|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทักษะการบริหารงานและเปรียบเทียบทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี จำแนกตามตำแหน่งทางการบริหาร วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน และเพื่อประมวลข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้อำนวยการ จำนวน 33 คน ผู้จัดการ จำนวน 33 คน และหัวหน้าฝ่ายบริหาร จำนวน 132 คน รวมทั้งหมด 198คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบที และค่าการทดสอบเอฟ <br /><br />
ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี มีทักษะการบริหารงาน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงจากมากไปน้อย คือทักษะการบริหารงานด้านมนุษยสัมพันธ์ ทักษะด้านเทคนิค ทักษะวิชาการ และทักษะด้านความคิดรวบยอด ส่วนผลการเปรียบเทียบระดับทักษะการบริหารงานของผู้บริหารของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม พบว่า ผู้บริหารที่มีตำแหน่งทางการบริหารที่ต่างกัน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารที่มีวุฒิทางการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน และปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดที่แตกต่างกัน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 <br /><br />
ส่วนข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาทักษะการบริหารงานของผู้บริหาร ได้แก่ ผู้บริหารควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการบริหารที่ถูกต้องและควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะด้านการจัดการความขัดแย้ง ควรมีการกระจายอำนาจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ควรมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ การพัฒนาบุคลากร การใช้เทคนิคการคาดการณ์และการทำนายแนวโน้มของโรงเรียน การนิเทศ การจัดการแหล่งเรียนรู้ นอกจากนี้ผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาหลักสูต<br /><br />
The purposes of this research were to study and compare work administration skills of Islamic private school administrators based on their administrative position, educational qualification, work experiences, and school sizes and compile suggestions on work administration skills development for Islamic private school administrators in Pattani province. The samples used in this research consisted of 33 school directors, 33 school managers and 132 school administrative heads, making a total of 198 simples. The data was collected using questionnaires and interviews. The descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test was used to analyze the collected data.<br /><br />
It is found from this study that the overall and in each dimensional level of work administration skills are high with mean scores ranging from high to low namely, human relation skills, technical skills, academic skills and conceptual skills. On the comparative analysis of the work administration skills, the results show that there are no significant difference for both overall and each dimensional level of the administrators based on their administrative position difference. However, a statistically significant differences at .05 is found for overall and each dimensional level of the administrators based on their education qualifications, work experiences and the sizes of their workplaces. <br /><br />
Regarding suggestions related to work administration skills development of the administrators, the administrators should have a true understanding of administration process and they should be conscious of improving conflict resolution skills, empowering subordinates. School administrators should be skillful in utilizing the emerging technology and innovation, using forecasting technical to identify school?s future trends, supervising and managing learning resources. Rather, they should given emphasis to curriculum development.<br /><br />
|