ชื่อเรื่อง/Title รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Model of School Administration based on Multicultural Education in the Three Southern Border Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้เป็นวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2) เพื่อสร้างและนำเสนอรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิด<br /><br /> พหุวัฒนธรรมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ <br /><br /> การดำเนินงานวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์ตัวแปรการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) ได้จำนวน 123 ตัวแปร และนำตัวแปรไปคัดกรองตัวแปร โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน นำข้อมูลมาปรับแก้จนได้ตัวแปรทั้งหมด 94 ตัวแปร นำตัวแปรดังกล่าวไปสร้างแบบสอบถามและดำเนินการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นตอนต่อไป ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 512 คน ได้จำนวน 7 องค์ประกอบ 90 ตัวแปร ขั้นตอนที่ 3 การสร้างและนำเสนอรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำร่างรูปแบบจากองค์ประกอบที่ได้ไป การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 ท่าน เพื่อยืนยันและเพิ่มเติมองค์ประกอบ หลังจากนั้นประเมินรูปแบบโดยการประชุมสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 ท่าน ได้จำนวน 7 องค์ประกอบ 17 ประเด็น 89 ตัวแปร<br /><br /> ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ <br /><br /> 1. องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ 1) ความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) ภาวะผู้นำของผู้บริหารในบริบทพหุวัฒนธรรมศึกษา 3) การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในบริบทพหุวัฒนธรรม 4) คุณลักษณะของครูในบริบทพหุวัฒนธรรม 5) คุณลักษณะของผู้บริหารในบริบทพหุวัฒนธรรม 6) หลักสูตรที่สอดคล้องในบริบทพหุวัฒนธรรม 7) การสร้างเครือข่ายสถานศึกษาในบริบทพหุวัฒนธรรม <br /><br /> 2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นและยืนยันตามองค์ประกอบทั้ง 7 องค์ประกอบ 17 ประเด็น ดังนี้ <br /><br /> องค์ประกอบที่ 1 ความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ (1) ความสัมพันธ์ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) ความสัมพันธ์ของผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) สถานศึกษาเปิดโอกาสให้เกิดความสัมพันธ์ร่วมกัน<br /><br /> องค์ประกอบที่ 2 ภาวะผู้นำของผู้บริหารในบริบทพหุวัฒนธรรมศึกษา ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ (1) ภาวะผู้นำในการเป็นผู้สร้างและให้โอกาส (2) ภาวะผู้นำในความมุ่งมั่น ตั้งใจ (3) ภาวะผู้นำในบริหารงานตามการสถานการณ์<br /><br /> องค์ประกอบที่ 3 การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในบริบทพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 ประเด็น คือ (1) สถานศึกษาผู้สนับสนุน (2) ครูผู้ส่งเสริมและพัฒนา <br /><br /> องค์ประกอบที่ 4 คุณลักษณะของครูในบริบทพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย <br /><br /> 2 ประเด็น คือ (1) คุณลักษณะของครูด้านการเรียนการสอน (2) คุณลักษณะของครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ <br /><br /> องค์ประกอบที่ 5 คุณลักษณะของผู้บริหารในบริบทพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ (1) ผู้บริหารนักสร้างวิสัยทัศน์ (2) ผู้บริหารนักแก้ปัญหา (3) ผู้บริหารผู้นำไปสู่เป้าหมาย<br /><br /> องค์ประกอบที่ 6 ด้านหลักสูตรที่สอดคล้องในบริบทพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย คือ (1) กระบวนการพัฒนาหลักสูตร (2) การนำหลักสูตรไปใช้ <br /><br /> องค์ประกอบที่ 7 การสร้างเครือข่ายสถานศึกษาในบริบทพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย คือ (1) กระบวนการสร้างเครือข่าย (2) เครือข่ายโรงเรียนคู่พัฒนา<br /><br />

The objectives of this mixed methods research were to 1) analyze the factors of school administration based on multicultural principle in three Southern border provinces, and 2) create and propose the model of school administration based on multicultural principle in three Southern border provinces. <br /><br /> The methodology was divided into 3 phases; Phase 1 involved with synthesizing 123 variables of multicultural school administration in three Southern border provinces via content analysis. Then, the factors were extracted by 5 experts and modified into 94 variables using for the questionnaire items. The data will be next analyzed. Phase 2 was exploratory factor analysis through the questionnaire from the samples of 512 respondents to receive 7 factors with 90 variables. At last, phase 3 involved with creating and proposing the model of school administration based on multicultural principle in three Southern border provinces. A draft of factors was applied for the focus group discussion via 9 education professionals to confirm and append the factor. After that, the model was evaluated by 11 experts with a result in 7 factors consisting of 17 aspects and 89 variables. <br /><br /> The findings revealed as follows;<br /><br /> 1. the multicultural school administration in three Southern border provinces was composed of 7 factors; 1) public relation with community and relative sectors, 2) leadership of school administrators based on a context of multicultural education, 3) learning and instructional support in multicultural context, 4) teacher?s characteristic in multicultural context, 5) school administrator?s characteristic in multicultural context, 6) school curriculum corresponding with multicultural context, and 7) school network formation in multicultural context.<br /><br /> 2. The model of the multicultural school administration in three Southern border provinces derived from the qualitative data found that the view of the education professionals and experts was shared and confirmed into 7 factors with 17 aspects as following;<br /><br /> Factor 1 public relation with community and relative sectors consisted of three aspects; (1) the relationship of basic education committees, (2) the relationship of guardians, communities and related sectors, and (3) the school provides an opportunity to create the mutual relationship.<br /><br /> Factor 2 leadership of school administrators based on a context of multicultural education consisted of three aspects; (1) leadership to be a creator and a change giver, (2) leadership in determination, and (3) leadership in situational administration. <br /><br /> Factor 3 learning and instructional support in multicultural context consisted of two aspects; (1) school as a supporter, and (2) teachers as a promoter and developer.<br /><br /> Factor 4 characteristic of teachers in multicultural context consisted of two aspects; (1) the characteristic in terms of an instruction, and the characteristic of teacher in three Southern border provinces.<br /><br /> Factor 5 characteristic of school administrators in multicultural context consisted of three aspects; (1) administrator as a vision creator, (2) administrator as a problem solver, and (3) administrator as a leader toward a goal.<br /><br /> Factor 6 school curriculum corresponding with multicultural context consisted of two aspects; (1) a procedure of curriculum development, and (2) curriculum implementation.<br /><br /> Factor 7 school network formation in multicultural context consisted of two aspects; (1) a procedure to form the network, and (2) the network of parallel developing school. <br /><br />
     ผู้ทำ/Author
Nameทิฆัมพร สมพงษ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contens
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: วุฒิชัย เนียมเทศ
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2559
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1124
     Counter Mobile: 32