|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี / A Discriminant Analysis of Factors Contributing to Retention of Teachers in Islamic Private Schools in Pattani Province |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่สามารถจำแนกการคงอยู่ของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานีและสร้างตัวแปรจำแนก (Discriminant variate) พยากรณ์การคงอยู่และการลาออกของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี ใช้เทคนิคการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างเป็นครูสอนวิชาสามัญในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี จำนวน 246 คน แบ่งออกเป็น กลุ่มครูวิชาสามัญที่ยังคงปฏิบัติงานสอนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จำนวน 131 คน และกลุ่มครูวิชาสามัญที่ได้ลาออกจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามสำหรับการศึกษาเชิงปริมาณ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 11 ตัวแปร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์จำแนก (Discriminant Analysis) พบว่าตัวแปรที่สามารถจำแนกกลุ่มครูที่ยังคงอยู่ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและกลุ่มครูที่ได้ลาออกจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมี 1 ตัวแปร ได้แก่ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถนำมาพยากรณ์การเป็นสมาชิกของกลุ่มครูที่คงอยู่ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามได้ถูกต้องร้อยละ 96.2 และกลุ่มครูที่ได้ลาออกจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามได้ถูกต้องร้อยละ 99.1 เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า สมการจำแนกกลุ่มสามารถพยากรณ์ทั้งสองกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 97.6 และได้กำหนดชื่อตัวแปรจำแนกว่าปัจจัยด้านระยะเวลาการปฏิบัติงาน สำหรับผลการสัมภาษณ์ ครูมีความต้องการให้โรงเรียนดูแลสวัสดิการ มีระบบการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนที่ชัดเจน ควรให้โอกาสครูได้แสดงศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มความสามารถ ข้อเสนอสำหรับภาครัฐ ควรให้การสนับสนุนการศึกษาในภาคเอกชนโดยการหาแนวทางการบรรจุครูโรงเรียนเอกชนเป็นพนักงานราชการหรือข้าราชการครูอย่างมีหลักเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและความโปร่งใส
The study aimed to determine variable discriminanating retention of teachers in Islamic private schools in Pattani Province and to develop a discriminant variate in order to predicts the retention and resignation of those teachers. Subjects of the study were two hundreds and forty-six content teachers divided into two groups using purposive sampling technique. The first group was one hundred and thirty-one content teachers who were still on duty while the second was one hundred and fifteen teachers who have resigned from the Islamic private School. Data were collected using questionnaires for quantitative study and semi-structured interview for qualitative study. Eleven variables were used in this study. Discriminant Analysis was used to analyze the data. It was found that the duration of work was the only variable able to discriminate the teachers still on duty in Islamic private schools and those resigned from such schools. It could accurately predict membership of the on-duty teachers at 96.2% and 99.1% for the resigned group. Overall, it was found that the predictive equation was able to accurately predict both groups at 97.6%. Such variable was labeled the factor of job performing duration. As for the information gained from the interviews, teachers require that schools take care of their welfare, provide a clear consideration for salary promotion and offer opportunity for teachers to perform their ability at a full scale. The implications of the study are: the government should seriously sustain education in the private sector and find ways to induct private Islamic School teachers into the government officer unit through efficient and clean criteria. |
|
ผู้ทำ/Author |
Name | สุฟยาน แวบือซา | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
อิสลามศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
ชิดชนก เชิงเชาว์ |
Roles: |
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2556 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
2787 |
|
Counter Mobile: |
35 |
|