|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | ภาวะผู้นำและบทบาทของอิหม่ามในการจัดการศูนย์การศึกษาอิสลาม ประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดนราธิวาส / Leadership and Roles of Imam in Managing Provision of Mosque-based Educational Centers (Tadika) in Narathiwat Province | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของอิหม่ามในการจัดการศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดนราธิวาส 2) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของอิหม่ามในการจัดการศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดนราธิวาส 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำของอิหม่ามในการจัดการศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดนราธิวาส 4) เพื่อเปรียบเทียบระดับบทบาทของอิหม่ามในการจัดการศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดนราธิวาส และ 5) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำและบทบาทของอิหม่ามในการจัดการศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ อิหม่ามในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 234 คน และผู้เชี่ยวชาญกำหนด แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำและบทบาทของอิหม่าม จำนวน 12 คน โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำและบทบาทของอิหม่ามในการจัดการศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดนราธิวาส และขั้นตอนที่ 2 เป็นการจัดสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการประชุมสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ และทดสอบรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำของอิหม่ามด้านความรับผิดชอบ ด้านวิสัยทัศน์กว้างไกล ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม และด้านกระบวนการควบคุม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ระดับบทบาทของอิหม่ามด้านงานวิชาการ ด้านงานบุคคล ด้านความสัมพันธ์ชุมชน ด้านงานกิจกรรมนักเรียน และด้านงานธุรการและการเงิน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะผู้น าของอิหม่าม พบว่า อิหม่ามที่มีอายุ วุฒิการศึกษาศาสนา และวุฒิการศึกษาสามัญต่างกัน มีภาวะผู้นำในการจัดการศึกษาในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนที่มีประสบการณ์ในการบริหารศูนย์ฯ (ตาดีกา)ต่างกันมีภาวะผู้นำในการจัดการศึกษาในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และที่มีขนาดของศูนย์ฯ (ตาดีกา) ต่างกัน ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เฉพาะด้านความรับผิดชอบ ส่วนด้านอื่นๆไม่แตกต่างกัน 4. ผลการเปรียบเทียบระดับบทบาทของอิหม่าม พบว่า อิหม่ามที่มีอายุต่างกันมีบทบาทในการจัดการศึกษาในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่มีวุฒิการศึกษาศาสนาต่างกันในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่าง ที่มีวุฒิการศึกษาสามัญต่างกันมีบทบาทในการจัดการศึกษาในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านงานวิชาการ ด้านงานบุคคล ด้านงานกิจกรรมผู้เรียน และด้านงานธุรการและการเงิน ส่วนด้านความสัมพันธ์ชุมชนไม่แตกต่างกัน ที่มีประสบการณ์ในการบริหารศูนย์ฯ (ตาดีกา) ต่างกัน ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านธุรการการเงินและด้านความสัมพันธ์ชุมชน และที่ปฏิบัติงานในขนาดของศูนย์ฯ (ตาดีกา) ต่างกัน ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เฉพาะด้านงานบุคคล ส่วนด้านอื่นๆไม่แตกต่างกัน 5. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้น าของอิหม่ามมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์กว้างไกล ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม และด้านกระบวนการควบคุม ส่วนแนวทางการพัฒนาบทบาทของอิหม่ามมี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านงานวิชาการ ด้านงานบุคคล ด้านงานความสัมพันธ์ชุมชน ด้านงานกิจกรรมนักเรียน และด้านงานธุรการและการเงิน The objectives of the research were: 1) to study the level of leadership of Imam in managing provision of mosque-based educational centers (Tadika) in Narathiwat province; 2) to study the level of roles of Imam in managing provision of mosque-based educational centers (Tadika) in Narathiwat province; 3) to compare the level of leadership of Imam in managing provision of mosque-based educational centers (Tadika) in Narathiwat province; 4) to compare the level of roles of Imam in managing provision of mosque-based educational centers (Tadika) in Narathiwat province; 5) to study approaches in developing the leadership and roles of Imam in managing provision of mosque-based educational centers (Tadika) in Narathiwat province. The sample group in the study was 234 Imams in Narathiwat province and 12 experts in putting approaches in developing the leadership and roles of Imam in managing. The study was divided into 2 steps: 1) survey research step in which the questionnaire about the leadership and roles of Imam in managing provision of mosque-based educational centers (Tadika) in Narathiwat province was used the tool ; 2) group discussion in which record form of group discussion was used as the tool. The statistics used in the study were: frequency, percentage, average, standard deviation, F value and two tests as the approach of scheffe. The results 1. The level of leadership of Imam in the field of the responsibility, the vision, the participating management and the monitoring process in general were in the ?Very Much? level. 2. The level of roles of Imam in the field of the academic affairs, personal managing affairs, public relationship affairs, student affairs, administration and monetary affairs in general were in the ?Very Much? level. 3. Comparing the level of leadership of Imam, the study shows that Imams in different ages and Islamic study qualification and academic study qualification have in general and each field the statically magnificent at the .01 level of different states of the leadership; the ones who have different experiences in the mosques? study center (Tadika) have no different states of leadership in general and in each field, and the ones who administrate different sizes of mosques? study center (Tadika) have no different states of leadership in general, but have statically magnificent at the 0.1 level of different states of leadership in field of responsibility only, not others. 4. Comparing the level of roles of Imam, the study shows that Imams in different ages have in general and in each field statically magnificent at the .01 level of different roles in managing Tadika; the ones with different Islamic qualification have no different in general and in each field; the ones with different academic qualification have no different in general but the have statically magnificent in each field of academic affairs, personal management, student affairs, general and monetary administration, not public relationship affairs; the ones with the different experience in managing Tadika have no different in general, but they have statically magnificent at the .01 level of different roles in the management in field of personal management only, not others. 5. There are 4 approaches in developing the states of Imams? leadership: vision field, sharing administration field, and monitoring process. Whereas there are 5 approaches in developing their roles: academic affairs, personal administration, public relationship affairs, student affairs, and general and monetary administration. |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านเศรษฐกิจและสังคม --โรงเรียนกับชุมชน ด้านการศึกษา --บุคลากรทางการศึกษา --ผู้นำชุมชน อิสลามศึกษา |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2556 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 3995 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 50 | |||||||||||||||||||||