ชื่อเรื่อง/Title แนวทางการพัฒนาสวัสดิการแรงงานจังหวัดชายแดนใต้ / An Approach to Develop Labour Welfare in Three Southern Border Provinces of Thailand
     บทคัดย่อ/Abstract แนวทางการพัฒนาสวัสดิการแรงงานจังหวัดชายแดนใต้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน<br /><br /> มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบกิจการจังหวัดชายแดนใต้ 2) วิเคราะห์<br /><br /> ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบกิจการจังหวัดชายแดนใต้ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบกิจการจังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากลูกจ้างในสถานประกอบกิจการจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 400 คน และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกในกลุ่มนายจ้าง ผู้บริหาร และนักวิชาการภาครัฐ จำนวน 16 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความสัมพันธ์ไคสแควร์ (Chi-Square Test)<br /><br /> <br /><br /> ผลจากการวิจัย พบว่า ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการจังหวัดชายแดนใต้มีความต้องการสวัสดิการแรงงานตามกฎหมายและสวัสดิการแรงงานนอกเหนือกฎหมายอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.19 และ = 2.77) ตามลำดับ สวัสดิการแรงงาน 10 ลำดับแรก ที่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการจังหวัดชายแดนใต้มีความต้องการและไม่มีการจัดให้ในสถานประกอบกิจการ คือ 1) การจัดสถานเลี้ยงเด็กในสถานประกอบกิจการ 2) การจัดตั้งโรงเรียนในโรงงาน 3) การจัดอาหารราคาถูกจำหน่าย 4) การจัดให้มีรถฉุกเฉินไว้บริการ 24 ชั่วโมง 5) การจัดให้มีพยาบาลประจำ 6) จัดเงินบำเหน็จให้พนักงาน 7) จัดห้องสมุดในโรงงาน 8) จัดห้องพยาบาล 9) จัดเงินช่วยเหลือกรณีประสบภัยพิบัติ <br /><br /> 10) จัดรถรับ ? ส่งพนักงานให้แก่ลูกจ้าง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ระยะเวลาทำงาน และตำแหน่งงาน มีผลต่อความต้องการสวัสดิการตามกฎหมายและนอกเหนือ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนด้านการบังคับใช้กฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ผลกำไรของธุรกิจ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสวัสดิการแรงงาน และปัจจัยด้านสถานการณ์ความไม่สงบของพื้นที่ตามลำดับส่งผลต่อการจัดสวัสดิการแรงงานในจังหวัดชายแดนใต้<br /><br />

The objectives of an approach to develop labour welfare in three southern border provinces of Thailand were 1) to study labor welfare in the place of business in three southern border provinces. 2) to analysis factors effecting labour welfare provision in the place of business in three southern border provinces. 3) to recommend an approach to develop labor welfare in the place of business in three southern border provinces. This research was described as mixed method. Data was collected using questionnaire and in-depth interviews. The questionnaires were distributed 400 employees in Pattani, Yala and Narathiwas. In addition, 16 employers, administrators and academic officers are selected for in-depth interviews. The statistical methods applied in this research were percentage, mean, standard deviation and chi-square test.<br /><br /> <br /><br /> The result found that the employees in the place of business in three southern border provinces needed labour welfare by law and welfare migrants from outside the law at moderate level ( = 3.19 and = 2.77). The first ten welfares which the employees needed and most of them did not provide in the place of business as follows; 1) establishment the place for raising children of employees in the place of business 2) establishment of school facilities 3) low price food 4) ambulance car service for 24 hours 5) factory nursing 6) pension 7) providing a library 8) medical room 9) disaster recovery allowance 10) to provide shuttle service. The result of relationship analysis found that personal factor, gender, age, educational level, income, marital status, period of employment and work position affecting labour welfare by law needs and welfare migrants from outside the law needs significant at the 0.05. Factor of law enforcement, relationship between employers and employees, profit, information perception on labor welfare and unrest situation affected to labour welfare provision in three southern border provinces.<br /><br />
     ผู้ทำ/Author
Nameปรียาพร คงทน
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Chapter 1
Chapter 2
Chapter 3
Chapter 4
Chapter 5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
--ปัตตานี
--ยะลา
--นราธิวาส
ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--นโยบายและการพัฒนา
--เศรษฐกิจชุมชน
     Contributor:
Name: เพ็ญพักตร์ ทองแท
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2558
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 809
     Counter Mobile: 22