ชื่อเรื่อง/Title การบริหารโรงเรียนตามหลักการบริหารจัดการที่ดีในอิสลามของผู้บริหาร / School Management according to Good Governance in Islam of Islamic Private School
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยเรื่อง การบริหารโรงเรียนตามหลักการบริหารจัดการที่ดีในอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบหลักการบริหารจัดการที่ดีในอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส 2) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนตามหลักการบริหารจัดการที่ดีในอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส และ 3) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารโรงเรียนตามหลักการบริหารจัดการที่ดีในอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 531 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 จำนวน 190 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักการบริหารจัดการที่ดีในอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส กลุ่มที่ 2 จำนวน 341 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารโรงเรียนตามหลักการบริหารจัดการที่ดีในอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบและสถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า F-test<br /><br /> ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบหลักการบริหารจัดการที่ดีในอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 23 ตัวชี้วัด ได้แก่ หลักอัคลาก (หลักคุณธรรม) มี 11 ตัวชี้วัด หลักอิบาดะฮฺ (หลักการจงรักภักดีต่ออัลลอฮฺ ?) มี 6 ตัวชี้วัด และ หลักชูรอ (หลักการมีส่วนร่วม) มี 6 ตัวชี้วัด โดยองค์ประกอบที่ได้ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่น่าเชื่อถือได้ มีความสอดคล้องภายในอยู่ในระดับดีมาก ส่วนสภาพการบริหารโรงเรียนตามหลักการบริหารจัดการที่ดีในอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส ทั้ง 3 ด้าน โดยรวมและรายตัวชี้วัดอยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารโรงเรียนตามหลักการบริหารจัดการที่ดีในอิสลามของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดนราธิวาส จำแนกตามอายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดของโรงเรียน มีความแตกต่างกันระหว่างโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่<br /><br />

This research entitled School Management according to Good Governance in Islam of Islamic Private School Administrators in Narathiwat Province aimed ; 1) to analyze components of good governance in Islam of Islamic private school administrators in Narathiwat Province, 2) to examine the states of school management according to good governance in Islam of Islamic private school administrators in Narathiwat Province, and 3) to compare the states of school management according to good governance in Islam of Islamic private school administrators in Narathiwat Province. The samples consisting of 531 Islamic private school teachers in Narathiwat Province were divided to 2 groups. The first group is selected for exploratory analysis consisted of 190 teachers. The second group, comprising of 341 samples, was used for a study and a comparison of the states of school management according to good governance in Islam of Islamic private school administrators in Narathiwat Province. The research instrument was the questionnaires. Data was analysed using factor analysis and descriptive statistics, frequency statistics, percentage, arithmetic mean, standard deviations and F-test.<br /><br /> The results of the study indicate that good governance in Islam consists of 3 components with 23 indicators. Of these, Akhlaq (Moral) with 11 indictors, Ibadah (Worship) with 6 indictors and Shura (Participation) with 6 indicators. The components are found to be reliable and the internal consistency is very high. The states of school management according to good governance in Islam of Islamic private school administrators in Narathiwat Province was at ?high? level. The comparison of the states of school management according to good governance in Islam of Islamic private school administrators in Narathiwat Province for the 3 components reveals that ages , educational levels and experiences are found to be insignificantly different with the exception of school size.<br /><br />
     ผู้ทำ/Author
Nameมูนีเราะห์ สาและอาแร
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Content
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: นิเลาะ แวอุเซ็ง
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2561
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 428
     Counter Mobile: 24