ชื่อเรื่อง/Title ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายอิสลามว่าด้วยอาหารฮาลาล / Comparative Study of Islamic Law on Halal Food
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยเรื่องศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายอิสลามว่าด้วยอาหารฮาลาล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบัญญัติอิสลามเกี่ยวกับอาหารฮาลาลด้านวัตถุดิบ ศึกษาเปรียบเทียบทัศนะของสี่มัษฺฮับในกฎหมายอิสลามเกี่ยวกับอาหารด้านวัตถุดิบ วิเคราะห์การใช้หลักการผ่อนปรนเกี่ยวกับการบริโภคอาหารฮารอมในภาวะคับขัน และศึกษาทัศนะของมัษฺฮับที่สามารถนำไปใช้เชิงพาณิชย์ในกลุ่มประเทศมุสลิม ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา<br /><br /> ผลการวิจัยพบว่าศาสนาอิสลามให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของอาหารเป็นอย่างยิ่ง มีอายะฮ์อัลกุรอาน ฮะดีษ และตำราวิทยาการอิสลามมากมายสาธยายเกี่ยวกับอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้เนื่องจากอาหารมีบทบาทและอิทธิพลต่อมนุษย์ทั้งในมิติทางโลกและทางธรรม โลกนี้และโลกหน้า อาหารในอิสลามจะต้องมีคุณสมบัติหลัก 2 ประการคือ หนึ่ง ฮาลาล หมายถึงเป็นที่อนุมัติ สอง ฏอยยิบ หมายถึงดีมีประโยชน์สะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการรวมทั้งอาหารเสริมเพื่อสุขภาพและอาหารสำหรับผู้ป่วย <br /><br /> แหล่งที่มาของอาหารคือพืชและสัตว์ ตัวบทบัญญัติอิสลามว่าด้วยวัตถุดิบดั้งเดิมของอาหารมี 3 ลักษณะคือ 1. ตัวบทบัญญัติที่ระบุว่าฮาลาล 2. ตัวบทบัญญัติที่ระบุว่าฮารอมหรือไม่อนุมัติ 3. ไม่มีตัวบทบัญญัติระบุเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด โดยหลักการเดิมอาหารทุกชนิดเป็นที่อนุมัติให้บริโภค ยกเว้นอาหารที่มีตัวบทห้ามบริโภค ในอัลกุรอานมีอาหารประเภทสัตว์ 10 ชนิดที่ห้ามบริโภคคือ สัตว์ตายเอง เลือด หมู สัตว์ที่ถูกพลีให้แก่ผู้อื่นนอกจากอัลลอฮฺ สัตว์ที่ถูกรัดคอตาย สัตว์ที่ถูกตีจนตาย สัตว์ที่ตกมาตาย สัตว์ที่ถูกขวิดตาย สัตว์ที่ถูกสัตว์ร้ายกัดกินจนตาย สัตว์ที่ถูกบูชายัญ ฮะดีษได้ห้ามบริโภคสัตว์บางชนิดเพิ่มเติม เช่น ลาบ้าน สัตว์ปีกที่มีกรงเล็บแหลมคม สัตว์ดุร้ายมีเขี้ยว และสัตว์ที่กินสิ่งสกปรกเป็นอาหารหลัก ส่วน ม้า กระต่าย กระรอก สัตว์น้ำที่ตาย เต่า ตะพาบน้ำ และแมงดา เป็นที่ ฮาลาลบริโภคตามทัศนะที่มีน้ำหนักมากกว่า พืชทุกชนิดโดยรวมเป็นที่อนุมัติให้บริโภคได้ ยกเว้นพืชที่สกปรก พืชที่มีโทษหรือพิษภัย และพืชที่ทำให้มึนเมา บกพร่องหรือเสียสติ<br /><br /> ส่วนภาวะคับขันในบริบทของอาหารคือ สภาพความคับขันที่หากไม่บริโภคอาหาร ฮารอมแล้วจะเกิดความเสียหายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือถึงแก่ชีวิตได้ บทบัญญัติอิสลามครอบคลุมภาวะคับขันทุกบริบท การบริโภคอาหารฮารอมในภาวะคับขันเป็นสิ่งวาญิบ อนุญาตให้ผู้ที่ประสบภาวะคับขันเนื่องจากขาดอาหารที่ครอบคลุมกว้างขวางอย่างต่อเนื่องบริโภคอาหารจนอิ่มได้ ส่วนภาวะคับขันเนื่องจากขาดอาหารที่ไม่ครอบคลุมกว้างขวางอย่างต่อเนื่อง อนุญาตให้บริโภคอาหาร ฮารอมปริมาณที่พอประทังชีวิต โดยไม่อนุญาตให้บริโภคอาหารฮารอมเกินความอิ่มทั้งสองกรณี อาหารทุกชนิดที่สามารถประทังชีวิตในภาวะคับขันเป็นที่อนุญาตให้บริโภค ยกเว้นเนื้อมนุษย์ ทั้งนี้เหตุผลโดยรวมของการอนุญาตให้บริโภคอาหารฮารอมในภาวะคับขันคือเพื่อขจัดอันตรายที่จะเกิดขึ้น<br /><br />

