ชื่อเรื่อง/Title การประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มผู้ผลิตใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 3 : กรณีศึกษากลุ่มผู้ผลิตในสังกัดสำนักงานสหกรณ์จังหวัดปัตตานี / Project Evaluation on Efficiency Management Development of Manufacturers Groups in the Three Southern Border Provinces, Phase III: A Case Study of Manufacturer Groups in Pattani Provincial Cooperative
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มผู้ผลิตใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 3 ใน 2 ด้าน ประกอบด้วย การประเมินพฤติกรรม และการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อองค์กร และ2) เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ผลิตให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในบริบทของจังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มผู้ผลิตใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างทำการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ผลิต จำนวน 20 กลุ่ม กลุ่มละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน โดยเลือกเฉพาะกลุ่มที่มีการดำเนินงานในปัจจุบัน ในกลุ่มที่สังกัดสำนักงานสหกรณ์จังหวัดปัตตานี และการจัดสนทนากลุ่ม โดยกลุ่มเป้าหมายจำนวน 13 คนผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินพฤติกรรม ซึ่งประกอบด้วย ความรู้ และทักษะ กลุ่มผู้ผลิตได้รับความรู้จากการฝึกอบรมในโครงการ ทำให้เพิ่มความชำนาญ ทั้งด้านการผลิต การตลาดและการบริหารจัดการของกลุ่ม การฝึกปฏิบัติจริง และการทดลองทำด้วยตนเอง ทำให้กลุ่มเกิดความชำนาญในงานของตน และทำให้กลุ่มยังคงสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้ เพราะว่าการดำเนินธุรกิจของกลุ่มนั้น อยู่บนรากฐานของการทำไปเรียนรู้ไป กระบวนการเรียนรู้เป็นจึงถือหัวใจ ของความสำเร็จและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อองค์กร พบว่า ด้านการบริหารจัดการ มีการแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบในการดำเนินงานของคณะกรรมการกลุ่มอย่างชัดเจน การมีส่วนร่วมในทำงานมีมนุษยสัมพันธ์ หันมาใส่ใจและสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มมากขึ้น การที่กลุ่มจะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องมีการจัดแบ่งอำนาจหน้าที่ ตลอดจนความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน ด้านการผลิต กลุ่มมีการวางแผนในด้านการผลิต ในเรื่องวัตถุดิบให้เพียงพอต่อการผลิต และการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาทักษะในการผลิตให้กับสมาชิก โดยการส่งสมาชิกเข้าอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพแล้วนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดด้านการตลาด กลุ่มยังคงเน้นในเรื่องของการออกร้านจำหน่ายสินค้า ซึ่งมิใช่การตลาดที่ยั่งยืน ควรมีการพัฒนาการขายให้มีร้านจำหน่ายเป็นของตัวเอง มีเอกลักษณ์ของสินค้าสามจังหวัดชายแดนใต้ถ่ายทอดวิถีชีวิต วัฒนธรรมของพื้นที่มีการกระจายสินค้าออกนอกพื้นที่ในทำเลที่เหมาะสม จะทำให้กลุ่มผู้ผลิต สามารถสร้างรายได้ได้มากขึ้นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนากลุ่ม ด้านการบริหารจัดการ ควรให้ความสำคัญในเรื่อง กฎระเบียบ ข้อบังคับ การเงิน/บัญชี ผู้นำ/สมาชิก การดำเนินงาน ทุนหมุนเวียน ด้านการผลิต ควรให้ความสำคัญในเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ การวางแผนในการผลิต เทคโนโลยีในการผลิตชื่อแบรนด์/โลโก้ของผลิตภัณฑ์ และด้านการตลาด ควรให้ความสำคัญในเรื่อง การบริการ การส่งเสริมการตลาด ช่องทางการจำหน่ายสินค้า

The purposes of this study were to evaluate the efficiency managementdevelopment of manufacturers groups in the three southern border provinces, phase III in 2 aspects including the competency assessment and measure organizationaloutcomes and to examine methods for promoting and developing the efficiency and effectiveness of manufacturer groups in the context of three southern border provinces. The target groups of this study were manufacturer groups who participated in the Project of Efficiency Management Development in the three Southern Border Provinces, Phase III. Questionnaires and a semi-structured interview protocol were used to collect data. The participants of the study were 20 persons from 20 manufacturer groups who were running business in the Pattani Provincial Cooperative Office. A focus group with 13 persons from the manufacturer groups was also conducted to complement to study. The result revealed that in terms of the competency assessment including knowledge and skills, manufacturer groups got benefits from training of this project. They got more skills about product marketing and management of the groups. Practice and self-experimentation enhanced their expertise and the group could run a business with confidence. Running a business of the group was based on action learning. Significantly, the learning process was the heart of success and sustainability. In terms of organizational outcomes on the management aspects, this study found that manufacturers groups explored clear job sharing, participation in work, human relations, paying attention and supporting groups? activities. Groups? success depended on clear division of authority and responsibility.Regarding to production aspects, manufacturer groups had production planning preparation of the raw materials to meet production and product development/packaging continuously. In addition, each group supported the members to gain a development training course and use knowledge for product development in accordance with the market demand. As for the marketing aspect, the groups focused on an opening exhibition which was not a sustainable marketing. The groups should develop a unique product identifier of three southern border provinces, sharing in a way of life and local culture including the product distribution with good location. Based on these practices, the manufacturer groups can make the members get higher income. As for guidelines of promotion and methods development of manufacturers groups on management aspects, concern on rules, discipline, finance/ account, leader/member, job operation and circulating fund should be strictly recognized . In terms of production aspects, the manufacturer groups should be concerned about product development/packaging, production planning, production technology, brand name/ logo on the product. As for the marketing market, the groups should scrutinize service, promotion and channel of distribution.
     ผู้ทำ/Author
Nameอุไรวรรณ ทองเหม
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--เศรษฐกิจชุมชน
     Contributor:
Name: ศักรินทร์ ชนประชา
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2557
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1359
     Counter Mobile: 30