลี้ยง<br /><br />
อาจารย์นิเทศก์ มีปัญหาสูงที่สุด เรื่อง การให้ข้อมูลย้อนกลับเรื่องการจัดฝากประสบการณ์ วิชาชีพครูแก่ คณะศึกษาศาสตร์<br /><br />
1.4 ด้านการประชุมอภิปรายการสัมมนาระหว่างปฏิบัติการสอนและการวิจัยใน<br /><br />
ชั้นเรียน พบว่า อาจารย์นิเทศก์ และนักศึกษา มีปัญหาสูงที่สุด ในเรื่อง การกำหนดกระบวนการและแนวทางการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ชัดเจน<br /><br />
1.5 ด้านการสัมมนาหลังปฏิบัติการสอน พบว่า อาจารย์นิเทศก์และนักศึกษา มี<br /><br />
ปัญหาสูงที่สุด ในเรื่อง ความสามารถในการนำหลักการ ทฤษฎี ทักษะที่ศึกษามาสรุปและจัดทำเป็นผลงานของนักศึกษา และการจัดกิจกรรมหลังการฝากสอนที่มีความชัดเจน<br /><br />
2. แนวทางการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครูของ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีดังนี้<br /><br />
2.1 การปฐมนิเทศและส่งตัวนักศึกษาปฏิบัติการสอน มีแนวทางการดำเนินงาน<br /><br />
ดังนี้ 1)การติดต่อประสานงานกับสถานศึกษาโดยจัดทำหนังสือสำรวจความต้องการพร้อมข้อมูลพื้นฐานสถานศึกษาและแผนงานการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครูให้สถานศึกษาปฏิบัติการสอนทราบล่วงหน้าไปยังสถานศึกษาที่มีมาตรฐานตามที่คุรุสภากำหนด 2) กระบวนการเลือกสถานศึกษาปฏิบัติการสอนโดยจัดประชุมนักศึกษาปฏิบัติการสอนเพื่อทำความเข้าใจนโยบายของคณะศึกษาศาสตร์ในการเลือกโรงเรียน และศึกษาคู่มือการฝากประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะศึกษาศาสตร์ และแจ้งไปยังหัวหน้าโปรแกรม/ผู้ประสานงานโปรแกรมวิชาเอกก่อนเลือกสถานศึกษาปฏิบัติการสอน 3) การส่งนักศึกษาไปสถานศึกษาปฏิบัติการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มอบหมายผู้บริหารหรือตัวแทน มาส่งตัวนักศึกษาด้วยตัวเองเพื่อพบปะพูดคุยกับสถานศึกษาปฏิบัติการสอน และจัดทำหนังสือส่งตัวพร้อมข้อมูลส่วนตัวของนักศึกษา คู่มือการฝากประสบการณ์วิชาชีพครู และกำหนดวันและเวลาการส่งตัวนักศึกษาไปยังสถานศึกษาปฏิบัติการสอน 4) การประชุมอาจารย์นิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและอาจารย์พี่เลี้ยงประจำสถานศึกษาปฏิบัติการสอนเพื่อวางแผน สร้างความเข้าใจตรงกันเรื่องนโยบาย/วัตถุประสงค์ การจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครู 5) การประชุมและอภิปรายกลุ่มใหญ่ในการปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนไปปฏิบัติการสอนโดยหน่วยฝากประสบการณ์วิชาชีพ คณะศึกษาศาสตร์ เพื่อทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่<br /><br />
สร้างความเข้าใจตรงกันเรื่องนโยบาย/วัตถุประสงค์ การจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครู โดยฝ่ายฝากประสบการณ์วิชาชีพ<br /><br />
2.2 การสังเกตการสอนของอาจารย์พี่เลี้ยง เป็นการดำเนินการปฏิบัติการสอนและปฏิบัติงานในหน้าที่ครูและงานครูอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย 1) กำหนดวัน เวลาในการสังเกตการสอนให้กับนักศึกษา 2) การพูดคุยและร่วมกันทำความรู้จักกับบุคคลที่เกี่ยวข้องภายในโรงเรียน อาจารย์พี่เลี้ยงควรให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด 3) วางแผนการสังเกตการสอนร่วมกันระหว่างนักศึกษา อาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง 4) อาจารย์พี่เลี้ยง ติดตามและตรวจสอบผลงานตามข้อกำหนด<br /><br />
2.3 การเยี่ยมสถาบันปฏิบัติการสอน 1) คณะศึกษาศาสตร์สนับสนุนยานพาหนะให้เพียงพอและสะดวกในการเดินทางไปประสานงานและไปนิเทศ 2) ผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์วางแผนการออกเยี่ยมหน่วยฝากสอนร่วมกับอาจารย์นิเทศก์ 3) สถานศึกษาให้ข้อมูลย้อนกลับเรื่องการจัดฝากประสบการณ์วิชาชีพครูแก่คณะศึกษาศาสตร์ 4) นักศึกษาเข้ารับการนิเทศ จากอาจารย์นิเทศก์ตามข้อกำหนดโดยมีการแจ้งวันเวลาในการออกนิเทศนักศึกษาล่วงหน้า 5) อาจารย์นิเทศก์ทำการประเมินผลชี้แจงข้อดี ข้อบกพร่อง และเสนอแนะวิธีการแก้ไข<br /><br />
2.4 การประชุมอภิปรายการสัมมนาระหว่างปฏิบัติการสอนและการวิจัยในชั้นเรียนมีแนวทางการดำเนินงาน 1) นักศึกษาปฏิบัติการสอน ต้องปรับปรุงแก้ไขวิจัยในชั้นเรียนตามข้อเสนอแนะจากอาจารย์นิเทศก์ เขียนและนำเสนอความก้าวหน้าของโครงร่างวิจัยในชั้นเรียน 2) การสัมมนาระหว่างฝากประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อวิเคราะห์ ปรับปรุง พัฒนาการสอน การปฏิบัติงานในหน้าที่ครูระหว่างปฏิบัติการสอน การทบทวนการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยการเข้าร่วมสัมมนาของนักศึกษาปฏิบัติการสอน แต่ละครั้ง ใช้ประกอบการวัดผลประเมินผลการปฏิบัติการสอนได้<br /><br />
2.5 การสัมมนาหลังปฏิบัติการสอน 1) ประเมินผลการปฏิบัติการสอนและการปฏิบัติหน้าที่ครูโดยผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จในการทำงานและด้านที่เป็นปัญหา 2) นำเสนอวิจัยในชั้นเรียนที่ผ่านการประเมินจากอาจารย์นิเทศก์ เพื่อสรุปเป็นบทเรียน 3)นำเสนอเป3นผลงานนิทรรศการเวทีนำเสนอการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice 4) จัดโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบเข้าบรรจุครูและควรมีการแนะนำการทำงาน 5) การพูดคุยสรุปถึงข้อปฏิบัติในการออกไปประกอบวิชาชีพ 6) การกำหนดวัน-เวลาการส่งงานของนักศึกษาปฏิบัติการสอนและการส่งผลการประเมินการปฏิบัติการสอนให้มีความชัดเจน
The objectives of this research aim to study the issues and to establish<br /><br />
