ชื่อเรื่อง/Title ความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของประชากรนกยางเปีย ในบริเวณเรือนจำกลางปัตตานี / Breeding success of the Colonial birds: Little egret (Egretta garzetta) in pattani central prison area
     บทคัดย่อ/Abstract ศึกษาความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของประชากรนกยาเปียในบริเวณเรือนจำกลางปัตตานี จ.ปัตตานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2551ถึงเดือนสิงหาคม 2552 พบว่า ช่วงฤดูผสมพันธุ์ของนกยางเปีย มี 2 ช่วง ดดยช่วงเเรกระหว่างเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนช่งที่สอง ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม นกยางเปียวางไข่ 1-6 ฟอง โดยมีจำนวนไข่ 3 ฟองต่อรังมากที่สุด จำนวนไข่เฉลี่ยต่อรัง 2.77+-0.45 ฟอง ค่าเฉลี่ยจำนวนลูกนกในระยะฟัก 2.50+-0.40 ตัว เเละอัตราการรอดของลูกนก 1.53+-0.30 ตัว ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยจำนวนไข่ต่อรัง ค่าเฉลี่ยจำนวนลูกนกในระยะฟัก เเละอัตราการตายของลูกนกจะเพิ่มขึ้นในเเต่ละช่วงอายุจนลูกนกอายุ 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นดังกล่าวในทั้งสองช่วงของฤดูผสมพันธุ์ไม่มีความเเตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้พบว่ารังถูกทำลายในช่วงของการฟักมากที่สุด ร้อยละ 43.93<br /><br /> ความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของนกยางเปีย พบว่า มีจำนวนลูกนก 0.85+-0.41 ตัว ตลอดฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งผลการวิเคราะห์ทางสถิติเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างช่วงของฤดูผสมพันธุ์ พื้นที่ย่อยที่นักสร้างรังเเละอายุของลูกนกในเเต่ละช่วง พบว่า จำนวนลูกนกที่อยู่รอดมีความเเตกต่างอย่างมีนัยวำคัญทางสถิติ (p<0.01)<br /><br /> การจำเเนกอาหารจากก้อนสำรอกพบว่า นกยางเปียกินสัตว์ในกลุ่มปลามากที่สุด (ร้อยละ 82.68) รองลงมาคือ กลุ่ม กุ้ง ปู (ร้อยละ 15.63) โดยปลาในอันดับเพอซิฟอร์มีส ถูกจับกินมากที่สุดซึ่งได้เเก่ ปลานิล ปลากระดี่หม้อ ปลาตะเพียนทราย ปลากริมควาย เเละปลาหมอ<br /><br /> เส้นทางบินหากินของนกยางเปียออกไปได้ไกลถึง 15 กิโลเมตร เเหล่งอาหารภายในรัศมี 10 กิโลเมตร ห่างจากบริเวณสร้างรังวางไข่ พบว่า หากินในระบบนิเวศต่างๆ มาก ตามลำดับดังนี้ นาเกลือ > บ่อกุ้ง > พื้นที่ชายฝั่ง ทั้งนี้สัมพันธ์กับจำนวนนกที่บันได้จากการศึกษาเส้นทางการบิน

Breeding success of the Little Egret (Egretta garzetta) was investigated in the wetland reserve of the Pattani Central Prison during October 2008-August 2009. Breeding of the Little Egret occuured twice yearly; the first period was from October to late February whereas the second period was from March to July. The results revealed that mean numder of egg/nest, hatched chick and nestling was 2.77+-0.45, 0.40+-0.40 and 1.53+-0.30, respectively. The loss of chicks increased towards 14 days of age. However, the loss was not significantly different (p<0.05) in both periods. Moreover the percentage nest loss during incubation was 43.93%.<br /> Breeding success of the Little Egret 2008/09 colony was 0.85+-0.41. The statistical analysis, generalized estimating equation, demonstrated that the correlation between number of chicls, both periods, sub-area of nesting. and age of neating was significantly different (p<0.01).<br /> The identification of food from regurgitates showed that food intake by the Little Egret mainly fish (82.68%) followed by crustaceans (15.63%). Most of the fish belonged to the order perciformes including: Oreochromis nilotica, Trichogaster trichopterus, Puntius leiacanthus, Trichopsis vittata and Anabas testudineus.<br /> The main feeding range of the Little Egret was within 15 km. The habitats in a radius of Km surroundings the nesting colony was favored to the Litle Egrets. The habitat mainly included salt pans > shrimp ponds > intertidal mudflats. This was related to the number of bird counted in the fly way to the colony.
     ผู้ทำ/Author
Nameสมศักดิ์ บัวทิพย์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
--การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
--ปัญหาสิ่งแวดล้อม
     Contributor:
Name: วรรณชไม การถนัด
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2555
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 824
     Counter Mobile: 40