ชื่อเรื่อง/Title การเปรียบเทียบการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัย : กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี / A Comparative Study of Information Literacy and Information and Communication Technology Literacy and Academic Achievement of University Students : A Case Study of Undergraduates at Prince of Songkla
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเปรียบเทียบระดับการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6 ระดับ ได้แก่ ระดับอ่อนมาก อ่อน พอใช้ ดี ดีมาก และดีเยี่ยม และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา รวมทั้งศึกษาปัญหาการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ถึง 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในปีการศึกษา 2554 จำนวน 362 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งพัฒนาขึ้นอิงตามมาตรฐานการรู้สารสนเทศระดับอุดมศึกษาของสมาคมห้องสมุดมหาวิทยาลัยและการวิจัย (ACRL) แห่งสหรัฐอเมริกา 5 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานที่ 1 การกำหนดชนิดและขอบเขตสารสนเทศ มาตรฐานที่ 2 การเข้าถึงสารสนเทศ มาตรฐานที่ 3 การประเมินสารสนเทศ มาตรฐานที่ 4 การใช้สารสนเทศและมาตรฐานที่ 5 การใช้สารสนเทศอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมและกฎหมาย และอิงมาตรฐานThe iSkills ด้านความรู้ความสามารถพื้นฐานการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 7มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานที่ 1 การกำหนดขอบเขตสารสนเทศโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรฐานที่ 2 การเข้าถึงสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาตรฐานที่ 3 การจัดการสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรฐานที่ 4 การบูรณาการสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรฐานที่ 5 การประเมินสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรฐานที่ 6 การสร้างสรรค์สารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และมาตรฐานที่ 7 การสื่อสารสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ การทดสอบคู่ต่างด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ถึง 4 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 79.60 เพศชาย ร้อยละ 20.40 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 38.7 ชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 32.60 และชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 28.70 เป็นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 13.30 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร้อยละ 37.80 คณะศึกษาศาสตร์ ร้อยละ 8.80 คณะวิทยาการสื่อสาร ร้อยละ 12.40 คณะรัฐศาสตร์ ร้อยละ 16.00 คณะศิลปกรรมศาสตร์ ร้อยละ 1.40 และวิทยาลัยอิสลามศึกษา ร้อยละ 10.20 เป็นนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ระดับอ่อนมาก ร้อยละ 1.10 ระดับอ่อน ร้อยละ 2.50 ระดับพอใช้ ร้อยละ 33.10 ระดับดี ร้อยละ 40.60 ระดับดีมาก ร้อยละ17.10 และระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 5.50 นักศึกษามีการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยรวมอยู่ที่ระดับปานกลาง (? = 2.58) 2. เปรียบเทียบการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยรวมการรู้สารสนเทศโดยรวม และการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยรวม กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่านักศึกษาชั้นปีที่ 2 ถึง 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกันจะมีระดับการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแตกต่างกัน และการทดสอบรายคู่ในแต่ละมาตรฐานด้านการรู้สารสนเทศ และการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่านักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับสูง จะมีระดับการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สูงกว่า นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ระดับต่ำ ในทุกมาตรฐานที่พบความแตกต่างรายคู่ ดังนี้ 2.1 เปรียบเทียบระดับการรู้สารสนเทศกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 5 มาตรฐาน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 1 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 1ด้านการกำหนดชนิดและขอบเขตสารสนเทศ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.01 จำนวน 3 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานที่ 3 ด้านการประเมินสารสนเทศ มาตรฐานที่ 4 ด้านการใช้สารสนเทศ และมาตรฐานที่ 5 ด้านการใช้สารสนเทศอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมและกฎหมาย และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 จำนวน 1 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 2 ด้านการเข้าถึงสารสนเทศ 2.2 เปรียบเทียบระดับการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้ง 7 มาตรฐาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวน 5มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานที่ 1 ด้านการกำหนดสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรฐานที่ 2 ด้านการเข้าถึงสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาตรฐานที่ 5 ด้านการประเมินสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรฐานที่ 6 ด้านการสร้างสรรค์สารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และมาตรฐานที่ 7 ด้านการสื่อสารสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 จำนวน 1 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 3 ด้านการจัดการสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3. ระดับการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ระดับอ่อนมาก มีระดับการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับต่ำ นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ระดับอ่อน มีระดับการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับสูง นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ระดับพอใช้ มีระดับการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับปานกลาง นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ระดับดี มีระดับการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับปานกลาง นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ระดับดีมาก มีระดับการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับสูง และนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ระดับดีเยี่ยม มีระดับการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับต่ำ 4. นักศึกษามีปัญหาการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 4.1 ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ ความไม่เพียงพอของอุปกรณ์การสืบค้น ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ล่าช้า และชำรุด จำนวนหนังสือตำราในบางสาขาไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียน 4.2 ด้านการค้นหาสารสนเทศ ได้แก่ ความไม่เข้าใจในการกำหนดคำสำคัญ การไม่มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการสืบค้นสารสนเทศ 4.3 ด้านการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ ได้แก่ ปัญหาผลการสืบค้นไม่สามารถเปิดแสดงผลได้ 4.4 ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ้างอิงข้อมูล ได้แก่ ความไม่เข้าใจรูปแบบการเขียนอ้างอิง และการอ้างอิงจากอินเทอร์เน็ตไม่สามารถหาข้อมูลการอ้างอิงครบถ้วน

This research was conducted to compare Information Literacy (IL) and Information and Communication Technology Literacy (ICT) and the six levels of academic achievements ranking from very poor, poor, fair, good, very good, and excellent of undergraduates at Prince of Songkla University, Pattani Campus, and to study the relationship between the IL and ICT and the academic achievements. The 362 samples were the second to fourth year undergraduates of the academic year of 2011. The data were collected from the IL test, based on five IL standards of the ACRL: Determine, Accesses, Evaluate, Use, and Understand; and ICT tests, based on The iSkills seven standards: Define, Accesses, Manage, Integrate, Evaluate, Create, and Communication. Percentage, means, standard deviation, f-test, Scheffe method and chi-square were used in data analysis. The results were as follows 1. The sampled students categorized as male and female were 79.60% and 38.70% respectively. The sophomores (38.7%), juniors (32.60%) and seniors (28.70%) were from the faculties of Science and Technology (13.30%), Humanities and Social Sciences (37.80%), Education (8.80%), Communication Sciences (12.40%), Political Science (16.00%), Fine and Applied Arts (1.40%), and the Islamic Studies College (10.20%). Their GPAs ranged from very poor (1.10%), poor (2.50%), fair (33.10%), good (40.60%), very good (17.10%) and excellent (5.50%). Overall IL and ICT of the undergraduates at Prince of Songkla University, PattaniCampus was at a moderate level (? = 2.58).2. The comparative study of overall IL and ICT, overall IL, and overall ICT and the academic achievements discovered a significant difference at 0.001, consistent with the hypothesis that throughout the second to forth years, the IL and ICT levels of undergraduates with different levels of academic achievements were distinct. Scheffe test for IL and ICT standards found that the IL and ICT levels of the undergraduates with a high level of academic achievement were higher than those with lower academic achievement in all different pairs as follows. 2.1 The comparative investigation of the IL level and the five academic achievement standards showed the significant difference at 0.05 in Standard 1: Determine, the significant difference at 0.01 in Standard 3: Evaluate, Standard 4: Use and Standard 5: Understand, and the significant difference at 0.001 in Standard 2: Accesses. 2.2 The comparative investigation of the ICT level and seven academic achievement standards found the significant difference at 0.01 in five standards, including Standard 1: Define, Standard 2: Accesses, Standard 5: Evaluate, Standard 6: Create and Standard 7: Communication, and the significant difference at 0.001 in Standard 3: Manage. 3. Levels of IL and ICT were related to the academic achievement at 0.001. The undergraduates with a very poor level of achievement showed the low levels of IL and ICT. The undergraduates whose level of academic achievement was poor had high levels of IL and ICT, while those with a fair level had average levels of IL and ICT. The undergraduates with a good level of academic achievement showed moderate levels of IL and ICT; on the other hand, those with a very good level had high levels of IL and ICT, while those with an excellent level had low levels of IL and ICT. 4. The IL and ICT problems of the undergraduates were as follows. 4.1 Regarding ICT equipment and IL resources, the study found that the searching equipment did not meet the undergraduates? requirement and satisfaction. The computer operating system was sluggish and faulty. Furthermore, textbooks were not enough for a large number of enrolling students 4.2 Information searching was one problematic issue including the lack of keyword identification comprehension and the lack of accurate searching technique knowledge. 4.3 The use of information was struggling, particularly when the information was unable to be viewed.4.4 The understanding of knowledge referencing such as misunderstanding of referencing format and incomplete references on the Internet were still troublesome.
     ผู้ทำ/Author
Nameศลิษา เลี่ยมสุวรรณ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Contributor:
Name: ชุ่มจิตต์ แซ่ฉั่น
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2556
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1635
     Counter Mobile: 34