the guidelines for student teachers of the Faculty of Education, Prince of Songkla<br /><br />
University. The study was divided into two phases: Phase 1-The study of 5 problems<br /><br />
of pre-service teacher practicum experience, Faculty of Education Prince of Songkla<br /><br />
University; 1) Student Orientation and Conveyance. 2) The Observation of School<br /><br />
Advisor. 3) Visiting teaching institution. 4) Meeting discussion, Seminar between teaching<br /><br />
and Research in class 5) After teaching seminar. The sample groups were 74 school<br /><br />
administrators, 212 school advisors, 45 university supervisors, 212 student teachers<br /><br />
who came from the tools called the questionnaire survey items 5 levels which were<br /><br />
measured by the percentage value, the average, the standard deviation and the<br /><br />
frequency. Phase 2 ? To establish guidelines for the pre-service student teaching<br /><br />
practicum experience of Faculty of Education, Prince of Songkla University Pattani<br /><br />
Campus by 1) To bring the results of the analysis of the pre-service student teaching<br /><br />
practicum experience of Faculty of Education and to study documents of the preservice<br /><br />
student teaching practicum experience from the other State universities to<br /><br />
create the draft for the pre-service student teaching practicum experience guidelines.<br /><br />
2) To determine the suitability and feasibility of the guideline daft in terms of policies<br /><br />
by qualified experts -one of Board of Education and 12 executive committees including<br /><br />
professional and teaching experienced people by using a semi-structured interview.<br /><br />
Data to be analyzed by content analysis. 3) To check the comments of the practices<br /><br />
by organizing the Focus Group meeting. The core attendees were 5 university supervisor,<br /><br />
5 mentor teachers and 5 school administrators who conducted the analysis of reliable<br /><br />
(8)<br /><br />
9<br /><br />
government documents to support research by using the content analysis. The results<br /><br />
were as follows:<br /><br />
1. The problems of the pre-service student teaching practicum<br /><br />
experience of Faculty of Education, Prince of Songkla University were the school<br /><br />
administrators which were overall moderate whereas the school advisors, university<br /><br />
supervisors and student teachers were clearly in the high level. The most problematic<br /><br />
issues for the school administrators, advisors and student teachers were the student<br /><br />
orientation and conveyance while the university supervisors had the problem on<br /><br />
visiting the teaching institution at the most .When considering, it could be classified<br /><br />
as follows;<br /><br />
1.1 Issue on the orientation and student conveyance. It revealed<br /><br />
that the school administrators, student advisors and university supervisors had the<br /><br />
highest problem on the coordination of all stakeholders before sending students to<br /><br />
teaching practicum experience.<br /><br />
1.2 Observation of school advisor. The highest trouble that the school<br /><br />
administration and the student have faced were the way to set up the day and time<br /><br />
to observe the student, the communication and relationship between the people<br /><br />
involved in the school while the school advisors seemed in the moderate level.<br /><br />
1.3 Visiting Teaching Institute. It was found that school administrators.<br /><br />
advisors and university supervisors had the highest problem in regards of the feedback<br /><br />
on the pre-service student teaching practicum experience to the Board of Education.<br /><br />
1.4 The seminar discussion in between teaching practice and<br /><br />
researche in class. The highest trouble for the university supervisors and the interns<br /><br />
was the formulation of the clearly process and approach for classroom research.<br /><br />
1.5 After teaching practice seminar. It was found that the supervisors<br /><br />
and the interns had the highest problem in regard with the capability to use principles,<br /><br />
theories and skills that were studied to summarize and arrange the students' performances<br /><br />
and including the unclear activity after teaching practice.<br /><br />
2. Guidelines for Teacher Professional Experience, Faculty of Education<br /><br />
Prince of Songkla University Students are;<br /><br />
