|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการอาชีวศึกษาในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา(พุทธศักราช 2547-2556) โดยเฉพาะจุดเน้นทางยุทธศาสตร์ของเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการอาชีวศึกษาในทศวรรษหน้าของ (พุทธศักราช 2558-2567) การวิจัยแบ4งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การวิจัยเอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวิเคราะห์เนื้อหา และเอกสารที่ใช้สำหรับการวิจัย ได้แก่หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร บทความบทสัมภาษณ์ เอกสารรายงานวิจัย คำรับรองปฏิบัติราชการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแผนปฏิบัติราชการการพัฒนาอาชีวศึกษาภาคใต้ และรายงานผลการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับอาชีวศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างปี พ.ศ. 2547?2556 รวมทั้งสิ้น 154 ฉบับ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างความน4าเชื่อถือของข(อมูลด้วยการตรวจสอบสามเส้า ระยะที่ 2 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงอนาคตด้วยเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุงซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งสิ้นจำนวน 19 คน ในการให้ข้อมูลประกอบการวิจัยผลการวิจัยพบว่า (1) จุดเน้นยุทธศาสตร์การจัดการอาชีวศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 10 ปีที่ผ4านมา แบ4งออกเป็น 3 ช่วง โดยช4วงที่ 1 เน้นมิติการปฏิรูปการจัดการศึกษาอาชีวศึกษากับมิติการเติมปัญญาให้สังคม ช่วงที่ 2 เน้นมิติการจัดอาชีวศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคงโดยใช้การศึกษาเป็นแกนนำ และช4วงที่ 3 เน้นมิติการจัดการศึกษาเชิงรุกเพื่อมวลชนซึ่งทั้งสามช4วงมีจุดเน้นที่เหมือนกันคือยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยและยุทธศาสตร์เสริมสร้าง เครือข่ายเพื่อการอยู4ดีมีสุขของสังคม ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่ายุทธศาสตร์เหล่านั้นซึ่งประกอบด้วย มาตรการและโครงการที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของผู้คนในพื้นที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาความมั่นคงและด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนได้ดีในระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดด้านการบริหารงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรก็ตาม และ (2) ยุทธศาสตรการจัดการอาชีวศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พุทธศักราช 2558-2567) ประกอบด้วย 5ยุทธศาสตร์สำคัญ คือ 1) จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้2) ฝากทักษะและอบรมวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม 3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาและฝากอาชีพทุกภาคส่วน 4) สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนและนานาชาติ และ 5) อนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติตามแนวพระราชดำริเพื่อสร้างอาชีพอย่างยั่งยืน
The objectives of this research were to 1) examine the vocationaleducation management in the past decade (2004-2013) especially its strategies applied in Special Separate Development Zone in Southern border provinces and 2) propose strategies of vocational education management for the next decade (2015-2024). The research was divided into 2 phases. In Phase 1, the researcher employed the documentary research. The research instruments included related documents, for instance, books, newspapers, journals, articles, interviews, research reports, official performance agreement of the Office of Vocational Education, administrative plans of Southern vocational education development, project reports related to vocational education in Special Separate Development Zone in Southern border provinces between 2004-2013. The total related documents were 154 pieces. Another research instrument was a documentary analysis form. Data were analyzed by using content analysis and its trustworthiness was promoted by using triangulation. In phase II, the researcher employed the modified delphi technique in proposing strategies of vocational education management for the next decade (2015-2024). The total experts in this phase numbered 19 persons. The findings of this study revealed as follows: (1) The main emphasis of vocational education management strategies in Special Separate Development Zone in Southern border provinces was divided into 3 periods. The first period emphasized vocational education reform and social intellectual fulfillment. The second period focused on vocational education management for stability building led by education. The last and third period emphasized proactive education management for the mass. The findings revealed that those strategies of which procedures and projects were appropriate with identities of people in the region helped develop stability and quality of life of people despite limited budget allocation to vocational institutions; (2) The vocational education management strategies in Special Separate Development Zone in Southern border provinces for the next decade included 1) managing education in accordance with community lifestyle in the Southern border provinces, 2) skill training and vocation education for social equality, 3) promoting participation in vocational education management and job training in all sectors, 4) creating cooperation with regional Asean countries and others, and 5) preserving natural resources following His Majesty the King's principle for creating sustainable occupation. |