|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | การพัฒนาทีมนักกีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย / Prince of Songkla University sports teams development on participating in Thai university game | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการพัฒนาทีมนักกีฬามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และเพื่อศึกษาและ เปรียบเทียบความคิดเห็นในการดำเนินงานตามการพัฒนาทีมนักกีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ในด้านการคัดเลือกตัวนักกีฬา ด้าน สวัสดิการงบประมาณ ด้านการฝึกซ้อม และอุปกรณ์ในการฝึกซ้อม ความคิดเห็นของรองอธิการบดี ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอน และนักกีฬา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหาร ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอน และนักกีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 174 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น .98 ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการดำเนินการเตรียมทีมนักกีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อเข้าร่วม การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ในเรื่องของแผนการคัดเลือกตัวนักกีฬา การเตรียมการ ฝึกซ้อมและสถานที่ที่ใช้ในการฝึกซ้อมได้มีการดำเนินการตามแผนของมหาวิทยาลัย แต่ในด้าน งบประมาณ ยังพบว่ามีปัญหามากในการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาทีมนักกีฬา 2. ผลการศึกษาการพัฒนาทีมนักกีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อเข้าร่วมการ แข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ในด้านการคัดเลือกตัวนักกีฬาพบว่าการวางแผนงานการ เตรียมรับสมัครนักกีฬา การคัดเลือกตัวนักกีฬาและการประชาสัมพันธ์ มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับ ปานกลาง ด้านสวัสดิการและงบประมาณในเรื่องของทุนการศึกษาการจัดหารางวัล การมีบุคลากร ดูแลเรื่องงบประมาณมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากตามนโยบายการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยฯ ด้านการฝึกซ้อมมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากตามการวางแผนการฝึกซ้อมของทีมกีฬาแต่ละทีม ด้านสถานที่และอุปกรณ์ในการฝึกซ้อม มีการปฏิบัติการอยู่ในระดับปานกลางในเรื่องของความสะดวก ในการใช้สนามกีฬา ความเหมาะสมของสนามกีฬาในการฝึกซ้อม และจำนวนของสนามกีฬาที่เพียงพอ ต่อการฝึกซ้อม สำหรับแนวทางการพัฒนาการเตรียมทีมนักกีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ด้าน สวัสดิการและงบประมาณ มหาวิทยาลัยต้องให้การสนับสนุนด้านงบประมาณเพิ่มมากขึ้น ในเรื่องการ จัดหาทุนการศึกษา จัดหารางวัล อำนวยความสะดวกในเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณ และงบประมาณ ในการดูแลรักษาพยาบาล เมื่อเกิดการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมและแข่งขันให้กับนักกีฬา ด้านการ คัดเลือกตัวนักกีฬาผู้บริหาร ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอน ต้องให้ความสำคัญกับการคัดเลือกตัวนักกีฬาและ โดยเน้นนักกีฬาที่มีทักษะด้านกีฬาเฉพาะทางเท่านั้นเพื่อส่งผลในการเข้าร่วมการแข่งกีฬามหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย ด้านการฝึกซ้อมผู้บริหาร ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอน ต้องมีความตั้งใจทุ่มเทและค้นคว้า เทคนิคการวางแผนการฝึกซ้อมตลอดทั้งปี ด้านสถานที่และอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมผู้บริหาร ผู้จัดการ ทีม ผู้ฝึกสอน เตรียมความพร้อมเรื่องของสนามการฝึกซ้อมและอุปกรณ์การฝึกซ้อมให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับนักกีฬาเมื่อไปทำการแข่งขันจริงนักกีฬาจะได้เกิดความเคยชินกับอุปกรณ์ กีฬาชนิดนั้น 3. ผลการเปรียบเทียบรูปแบบการเตรียมทีมนักกีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ด้านสภาพปัญหา การดำเนินการเตรียมทีม นักกีฬามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอน และนักกีฬา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในการดำเนินงานด้านการคัดเลือกนักกีฬา ด้านการฝึกซ้อม ด้าน สถานที่ในการฝึกซ้อม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านสวัสดิการและ งบประมาณนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 The purposes of this study were to study the problem of Prince of Songkla university sport teams development on participating in Thai University Game and to study and compare an opinion of presidents, team managers, coaches and athletes for operation according to Prince of Songkla university sport teams development on participating in Thai University Game in screening for athletes, welfare and budget, practice, practice field and sports equipment aspects. The samples of this research are presidents, team managers, coaches and athletes. The total is 174 people. Questionnaires<br /> and interviews with 0.98 of reliability were used to collect the data. The research was found as follows; 1. The problem of university sport teams preparation on participating in Thai University Game in screening for athletes practice preparation and practice field was operated according to the plan. While, budget aspect got many problems about<br /> budget allocation for sport team development. 2. The study result of Prince of Songkla University sport teams<br /> preparation on participating in Thai University Game in screening for athletes found that athletes application preparation plan, screening for athletes and promotion are at medium level. Welfare and budget aspect for scholarships and rewards, the staff?s performance according to university policy is at high level. Practice aspect according to the plan is at high level. Practice field and sports equipment aspects is at medium level for convenient usage, suitability field for practice and amount of field enough The development guideline of Prince of Songkla university sport teams preparation is the university has to support more budget for scholarships, rewards and disbursement the budget and expense for medical treatment when the athletes get injured from practicing and competition. Screening for athletes aspect, the president, team manager, coach have to focus on the sport talent of the athletes for affecting to participating in Thai University Game. Practicing aspect, the president, team manager, coaches have topay attention,explore the technique and plan for practicing all the year. Practice fieldand sports equipment aspects, the president, team manager, coach should prepare the standard practice field and sports equipment, the athletes will set out their familiar sports equipment when during play in a competition 3. The comparative result of Prince of Songkla University sport teams preparation on participating in Thai University Game in problem statements, teams preparation performance according to the presidents, team managers, coaches and athletes found that the samples? opinion in screening for athletes, practice and practice field of the different of efficiency did not differ statistically significant at the<br /> 0.05 level. While welfare and budget aspect, the efficiency is statistically significant at the 0.05 level. |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม --นโยบายและการพัฒนา --การมีส่วนร่วมทางสังคม ด้านการศึกษา --การจัดการศึกษา |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2557 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 1796 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 35 | |||||||||||||||||||||