ชื่อเรื่อง/Title การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนระดับหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี / The Evaluation of Life QualityDevelopment Project on Community Level,Pattani Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนระดับหมู่บ้าน จังหวัดปัตตานี (พนม.) โดยใช้รูปแบบของซิปป์ (CIPP Model) 2) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะผู้นำสี่เสาหลักกับบริบทโครงการ ปัจจัยนำเข้าโครงการ กระบวนการบริหารโครงการ และผลผลิตโครงการและ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากิจกรรมตามโครงการ พนม. โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำสี่เสาหลัก ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ผู้นำศาสนา และปราชญ์ชาวบ้าน รวมจำนวน1,200 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t-testและ f-testตลอดจน เปรียบเทียบเชิงซ้อน (Multiple Comparison) โดยใช้วิธี Least Significant Difference(LSD)ส่วนเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหาร ศอ.บต. เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดและอำเภอ จำนวน 18 คน สนทนากลุ่มกับผู้นำสี่เสาหลัก ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการ พนม. จำนวน 6 คนวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาความ และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า <br /> ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 1,045 คน คิดเป็นร้อยละ 87.1 เป็นผู้นำศาสนามากที่สุด จำนวน 300 คน คิดเป็นร้อยละ 25.0 ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 45 ปี จำนวน 651 คน คิดเป็นร้อยละ 54.3 มีระดับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6มากที่สุด จำนวน 404 คน คิดเป็นร้อยละ 33.7 และส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการทำงานโครงการ พนม. มากกว่า5 ปี ขึ้นไป จำนวน 583 คน คิดเป็นร้อยละ 48.6 ส่วนการประเมินความคิดเห็น ด้านบริบทโครงการในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.42ค่า S.D. เท่ากับ 0.73 ด้านปัจจัยนำเข้าโครงการในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.91ค่า S.D. เท่ากับ 0.64 ด้านกระบวนการโครงการในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.85 ค่า S.D. เท่ากับ 0.69 และด้านผลผลิตโครงการในลักษณะกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่าส่วนใหญ่ชุมชนเน้นกิจกรรมในด้านการประกอบอาชีพเป็นหลัก จำนวน 780 คน คิดเป็น ร้อยละ 65.0 รองลงมาด้านส่งเสริมรายได้ จำนวน 686 คน คิดเป็นร้อยละ 57.2 และการดำเนินงาน ด้านชีวิตครอบครัว จำนวน 553 คน คิดเป็นร้อยละ 46.1 ตามลำดับ<br /> สำหรับแนวทางการพัฒนากิจกรรมตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนระดับหมู่บ้าน พบว่า ทุกกิจกรรมต้องเป็นกิจกรรมที่สามารถตอบสนองปัญหาและความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง สร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านรูปแบบเวทีประชาคมหมู่บ้านและเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนกิจกรรม <br />

The objective of this research was 1) The evaluation of life qualitydevelopment project on community Level, Pattani Province. Using the model of CIPP (CIPP Model), 2) to analyzethe characteristics of the four pillars on the context, the project input, project management processand productivity project and 3)the proposed development activities under Life QualityDevelopment Project, the sample group is leading the four pillarsInclude: headman, sub-district administrative organization members, religious leaders, and scholars a total of 1,200 people, questionnaires were used to collect quantitative data. and the statistics used to analyze data include: the frequency value, percentage, mean, standard deviation, testing the hypothesis with the t-test and f-test, multiple comparison by using Least Significant Difference (LSD), the qualitative,in-depth interviews executive Southern Border Provinces Administration Centre (SBPAC), provincial officials and district 18 people, discussion groups with four pillars, the stakeholders in the life qualitydevelopment project 6 people, data were analyzed by qualitative content analysis, presented data describing, and monitoring data centers.<br /> The research found that:most of the respondents were male 1,045 people 87.1 %most religious leaders 300 people 25%, most were older than 45 years 651 people 54.3%, education level Grade six at the most404 people 33.7%, and most of the duration of the work Life QualityDevelopment Projectover 5 years 583 people 48.6%, assessment on the project context overview found that the average level, ( =3.42,S.D.=0.73), the project inputfound that the level in overall ( =3.91, S.D.=0.64),project management processfound at high level in overall( =3.85,S.D. 0.69, and productivity projectin the manner of the development activities the quality of life,it was found that the community focused on the activities in the occupation is primary 780 people 65.0%, followed by the promotion of income 686 people 57.2%, and the implementation of family life 553 people 46.1%respectively.<br /> For development activities under the life qualitydevelopment project on community levelfind all events must be an activity that can respond to the problemand the needs of real people, learning process through a village community forumand highlight the participation of all sectors to drive activity<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameเสาวลักษณ์ แสนโรจน์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contens
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: --ปัตตานี
ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
--สุขอนามัยชุมชน
ด้านสุขภาพอนามัย
     Contributor:
Name: ณัฏฐ์ หลักชัยกุล
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2558
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 647
     Counter Mobile: 18