ชื่อเรื่อง/Title การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล / The Implementation of Self Quality Assurance in Islamic Private Schools in Satun Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล เกี่ยวกับระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง อายุ ประสบการณ์ วุฒิการศึกษา 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล จำนวน 202 คน ผู้บริหารของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล จำนวน 16 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในจังหวัดสตูล จำนวน 10 คน <br /> ผลการวิจัยพบว่า <br /> 1) การศึกษาระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล พบว่า ด้านการเตรียมการ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินการตามแผน ด้านการตรวจสอบประเมินผล ด้านการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน ด้านการจัดทำรายงานประจำปี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก<br /> 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล โดยจำแนกตาม เพศ ตำแหน่ง อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง จำแนกตามตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง จำแนกตามอายุ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่าง จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนในด้านการจัดทำรายงานประจำปีไม่แตกต่างกันจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่าง <br /> 3) การประมวลข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล มีดังนี้ คือ สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดควรมีแผนงานหรือโครงการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ควรมีการสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ ควรมีห้องสมุดที่มีหนังสือตัวอย่างงานวิจัย หรือเอกสารต่างๆ เพื่อให้ครูผู้สอนใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และหาความรู้เพิ่มเติม ควรดูแล เอาใจใส่ นิเทศ ติดตาม และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแก่ครูผู้สอนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะครูผู้สอนที่มีประสบการณ์สอนมากกว่า 5 ปี ควรจัดประชุมสัมมนาเรื่องการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาร่วมกันเพื่อรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อไป<br />

This research aims 1) to examine the operation of internal quality assurance in Islamic private schools as perceived by school administrators and teachers 2) to compare opinions of school administrators and teachers of Islamic private school in Satun on the level of internal quality assurance operation based on their gender, position, age, working experience, school size and educational qualification and 3) to compile suggestions and solutions to the problems related to internal quality assurance operation in Islamic private schools in Satun. The samples used in this study were 202 teachers,16 administrators of Islamic private schools in Satun and 10 expert panels from Satun.<br /> Results of the study are as follows;<br /> 1) Regarding to internal quality assurance operation in Islamic private schools in Satun, the results showed that the overall level of all dimensions, namely, preparation, planning, taking action according to the plan, examining evaluation results, taking evaluation results for work improvement and making an annual report was high.<br /> 2) Regarding to the comparison of opinions of school administrators and teachers on the level of internal quality assurance operation based on their demographic variables (gender, position, age, educational qualification, working experience and school size), the results showed that there were no significant different for overall and each dimension of internal quality assurance operation based on gender and position. A statistically significant difference at .05 was found for overall dimensions of internal quality assurance operation based on age difference. There were no significant different for overall internal quality assurance operation based on educational qualification difference. A statistically significant difference at .01 was found for overall dimensions of internal quality assurance operation based on working experience difference. On the dimension of taking evaluation results for work improvement, it was found a statistically significant difference at .01. On making an annual report, the overall result showed that no statistically significant difference based on school size difference.<br /> 3) The suggestions and solutions to the problems related to internal quality assurance operation in Islamic private schools in Satun were as follows; schools and their top affiliated units should have work plans or projects that help promoting teachers to develop awareness and to perceive the importance of internal quality assurance operation in schools, a continued and sufficient budget should be provided, library with books, sample of researches or documents should be available so that teachers can search and seek more knowledge, showing concern on teachers should be adopted by taking care, giving attention, providing supervision and consultation and following up with respect to internal quality assurance operation in school on a regular and continuing basis, especially for those teachers who have more than 5 years of teaching experience, seminar on internal quality assurance operation in school for exchanging problems and solutions should also be conducted. <br />
     ผู้ทำ/Author
Nameมุสลาม เละสัน
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Contens
Symbols
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2558
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1116
     Counter Mobile: 21