This study, a comparative study of Islamic Law on Halal food, aims at examining the Islamic Law related to Halal food ingredients and comparing the views on Halal food ingredients within the framework of the four Sunni Islamic schools of thought. The study also explores the flexibility of food consumption in critical conditions and the views of the four schools of thought that can be used commercially in Muslim countries. Data were collected from various sources of document. Descriptive analysis was used in data analysis. <br /><br /> The findings in this study show that Islam emphasizes on various aspects of food. Quranic verses, Ahadith and other Islamic texts have directly and indirectly provided explanations on this subject. This is because food is important to human lives: on worldly and religious dimensions; and in this world and the hereafter. According to Islamic principles, food must have two main features i. e. Halal and Tayyib. Halal means lawful or permitted. Tayyib means healthy, benefits, clean, safe and nutritious, including supplements and patient foods. <br /><br /> Sources of food include plants and animals. Islamic principles state that original raw materials can be classified into 3 features: 1) the halal/lawful, 2) the haram or forbidden, and 3) no specific provision/neither halal nor haram. The Islamic principles provide that all types of food are lawful, unless proven otherwise. Quran has specified 10 animals that are forbidden for consumption i. e. any animal that dies a natural death and is not slaughtered, blood, swine (pork), any animal on whom the name of anyone other than Allah is invoked, any animal killed by jerk, any animal being beaten to death, any animals fell death, any animals killed gore, any animals eaten by beast to death, and any animals being sacrificed. The Hadith prohibited some other animals, including donkey, any birds with sharp claws, any feral animals with fangs, and any animals that eat dirt as staple food. In addition, horse, rabbit, squirrel, dead aquatic animals, turtle, soft shell turtle, and water bug are Halal in the views of majority of the Muslim scholars. All types of plants are legal, except dirty plants, plants that harm, intoxicated plants, and any plants impaired consciousness and mental breakdown. <br /><br /> This study showed that critical time in the context of the diet, are the time in which abstaining from consuming forbidden food will harm one?s health or body or cause death. The provisions of Islamic law on this issue cover all critical time and the law provides that consuming haram food in a critical time is compulsory. Islamic Law allows those who suffer from a long-term and wide spread critical time due to lack of food to continue consuming haram food until full enjoyment. In the event of a critical time due to lack of food which is not wide spread and continuous, one is allowed to consume a sufficient amount of haram food to sustain life. In both cases, all kinds of food, except human flesh are allowed. The rationale behind allowing the consumption of haram food in Islamic Law is to eliminate any possible harmfulness. <br /><br />
     ผู้ทำ/Author
Nameทวี นุ้ยผอม
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contens
Symbols
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: --กฎหมายอิสลาม
อาหารฮาลาล
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: มะรอนิง สาแลมิง
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2561
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 751
     Counter Mobile: 27