|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวโน้มการบริการวิชาการแก่ชุมชนของวิทยาลัยอิสลามศึกษาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2555-2564) ในขอบข่ายเนื้อหา 6 ด้าน คือ วัตถุประสงค์ นโยบาย โครงสร้างและการจัดองค์กร รูปแบบและวิธีการการบริการวิชาการ การบริหารงานบริการวิชาการแก่ชุมชน การสร้างความร่วมมือและเครือข่ายงานวิชาการ เป็นการศึกษาโดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) โดยท าการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 คน วิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับสำหรับผู้เชี่ยวชาญตอบในรอบที่ 2 และ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า แนวโน้มการบริการวิชาการแก่ชุมชนของวิทยาลัยอิสลามศึกษาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2555-2564) ในขอบข่ายเนื้อหา 6 ด้านสรุปได้ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ เป็นศูนย์มุสลิมศึกษาและอิสลามศึกษา โดยการเผยแพร่งานวิชาการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในด้านคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ๆ และพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ ให้แก่บุคลากร บัณฑิต และชุมชน ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อรองรับประชาคมอาเซียนและระดับนานาชาติ 2. นโยบาย ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่หลักวิชาการอิสลาม การวิจัย การศึกษาระดับนานาชาติ การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี กิจกรรมต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาของรัฐ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติที่สอดคล้องกับหลักการอิสลาม โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 3. โครงสร้างและการจัดองค์กร การจัดองค์กรต้องก าหนดเป้าหมายและตัวบ่งชี้ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของวิทยาลัยอิสลามศึกษา ส่วนโครงสร้างองค์กรต้องสอดคล้องกับภารกิจหรือกิจกรรม มีความเป็นเอกภาพ แบ่งงานรับผิดชอบชัดเจน และครอบคลุม มีการติดต่อประสานงาน สื่อสาร สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และมีระเบียบหลักเกณฑ์ สามารถทำงานเชิงรุก ติดตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม และบุคลากรต้องมีความรู้ความชำนาญในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และภาษาต่างประเทศ 4. รูปแบบการบริการวิชาการ มีการผลิตเอกสาร ตำรา งานแปล เอกสารประกอบการสอน สังเคราะห์งานวิจัย/วิทยานิพนธ์ พัฒนาหลักสูตรเก่า บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และบริการข้อมูล ข่าวสาร ผ่านระบบทางไกลด้วยสื่อที่สมัย จัดกิจกรรม นิทรรศการ ทั้งในและนอกสถานที่ จัดอบรมภาษาต่างประเทศ ตั้งคลินิกบริการตอบค าถามและให้คำปรึกษา ทางวิชาการ ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างความตระหนักและส่งเสริมฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ไม่ขัดแย้งกับหลักการอิสลาม 5. การบริหารงานบริการวิชาการแก่ชุมชน จัดหน่วยงานอย่างเป็นระบบ กำหนดหลักเกณฑ์หรือระเบียบอย่างชัดเจน จัดทำนโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนด าเนินงานเป็นลายลักษณ์อักษร มีคณะกรรมการและคณะทำงานรับผิดชอบตามแผนที่กำหนด มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน สรุป วิเคราะห์ และปรับปรุงแก้ไขแผนงานในแต่ละปี มีคณะทำงานบูรณาการงานวิจัยกับกิจกรรมบริการวิชาการ 6. การสร้างความร่วมมือและเครือข่ายงานวิชาการ จัดตั้งเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ จัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายความร่วมมือให้เป็นรูปธรรม ประสานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งเครือข่ายนักวิชาการอิสลามศึกษา มีการประชุมอิสลามศึกษาในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ แลกเปลี่ยนบุคลากรวิจัยเฉพาะด้านระหว่างเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการเป็นศูนย์เครือข่ายงานวิจัยและงานบริการวิชาการ กำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือและจัดตั้งคณะกรรมการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัย และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
The objective of this study is to describe expert?s opinions on the trends of academic community services of College of Islamic Studies in the next decade (B.E. 2555-2564). The study covers 6 key aspects i.e. objectives, policies, structure and organization, types and methods of academic services, management of academic services, and academic collaboration and networking. In this study, EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) was employed. Data were collected using a questionnaire that contained mainly 5-level scale questions. The content of the questionnaire was derived from an interview of 19 experts. The experts later answered the questionnaire for the second and the third time respectively. Percentage, mode, median and range were used as tools for data analysis. The results show that the trends of academic community services of the College of Islamic Studies in the next decade (2555 ? 2564) are as follows: 1. Objective : It was found that the College aims at becoming the center for Muslim studies and Islamic studies by disseminating related scholarly works and actively engaging in human resource development. These activities shall raise better standard of living; provide new learning experience, and improve foreign language proficiency of staff, graduates and community. As a result of that they can be ready to effectively participate in the ASEAN Economic Community (AEC) particularly and international community in general. 2. Policy : The study revealed that the College promotes the dissemination of Islamic academic research at the international level, education for the development of standard of living, and other activities consistent with the government educational policy. The College was found to actively involve the preservation of local and national cultures which are not contradicting with Islamic principles, norms and values with the collaboration from all sectors.3. Structure and organization : The study indicated that the College needs to set goals and key performance indicators consistent with its vision and missions. The organizational structure must support its missions or activities. It must show the unity among its staff, clear division of tasks, good coordination and communication under fine interpersonal relationships and clearly defined rules and regulations. These provide a strong basis and platform for a proactive strategy to change society. Furthermore, staff of the College must achieve a high level of information technology (IT) illiterate and foreign languages proficiency. 4. Type of Academic Services : This research points out that the College has continuously produced high standard of academic papers, books, translated works, teaching materials, and synthesis of research/thesis. It has successfully improved academic curriculum, academic resources, museum, and distance information services. The College has also organized a number of academic service activities such as exhibitions within and outside its primary location, foreign language training, academic consulting services, and economic and social development promotion. It enthusiastically promoted awareness and restoration of local cultures that do not contradict Islamic principles, norms and values. 5. Management of community academic services : The findings indicated that the College must systematically organize, providing clearly-defined rules and regulations, policies, strategic plan and implementation plan in writing. It has appointed various committees to implement this plan. The College conducted performance evaluation, involving summarising, analysing and identifying improvement needs annually. A committee is also appointed to look for ways to integrate research and academic service activities. 6. Creating academic cooperation and networks : The College has established a strong academic network in different regions throughout the country through effective information system. It has created network of scholars of Islamic studies, organized seminar on Islamic studies at national and international levels, and engaged in exchange of research staff in Thailand and abroad. The infrastructure available at the College is conducive to research networking and academic services. The College has identified strategic cooperation and created a committee to implement it in line with the development strategies of the College in particular and the University in general. |