ชื่อเรื่อง/Title การวิจัยเชิงประเมินโครงการเสริมศักยภาพครูสอนตาดีกาในโรงเรียน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้รูปแบบการประเมินของเคิร์กแพทริค / An Evaluation Research of the Teachers Empowerment Project for Tadika Schools in Three Southern Border Provinces Using Kirkpatrick Evaluation Model
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิจัยเชิงประเมินโครงการเสริมศักยภาพครูสอนตาดีกาในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้รูปแบบการประเมินของเคิร์กแพทริค ในด้านปฏิกิริยา ด้านการเรียนรู้ ด้านพฤติกรรม และด้านผลลัพธ์ 2) ประเมินประสิทธิภาพโรงเรียนตาดีกาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยวิธีการ DEA และ 3) ศึกษาแนวทางในการเสริมศักยภาพครูสอน ตาดีกาในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างคือผู้เข้าฝึกอบรมจำนวน 480 คนและโรงเรียนตาดีกาจำนวน 25 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความพึงพอใจแบบทดสอบ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ แบบประเมินทัศนคติต่อวิชาชีพครู แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสำรวจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test dependent คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้วยวิธี DEA และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ<br /><br /><br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิจัยเชิงประเมินโครงการเสริมศักยภาพครูสอนตาดีกาในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้รูปแบบการประเมินของเคิร์กแพทริค ด้านปฏิกิริยาของผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ด้านการเรียนรู้มีคะแนนหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ด้านพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปมีทักษะการปฏิบัติภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้งและทัศนคติหลังการอบรมภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และด้านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังอบรมภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของโรงเรียนตาดีกาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยวิธีการ DEA โดยอาศัยตัวแบบ CCR และ BCC พบว่ามีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพถึง 24 แห่ง จาก 25 แห่ง 3) แนวทางในการเสริมศักยภาพครูสอนตาดีกาในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า (1) ด้านผู้บริหารโรงเรียนตาดีกาควรมีหลักสูตร หรือโครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนตาดีกา (2) การพัฒนาครูตาดีกา เปิดโอกาสให้ครูตาดีกาได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะครูตาดีกาที่ยังไม่เคยได้รับการฝึกอบรม และ (3) การจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศักยภาพครูสอนตาดีกา ควรมีการนิเทศติดตามการสอนอย่างต่อเนื่อง<br /><br /><br />

The purposes of this study were 1) to do evaluate research the teachers empowerment project for Tadika Schools in three southern border provinces using Kirkpatrick evaluation model: reaction, learning, behavior and result. 2) to evaluate the efficiency of Tadika Schools in three southern border provinces by DEA 3) Guidelines for enhance teachers empowerment of Tadika Schools. The samples were 476 teachers and were 25 Tadika Schools and the key informants were 25 Tadika administrators and 25 teachers friend. The tools used in the research were test, practical skills assessment form, teacher attitude assessment form, questionnaire, interview form and survey form. Data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test dependent, relative gain score, analyzed by DEA and qualitative data analysis. <br /><br /><br /> The results of this research found as follows: 1) An evaluation research of the teachers empowerment project for Tadika Schools in three southern border provinces using Kirkpatrick evaluation model. The overall satisfaction of trainees average in high level. The average after training was higher than before training with statistical significantly at 0.05 level. The evaluation of behavior had skills in practice at all levels, and attitude after training were very good. And the overall results after training average in high level. 2) There were 24 efficient Tadika Schools under the CCR-DEA and BCC-DEA approach from the 25 Tadika Schools. 3) Guidelines for enhance teachers empowerment of Tadika Schools were; (1) School administrators<br /><br /><br /> should have a course or training program to develop talents of the administrators of Tadiika School. (2) Development of teachers give opportunities for Tadika teachers to develop themselves in whole areas. and (3) teaching and learning management to develop a good teacher. Continuous supervision of teaching should be maintained and offer variety-teaching methods, which encourage students to participate in class.<br /><br /><br />
     ผู้ทำ/Author
Nameนาซีฟะ เจ๊ะมูดอ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: มัฮดี แวดราแม
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2559
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1516
     Counter Mobile: 25