|
||||||||||||||||||||||
ชื่อเรื่อง/Title | การวิเคราะห์ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 (พ.ศ. 2554 - 2558) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ / Analysis of Administrative Factors Affecting the Accreditation on the Third Round of the External Quality Assessment (2011 - 2015) of Schools under the Jurisdiction of Primary Educational Service Area | |||||||||||||||||||||
บทคัดย่อ/Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่<br>การศึกษาประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 (พ.ศ. 2554 - 2558) และ 2) วิเคราะห์จำแนกปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 (พ.ศ. 2554 - 2558) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผู้วิจัยแบ่งวิธีการดำเนินการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้เป็น 2 ระยะ ดังนี้ <br /><br />
ระยะที่ 1 ประชากรเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม<br /><br />
ศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 (พ.ศ. 2554 - 2558) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือ สมศ. จำนวน 822 โรงเรียน ซึ่งใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากผลการประเมิน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์จัดกลุ่ม (Cluster Analysis) เทคนิค <br /><br />
K ? Means <br /><br />
ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม<br /><br />
ศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับการรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 <br /><br />
(พ.ศ. 2554 - 2558) จาก สมศ. ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 220 โรงเรียน คำนวณจากโปรแกรม G*Power ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยแบ่งตามสัดส่วนของประชากรได้จำนวนโรงเรียนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานและไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานจำนวน 118 และ 102 โรงเรียน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามระดับการปฏิบัติของผู้บริหารเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการรับรองมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 (พ.ศ. 2554 - 2558) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิเคราะห์ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนก (Discriminant Analysis) ด้วยวิธี Enter และ Stepwise<br /><br />
<br /><br />
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้<br /><br />
1. ผลการจัดกลุ่มโรงเรียน พบว่า สามารถจัดกลุ่มโรงเรียนได้ 3 กลุ่ม ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้ กลุ่มที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 73.11 เป็นกลุ่มที่มีคะแนนตัวบ่งชี้เฉลี่ยสูงกว่าทั้ง 2 กลุ่ม เรียกกลุ่มนี้ว่า ?กลุ่มโรงเรียนที่มีคุณภาพแต่ควรปรับปรุงด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน? กลุ่มที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 26.76 เป็นกลุ่มที่มีคะแนนตัวบ่งชี้เฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ 3 แต่ต่ำกว่ากลุ่มที่ 1 เรียกกลุ่มนี้ว่า ?กลุ่มโรงเรียนที่มีคุณภาพแต่ต้องปรับปรุงด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน?กลุ่มที่ 3 คิดเป็นร้อยละ .12 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีคะแนนตัวบ่งชี้เฉลี่ยต่ำกว่าทั้ง 2 กลุ่ม เรียกกลุ่มนี้ว่า ?กลุ่มโรงเรียนที่มีคุณภาพพอใช้แต่ควรปรับปรุงกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน? <br /><br />
2. ผลการจำแนกกุล่มโรงเรียนด้วยวิธี Enter พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายกลุ่มโรงเรียนได้ดีที่สุด คือ ด้านผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่ ด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายใน ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านวัฒนธรรมองค์การ ด้านการพัฒนาครู โรงเรียนขนาดเล็ก ด้านการทำงานเป็นทีมของครู ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนขนาดกลาง อายุ ประสบการณ์การทำงาน เพศ และภูมิลำเนา ตามลำดับ และผลการจำแนกกลุ่มโรงเรียนด้วยวิธี Stepwise พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายกลุ่มโรงเรียนได้ดีที่สุด คือ ด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายใน ด้านผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านวัฒนธรรมองค์การ และด้านการพัฒนาครู ตามลำดับ<br /><br />
The purposes of this research were as follows: 1) to categorize schools under the Jurisdiction of Primary Educational Service Area Offices in the three southernmost provinces by using the third round of the External Quality Assessment indicators (2011 - 2015) and 2) discriminant analysis of administrative factors affecting on the accreditation of the third round of the External Quality Assessment (2011 - 2015) of the schools. The research was divided into two phases as follows;<br /><br /> Phase 1: The population were 822 schools under the Jurisdiction of Primary Educational Service Area Offices in the three southernmost provinces have been reported for the third round (2010 - 2014) external assessment from office of National Education Standards and Quality Assessment. The research was conducted using the secondary data through K-Means Cluster Analysis.<br /><br /> Phase 2: The samples were 220 schools under the Jurisdiction of Primary Educational Service Area Offices in the three southernmost provinces have been reported for the third-round external assessment from office of National Education Standards and Quality Assessment. They were selected by Simple Random Sampling of G*Power. In addition, they were divided into two groups namely certified schools and non-certified schools, the number of both groups were 118 and 102, respectively. The research instrument was Executive Level Management Questionnaire with administrative factors affecting the accreditation on the third round of the External Quality Assessment (2011 - 2015) of schools under the Jurisdiction of Primary Educational Service Area Offices in the three southernmost provinces. The data were analyzed by Mean, standard deviation and Discriminant Analysis of Enter and stepwise methods. <br /><br /> <br /><br /> <br /><br /> <br /><br /> The results were shown as follow: <br /><br /> The phase 1 results: There are 3 groups of these schools that have different characteristics : Group 1, there was 73.11 percentage which is the most score of average of indicators, called ?Quality school groups but should be improved on academic achievement?, Group 2, there was about 26.76 percentages which is the higher score of average of indicators than group 3 but lower than group 1, called ?Quality school groups which have to improve on academic achievement? and Group 3, there was 0.12 percentage which is the lowest score of average of indicators, called ?School groups which have to improve on basic indicator?. <br /><br /> The phase 2 result: The result of analysis using Enter method revealed that the best factors that can predict the groups of these schools were the factor on impact of unrest in the area, internal assessment process, the factor on transformational leadership, the factor on organizational culture and the factor on teacher development, small school The teamwork of the teacher. Information Technology School-community involvement the average age, experience, gender and domicile, respectively. On the other hand, the results from Stepwise method revealed that the best factors that can predict the groups of these schools were the internal quality assurance process, The effects of unrest in the area, Leadership change Organizational culture and the development of teachers, respectively. <br /><br /> |
|||||||||||||||||||||
ผู้ทำ/Author |
|
|||||||||||||||||||||
เนื้อหา/Content |
|
|||||||||||||||||||||
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านการศึกษา --นโยบายทางการศึกษา --การจัดการศึกษา --บุคลากรทางการศึกษา --ปัญหาทางการศึกษา |
|||||||||||||||||||||
Contributor: |
|
|||||||||||||||||||||
Publisher: |
|
|||||||||||||||||||||
Year: | 2559 | |||||||||||||||||||||
Type: | วิทยานิพนธ์/THESES | |||||||||||||||||||||
Copyrights : | ||||||||||||||||||||||
Counter : | 624 | |||||||||||||||||||||
Counter Mobile: | 27 | |||||||||||||||||||||