ชื่อเรื่อง/Title ผลของรูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น 7E ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในสังคมพหุวัฒนธรรม / Effects of 7E Learning Cycle Instructional Model on Mathayomsuksa 4 Students Learning Achievement, Problem Solving Ability and Attitude towards Learning Chemistry in Multicultural Society
     บทคัดย่อ/Abstract ารศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ในสังคมพหุวัฒนธรรม และเพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมีก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบในการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ในสังคมพหุวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนศาสนูปถัมภ์ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนรวม 43 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่ม ที่ศึกษาแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียน การสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมี แบบบันทึกภาคสนาม และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เท่ากับร้อยละ 74.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 และจัดอยู่ในเกณฑ์ที่มีความสามารถระดับดี นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาเคมีหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เท่ากับร้อยละ 71.51 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 และหลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมีโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

This study aimed to investigate students? learning achievement after the treatment of the 7E Learning Cycle Instruction Model in learning Chemistry in a multicultural society, to examine students? problem solving ability during their learning with such instruction model treatment and to compare students? attitude towards learning Chemistry before and after such treatment. The purposive sampling subjects were 43 students studying in a Mathayomsuksa 4 classroom at Sasnupatam School, Muang District, Pattani Province, Thailand, in the second semester of the 2012 academic year. Types of the study tools were employed: an experimental tool including the designed lesson plan for the 7E Learning Cycle Instruction Model, an achievement test of learning Chemistry, a problem solving ability test, an attitude questionnaire towards learning Chemistry, a fieldwork record, and a set of interview questions with students. The study yielded the following results The average score of the achievement test in learning Chemistry after the treatment of the 7E Learning Cycle Instruction Model was 74.50%, higher than the set criterion which was 70%. The average score was at a good level. The average score of the students? problem solving ability after the treatment of the 7E Learning Cycle Instruction Model was 71.51%, higher than the set criterion which was 70%. After the experiment, the post-average score of the students? attitude towards learning Chemistry after the treatment of the 7E Learning Cycle Instruction Model was higher than the pre-average score with the significant level at 0.05.
     ผู้ทำ/Author
Nameวิดาด หะยีตาเฮร์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Contributor:
Name: ณัฐินี โมพันธุ์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2557
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 4159
     Counter Mobile: 62