ชื่อเรื่อง/Title สภาพการดำเนินงานตามกระบวนการวางแผนของผู้บริหารตามทัศนะของบุคลากรโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส / Planning Process Operation of Administrators as Perceived by Islamic Private Schools? Personnel under the Jurisdiction of the Office of Private Education, Narathiwat Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา<br /> ระดับสภาพและเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานตามกระบวนการวางแผนของผู้บริหารตามทัศนะของบุคลากรโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน ตลอดจนเพื่อประมวลปัญหาและแนวทางแก้ไขการดำเนินงานตามกระบวนการวางแผน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นบุคลากรโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการทดสอบเอฟ (F-test)<br /> ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานตาม<br /> กระบวนการวางแผนของผู้บริหารตามทัศนะของบุคลากรโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอน พบว่า ขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มี 6 ขั้นตอน ระดับปานกลางมี 2 ขั้นตอน และระดับน้อยมีเพียง 1 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผน ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานตามกระบวนการวางแผนของผู้บริหารตามทัศนะของบุคลากรโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส ที่มีเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน ที่ต่างกัน โดยภาพรวมและรายขั้นตอนไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษาและขนาดโรงเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ผู้บริหารขาดการนำหลักคำสอนของศาสนาอิสลามมากระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามแผนที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวทางแก้ไข คือ ผู้บริหารควรสร้างมูลเหตุจูงใจและมีกลไกควบคุมความต่อเนื่องในการนำแผนไปปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนามาใช้อย่างเคร่งครัด เช่น การพูดเน้นย้ำในที่ประชุมเกี่ยวกับความสำคัญและคุณค่าของการปฏิบัติงานที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ เป็นต้น<br />

This research is a survey research which aimed to study and compare the planning process operation of administrators as perceived by personnel of Private Islamic Schools under the Private Education Office of Narathiwat Province, based on their gender, education, position, work experience, and school size. The study also aimed to compile problems and solutions on the planning process operation. The samples used in this study were Islamic private schools? personnel under the Jurisdiction of the Office of Private Education, Narathiwat Province. Interview data was collected from 6 Private Islamic Schools? administrators under the Jurisdiction of the Private Education Office of Narathiwat Province. The instrument used in this study consisted of questionnaires and semi-structured interviews. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, average, standard deviation test, t-test and F-test.<br /> The results of the study showed that the overall level of estimation on the planning process of administrators as perceived by personnel of Private Islamic Schools under the Jurisdiction of the Private Education Office of Narathiwat Province was moderate. When considering each step, the step that has the highest average level has six stages, intermediate level has two stages and the lowest level has only one stage, which is to excute according to the plan. The comparison of opinions on planning process Operation of Administrators as Perceived by personnel of the school based on their difference in gender, education, position, work experience and school size, the results showed that the overall level was not different, with the exeption of school size, which showed a statistically significant at .05. The most common problem is the administrators lack of tenets of Islam to motivate practitioners to continually execute work as planned. The proposed solution to this problem is that the administrators should create motivation and mechanisms to control and ensure that the execution be continually proceeded according to the tenets of the religion such as delivering speech in the meeting that emphasized on the importance and value of work performed on a continuous basis.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameมุสลิมมะห์ เจ๊ะมี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Symbols
Chapter 1
Chapter 2
Chapter 3
Chapter 4
Chapter 5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อะห์มัด ยี่สุ่นทรง
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2558
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 576
     Counter Mobile: 22