ชื่อเรื่อง/Title การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ / Development of Academic Affairs Administration Model of Islamic Private Schools in Southern Border Provinces to Make Learners Perfect Men
     บทคัดย่อ/Abstract การบริหารงานวิชาการเป็นหัวใจของพันธกิจการบริหารสถานศึกษาโดยเฉพาะในบริบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการบริหารงานวิชาการ และเพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยใช้กรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการ 12 ด้าน แนวคิดกระบวนการบริหารแบบ PDCA และแนวคิดการพัฒนารูปแบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จำนวน 197 โรงเรียน และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากจำนวน 5 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ทำการสังเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินร่างรูปแบบด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ตามบริบทเพื่อปรับปรุงให้สมบูรณ์และนำไปใช้ได้จริง
ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในแต่ละด้านและภาพรวมทั้ง 12 ด้าน อยู่ในระดับมาก มีปัญหาหลักที่สำคัญ คือ โรงเรียนยังขาดการบริหารจัดการที่ดีด้านหลักสูตรอิสลามศึกษา เทคนิคการสอน สื่อการสอนอิสลามศึกษา และแหล่งการเรียนรู้ยังขาดความหลากหลาย การนิเทศและแนะแนวขาดความต่อเนื่อง ขาดความรู้ด้านการวิจัยที่ถูกต้องและการวัดผลประเมินผลไม่ได้เป็นไปตามสภาพจริง การส่งเสริมความเข้มแข็งด้านวิชาการยังขาดความหลากหลายและไม่ครอบคลุมองค์กรต่าง ๆ และมีแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มุ่งเน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาหลักสูตรอิสลามศึกษา เทคนิคการสอน สื่อการสอนอิสลามศึกษา แหล่งการเรียนรู้ การนิเทศและการแนะแนว การวิจัยและการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง และการส่งเสริมความเข้มแข็งด้านวิชาการที่ครอบคลุมองค์กรต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ และโรงเรียนควรมีการกำหนดแผนงานระยะสั้นและระยะยาว แต่งตั้งคณะทำงาน มีการประเมินและติดตามการบริหารงานวิชาการครอบคลุมทุกด้านอย่างต่อเนื่อง และมีรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่เหมาะสมในการสร้างผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) หลักการและวัตถุประสงค์ 2) โครงสร้างและสาระสำคัญ และ 3) การนำไปสู่การปฏิบัติและเงื่อนไขความสำเร็จ รูปแบบดังกล่าวนี้ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการบริหารงานแบบ PDCA ในมิติงานวิชาการ 5 ด้าน ที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มีความเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรที่ปฏิบัติได้จริงตามวิถีชีวิตของมุสลิม มุ่งเน้นความรู้ควบคู่คุณธรรม สอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียนและบริบทเพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองและรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีความเกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงทั้งโลกดุนยา (โลกปัจจุบัน) และอาคิเราะฮฺ (โลกหน้า) สามารถปฏิบัติได้จริงในการดำเนินชีวิตประจำวัน การใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ส่งผลอันดีงามต่อผู้เรียนในด้านจิตใจและจิตวิญญาณสอดคล้องกับหลักคำสอนของศาสนา 3) การวิจัยและการวัดและประเมินผลทางการศึกษา มีความเกี่ยวข้องกับการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนและพฤติกรรมของผู้เรียน การวัดและประเมินผลที่หลากหลายครอบคลุมด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติอย่างเป็นระบบและตามสภาพจริง 4) การนิเทศและการแนะแนวการศึกษา มีความเกี่ยวข้องกับการนิเทศการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง การแนะแนวด้านการศึกษาต่อ ทักษะชีวิต และอาชีพ และ 5) การส่งเสริมความเข้มแข็งด้านวิชาการ มีความเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับผู้บริหารและครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้วิชาการแก่ชุมชน การเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนางานวิชาการ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน การสร้างเครือข่ายการส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศ



Academic affairs administration is the core business of school administration especially in the context of southern border provinces. This research aimed to examine the present states, problems encountered and ways and means for academic affairs administration and to propose a model of academic affairs administration towards making learners perfect men based on the emerging concept of 12 areas of academic affairs administration, the concept of PDCA working process, and the concept of model development. Data were collected using questionnaires with 197 Islamic private schools and interviews with keyed informants from 5 schools. Data then were analyzed based on descriptive statistics and developed into the model through the examination and refinement of its feasibility and suitability within the studied context prior to real implementation.
The result of the study indicates the schools are in high level of performance in overall and in each aspect of academic affairs administration. The crucial problems encountered concern less effectiveness in curriculum implementation, teaching methods, and instructional media. Rather, lack of learning resources, in-service supervision and counseling, knowledge in research and authentic assessment, academic enhancement, and participation from concerned stakeholders mark other significant problems. The proposed ways and means to tackle these problems are among others providing workshop on Islamic studies curriculum development and implementation, pedagogy, and media. Giving support to learning resources, supervision and counseling, measurement and evaluation, academic enhancement and stakeholder involvement is necessary. Schools also need to have short and long term plan, set up steering committee, and constantly follow-up the academic affairs implementation through authentic measurement and evaluation. In addition, the suitable model of academic affairs administration that could make learners perfect men consists of 3 important components: 1) objective and principles, 2) axis and structure, and 3) implementation with conditions leading to its success. This model should be geared up by PDCA working process in connection with 5 aspects of academic affairs administration. They are 1) development of school-based curriculum which is concerned with the curriculum that is practical to Muslim ways of life, well-balanced between knowledge and ethics, and compatible with learners? competence and learning context in order for them to keep abreast with the changing society, 2) development of technology, innovation, media and learning process which is related to the learning process that links between this world and hereafter and enables learners to translate it into real practice in their daily life. In addition, the use of technology, innovation and media should be based on religious teaching so that it could result in positive character of learners? mind and spirit, 3) educational research and measurement and evaluation which are concerned with research conduct to improve teaching and learning and to solve learners? behaviors. As to measurement and evaluation, it is necessary to be systematic and authentic, covering cognitive, affective and psychomotor aspects of learners, 4) supervision and counseling which are concerned with continuity in in-service supervision and life skills, studying, and profession guidance counseling, and 5) academic enhancement that is concerned with schools? personnel involvement in organizing activities to help strengthen the community in regard to related knowledge, providing chance for the community to take part in academic affairs development, creating good relationship with community, setting up academic network for the community, supporting life-long learning, and coordinating with schools and other institutions to help improve schools? academic work.
     ผู้ทำ/Author
Nameยุทธนา เกื้อกูล
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contens
Symbols
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: นิเลาะ แวอุเซ็ง
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2560
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 477
     Counter Mobile: 17