(9)<br /><br />
10<br /><br />
2.1 The orientation and the conveyance of the student teacher were<br /><br />
advised as follows; 1) Liaising with schools by providing books with basic needs for<br /><br />
education and programs for Teacher Professional Experience to teaching schools prior<br /><br />
to the practice to the institution standardized by the Council, 2) Setting teaching<br /><br />
school selection process through the meeting among the teaching practices to let<br /><br />
them understand the policy of the Faculty of Education in terms school selection and<br /><br />
study guides for professional teachers of the Faculty of Education and report to the<br /><br />
head of the program / major program coordinator before selecting a teaching school.<br /><br />
3) Sending student teachers to teaching institution. Faculty of Education assigned the<br /><br />
managements or their representatives themselves come forward to meet, talk and<br /><br />
discuss with the teaching school including to carry on the a letter of transfer with<br /><br />
personal information of students, guidelines for teacher professional experience and<br /><br />
to determine the date and time to send students to the teaching school. 4) Arranging<br /><br />
the conference between supervisor, school administrators and school advisors to set<br /><br />
the teaching plan and create the same understanding on the policies/ objectives of<br /><br />
the teacher professional experience. 5) Conducting the meeting and discussion groups<br /><br />
during the orientation prior to teaching practice by the teacher professional experience<br /><br />
team of the. Faculty of Education to repeat the roles and responsibilities and create<br /><br />
the understanding about the policy / objectives of teacher professional experience<br /><br />
program.<br /><br />
2.2 The observation of school advisor. It was a teaching practice and<br /><br />
mission for the teacher and other teachers? duties assigned as follows: 1) To set the<br /><br />
day and time to observe the teaching of the students 2) To communicate, talk and<br /><br />
get to know the persons involved the school. The advisors should closely give the<br /><br />
advices. 3) To plan for the observation together with the students, the university<br /><br />
supervisors and the school advisors 4) To track and monitor the students? performance<br /><br />
as required.<br /><br />
2.3 Visiting Teaching Institute. The guidelines are as follows: 1) The<br /><br />
Board of Education should visit teaching schools, support adequately vehicle to serve<br /><br />
the convenience on coordination and supervision. 2) Executive Board of Education<br /><br />
should plan to visit with teaching institutes along. 3) The supervisors to exchange the<br /><br />
(10)<br /><br />
11<br /><br />
feedbacks on teacher professional experience. 4) Students should be supervised<br /><br />
according to supervisory requirements. The students should be informed prior to the<br /><br />
scheduled date. 5) The supervisors? evaluation should be clarified the strengths and<br /><br />
weaknesses and give the clear advise how to fix them.<br /><br />
2.4 Discussion meetings, seminars between teaching and research in<br /><br />
the classroom; the guidelines are as follows: 1) The teaching practices had to improve<br /><br />
the classroom research according to the feedback from the supervisors and to write<br /><br />
and present the progress of the research outlined in the class. 2) The seminar during<br /><br />
teacher professional experience was to analyze, improve, and develop the teaching<br /><br />
practices and to review the research in the classroom by participating each seminar<br /><br />
of teacher students which could be used for the tools to measure and evaluate the<br /><br />
teaching.<br /><br />
2.5 After teaching seminars were instructed as follows: 1) Evaluating<br /><br />
teaching and teacher performing through the exchange of successful experience and<br /><br />
the problems. 2) Presenting the research in classroom which passed the supervisor?s<br /><br />
evaluation to conclude the contents and be the lesson. 3) Arranging the exhibition for<br /><br />
the Best Practice. 4) Organized the program of teacher admission preparation including<br /><br />
the working introduction.5) Discussing and summarizing the practice of the profession<br /><br />
6) Scheduling the clear day and time to deliver the student teacher?s assignment and<br /><br />
evaluation result of teaching practice. |