|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์และรูปแบบการนำเสนอสารสนเทศเพื่อการสื่อสารสุขภาพในเว็บไซต์ของในประเทศและต่างประเทศ และเพื่อนำเสนอรูปแบบเว็บไซต์สารสนเทศเพื่อการสื่อสารสุขภาพท้องถิ่นที่เหมาะสมกับประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม กระบวนการศึกษามี 4 ขั้นตอนและผลการศึกษาในแต่ละขั้นตอนมี ดังนี้ 1. การสำรวจคุณลักษณะของเว็บไซต์สารสนเทศและการสื่อสารสุขภาพ จำนวน 10 เว็บไซต์ จำแนกเป็นเว็บไซต์ที่เป็นภาษาไทยจำนวน 7 เว็บไซต์ และเว็บไซต์ภาษาต่างประเทศจำนวน 3 เว็บไซต์ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาเว็บไซต์สารสนเทศเพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพที่เหมาะสมกับประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม ผลการสำรวจพบว่าทั้ง 10 เว็บไซต์มีคุณลักษณะ 4 ด้าน คือ 1) ด้านเนื้อหา 2) ด้านการออกแบบส่วนนำและข้อมูลเว็บไซต์ 3) ด้านการออกแบบกราฟิก 4) ด้านการออกแบบระบบปฏิสัมพันธ์ 2. การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาแบบเจาะจง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 11 คน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 50 คน และ กลุ่มประชาชนทั่วไปโดยเลือกกลุ่มที่มีโอกาสในการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จำนวน 11 คน เพื่อรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบและเนื้อหาของเว็บไซต์สารสนเทศและการสื่อสารสุขภาพ ผลการศึกษา คือ ได้แนวทางและรูปแบบการนำเสนอสารสนเทศเพื่อการสื่อสารสุขภาพท้องถิ่นหรือกลยุทธ์บนเว็บ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบส่วนนำและข้อมูลเว็บไซต์ ด้านการออกแบบกราฟิกและด้านการออกแบบระบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อการพัฒนาเว็บไซต์และรูปแบบการนำเสนอเว็บไซต์สารสนเทศด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับสังคมพหุวัฒนธรรม 3. การพัฒนาเว็บไซต์สารสนเทศและการสื่อสารสุขภาพ โดยการพัฒนาเว็บไซต์ใช้หลักการพัฒนาตามวงจรการพัฒนาระบบ SDLC (System Development Life Cycle) ผลการพัฒนา คือ ได้เว็บไซต์สารสนเทศและการสื่อสารสุขภาพสำหรับประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชื่อเว็บไซต์สุขภาพของเรา Kesihatan Kita URL: http://kesihatan.psu.ac.th/ 4. การประเมินคุณภาพของเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น 4 ด้าน คือ 1) ด้านเนื้อหา 2) ด้านการออกแบบส่วนนำและข้อมูลเว็บไซต์ 3) ด้านการออกแบบกราฟิก และ 4) ด้านการออกแบบระบบปฏิสัมพันธ์ โดยผู้ประเมิน 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คน จำแนกเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบและการจัดการสารสนเทศ จำนวน 3 คน และด้านสุขภาพ จำนวน 3 คน และ 2) กลุ่มผู้ใช้เว็บไซต์ จำนวน 66 คน ผลการประเมินคุณภาพเว็บไซต์สารสนเทศและการสื่อสารสุขภาพจาก 2 กลุ่ม มีดังนี้ 1) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบและการจัดการสารสนเทศเห็นว่าคุณภาพองค์ประกอบของเว็บไซต์ส่วนใหญ่มีความเหมาะสมในระดับดี ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพเห็นว่าคุณภาพองค์ประกอบของเว็บไซต์มีความเหมาะสมในระดับพอใช้ 2) กลุ่มผู้ใช้เว็บไซต์ กลุ่มผู้ใช้ทั่วไปเห็นว่าคุณภาพองค์ประกอบของเว็บไซต์มีความเหมาะสมในระดับดี ส่วนกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเห็นว่าคุณภาพองค์ประกอบของเว็บไซต์มีความเหมาะสมในระดับพอใช้
This research aimed to study strategies and models to deliver health information and communication on websites both in Thailand and abroad and to propose a proper model to disseminate such to the locals in a multi-society of the three Southernmost Provinces in Thailand. The research process and results are discussed into four parts as follows: 1. The first process was to examine key features of ten websites for health information and communication, including seven Thai websites and three websites overseas. Four quality characteristics and attributes of those ten selected websites were found; 1) contents, 2) web front page design and web information, 3) graphic design, and 4) interaction system design. The major characteristics have been used as a framework to develop an appropriate website to deliver information and communication to people in the area. 2. The second phase was to conduct a survey on models and contents of those websites with three groups of purposive samples, including 11 medical professionals, 50 Village Health Volunteers (VHV), and 11 local people. The results yielded models in the above four aspects, which can be used to deliver health information and communication to people in the context of a multicultural society at such area. 3. The third step was to develop a website, using a multistep process of System Development Life Cycle (SDLC) Model. The health information website of "สุขภาพของเรา Kesihatan Kesihatan Kita" at URL: http://kesihatan.psu.ac.th was completed. 4. The last pace was to evaluate four quality characteristics and attributes of the website. Those four aspects were assessed by two groups of evaluators: 1) a group of six experts, including three on web design and information management, and three on health science, and 2) a group of 66 web users. The results are as follows: 1) All quality characteristics and attributes of the website were evaluated at "good" level by a group of three experts on web design and information management and fair level by a group of three experts on health science. 2) Two groups of web users assessed the web quality at two different levels; fair by a group of medical staff and good by local people. |