ชื่อเรื่อง/Title สมบัติเชิงความร้อนและเชิงกลของยางธรรมชาติ เบลนด์ยางรีเคลมและพอลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ / Thermal and Mechanical Properties of Natural Rubber Blended with Reclaimed Rubber and Low density Polyethylene
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาสมบัติเชิงความร้อนและเชิงกลของยางธรรมชาติ (NR) เบลนด์ยางรีเคลม (RR) พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (LDPE) และสารก่อฟอง (BA) วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสมบัติเชิงความร้อน เชิงกลของวัสดุตัวอย่างและได้นำวัสดุธรรมชาติรอบตัว ราคาถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัย โดยผสม NR ในปริมาณ 100 phr RR 200, 400 phr BA 0, 10 phr และแปรปริมาณ LDPE 2, 4, 6 และ 8 phr ศึกษาสมบัติเชิงความร้อนโดยใช้ชุดทดสอบการเป็นฉนวนความร้อนโดยใช้อุณหภูมิ 79oC พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนที่ได้มีแนวโน้มลดลงตามปริมาณ RR, BA และ LDPE สูตรยางที่ดีที่สุดคือ NR 100 phr RR 400 phr และ LDPE 8 phr ค่า k เท่ากับ 0.0004 W/m.K และศึกษาสมบัติเชิงกลโดยใช้เครื่องทดสอบความทนต่อแรงดึงความเร็วที่ใช้ในการทดสอบคือ 50, 100, 200, 300 และ 400 มม./นาที พบว่าเมื่อมีการเพิ่ม LDPE และ RR ค่า Tensile Strength และ ค่า Modulus มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเพิ่มค่า BA เข้าไป พบว่าค่า Tensile Strength และค่า Modulus มีแนวโน้มลดลง

The study of thermal and mechanical properties of natural rubber (NR) blended with reclaimed rubber (RR) low density polyethylene (LDPE) and blowing agent (BA) was carried out. The aim of this research is to enhance performance of NR insulator with low cost materials having fixed amount of NR of 100 phr, RR of 200, 400 phr, BA of 0, 10 phr and LDPE were 2, 4, 6 and 8 phr. Thermal conductivity (k) was tested at 79oC. The result showed k value decreased when RR, BA and LDPE decreased. The best formula is NR 100 phr RR 400 phr and LDPE 8 phr. It showed k value of 0.0004 W/m.K. In addition mechanical properties were tested by tensile tester with speed at 50, 100, 200, 300 and 400 mm./min. It was founded when LDPE and RR increased tensile strength and modulus increased, but when BA was introduced, tensile strength and modulus decrease.
     ผู้ทำ/Author
Nameลียานา บินมะยะโกะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contens
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: ยางพารา
     Contributor:
Name: สมบัติ พุทธจักร
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2560
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 339
     Counter Mobile: 34