ชื่อเรื่อง/Title ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัย สร้างเสริมสุขภาพ ด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย / Strategies for Developing Prince of Songkla University into a Health Promotion University with an Emphasis on Exercise Promotion
     บทคัดย่อ/Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย และ 2) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Methods Research) ซึ่งประยุกต์ใช้เทคนิควิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และเทคนิควิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาผสมผสานกันหลายขั้นตอน (Multi phases) โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการ 3 ระยะ คือระยะที่ 1 การกำหนดทิศทางร่างยุทธศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับผู้ปฏิบัติงานด้านกีฬาและ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) รวมถึงอาจารย์ บุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้ง 5 วิทยาเขต จำนวน 30 คน โดยยึดหลักการวิเคราะห์สภาวะองค์กร (SWOT Analysis) เพื่อศึกษาบริบท และทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย และนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย ระยะที่ 2 การพัฒนายุทธศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการออกกำลังกายและการดำเนินการด้านกีฬาจำนวน 23 คน เกี่ยวกับร่างยุทธศาสตร์ของการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกายในอนาคต และเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และระยะที่ 3 การยืนยันความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ โดยผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 8 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยตำแหน่งอธิการบดี และรองอธิการบดี ทั้ง 5 วิทยาเขตได้ตรวจสอบความชัดเจน และยืนยันความเป็นไปได้ของร่างยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย ผลของการวิจัยมีดังนี้ 1. การวิเคราะห์สภาวะองค์กร พบว่ามีจุดแข็งคือ มหาวิทยาลัยมีสถานที่เพื่อการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาที่ทันสมัย และมีงบประมาณเพื่อการส่งเสริมการออกกำลังกาย การที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศทำให้มีโอกาสที่จะได้รับความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกด้านการกีฬา และการส่งเสริมการออกกำลังกายสูง แต่มหาวิทยาลัยก็มีจุดอ่อน อุปสรรค และปัญหาหลายประการที่ส่งผลต่อการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล (ทั้งนักศึกษา บุคลากร อาจารย์ และผู้บริหาร) การใช้สถานที่ และอุปกรณ์สำหรับการออกกำลังกาย การจัดสรรงบประมาณ การประชาสัมพันธ์ การกำหนดนโยบาย แผน และทิศทางการส่งเสริมสุขภาพ และการบริหารจัดการ 2. ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพด้านการส่งเสริมการออกกำลังกายมีดังนี้ วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรทางการศึกษาในภาคใต้ที่มุ่งพัฒนาการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้บุคลากรทุกภาคส่วนบนรากฐานของความสำเร็จอย่างยั่งยืน พันธกิจ ประกอบด้วย 1) พัฒนาการบริหารจัดการด้านการกีฬาและการออกกำลังกายอย่างเป็นระบบ โดยการมีส่วนร่วมของนักศึกษา บุคลากรฝ่ายวิชาการ ฝ่ายสนับสนุนและเจ้าหน้าที่ ทุกภาคส่วน 2) สร้างความตระหนักถึงการส่งเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายของบุคลากร ทุกภาคส่วนในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3) ดำเนินการพัฒนาประชากรของมหาวิทยาลัยสร้างองค์ความรู้วัฒนธรรม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชากรในมหาวิทยาลัย 4) พัฒนาสุขภาพดีชีวีมีสุขให้กับบุคลากรมหาวิทยาลัยและชุมชนในสังคมส่งเสริมและพัฒนาการออกกำลังกายให้เป็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตสำหรับประชากรของมหาวิทยาลัย 5) ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผู้นำทางการกีฬาและการออกกำลังกายให้มีขีดความสามารถ และความรู้สูงขึ้น ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์ด้านคน ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรด้านกีฬาและ การออกกำลังกาย 13 กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน 10 กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษา 7 กลยุทธ์ 2) ยุทธศาสตร์ด้านการจัดสรรงบประมาณ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การจัดสรร งบประมาณ 8 กลยุทธ์ และยุทธศาสตร์การหาแหล่งทุน 6 กลยุทธ์ 3) ยุทธศาสตร์ด้านสถานที่และอุปกรณ์ ประกอบด้วย 16 กลยุทธ์ 4)ยุทธศาสตร์ด้านการประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย 11 กลยุทธ์ 5) ยุทธศาสตร์ด้านการกำหนดนโยบาย แผน และทิศทางการส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย13 กลยุทธ์ 6)ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารและการจัดการ ประกอบด้วย 17 กลยุทธ์

This research was aimed to 1) examine the context and direction of the development of Prince of Songkla University to become a university which promotes health and exercise and 2) determine the strategies for developing the Prince of Songkla University into a university which promotes health with an emphasis on exercise promotion. To conduct this research, the researcher used the mixed-methods research, which applied quantitative research methods and qualitative research in three phases. The first phase was to determine the direction of draft strategies. The researcher conducted this phase by using the in-depth interviews with 30 sports practitioners and stakeholders including faculty staffs and students from five campuses of Prince of Songkla University. The SWOT Analysis was used to examine the context and the directions of Prince of Songkla University to develop health promotion by promoting exercise and to take this data collected as a guideline for planning strategies to achieve the goal. The second phase was to develop the strategies. The Delphi Technique was used as research methodology in order to gather the opinions of experts in exercise for health and sports and to analyze the consistency of experts? opinions. The research questionnaire was sent to 23 experts who had to answer if they accepted the items of draft strategies. The third phase was to confirm the feasibility of the strategies from the administrators of Prince of Songkla University including 8 vice presidents and the president of five campuses of Prince of Songkla University. The results of the research are as follows: 1. The SWOT analysis of organization found that the strengths of Prince of Songkla University vary. The university has modern places for exercise and sports and budget for the promoting exercise. As a well-known university, both regionally and nationally, the university has a chance to gain confidence, trust and support from outside agencies in sports and exercise promoting. The university also has several weaknesses, obstacles and problems affecting the development to be a health promotion university in exercise promotion. These are mostly related to personnel (students, staffs and administrators), to places and equipment for exercise, budget allocation, public relations, policy determination, planning and direction for health promotion and management. 2. Strategies for developing Prince of Songkla University into a university which promotes health with an emphasis on exercise promotion are as follows. Vision: To be an educational organization in the South who aimed at developing exercises for health for personnel in all sectors on the basis of sustainable success. The mission consists to: 1) develop systematically sport and exercise management by the participation of students, academic personnel, supporting staff and all personnel sectors. 2) raise the health promotion awareness in exercise to all personnel of the university. 3) develop the university population in all campuses by creating cultural knowledge and changing exercise behavior. 4) develop a good health and happy life paradigm for university personnel and community around the university, promote and develop an exercise to become an organization culture and a way of life for the university population and community. 5) promote and support the sport and exercise leader development to have higher a level of capability and knowledge. Strategies for developing Prince of Songkla University into a university with an emphasis on exercise promotion include 6 main domains: 1) People strategies, including 13 strategies related to the sports and exercise staffs, 10 strategies related to the academic and supporting staffs and 7 strategies related to students. 2) Budgeting strategies, including 8 budget allocation strategies and 6 finding budget sources strategies. 3) 16 strategies related to location and equipment 4) 11 strategies related to public relations 5) 13 strategies related to policies, plans and direction for health promotion. 6) 17 strategies related to management and administration.
     ผู้ทำ/Author
Nameนพดล นิ่มสุวรรณ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contens
Chapter 1
Chapter 2
Chapter 3
Chapter 4
Chapter 5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Contributor:
Name: เอกรินทร์ สังข์ทอง
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2559
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 832
     Counter Mobile: 32