ชื่อเรื่อง/Title การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551: กรณีศึกษาโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน จังหวัดปัตตานี / Science learning management on foundation education curriculum B.E. 2551 : Case study of Azizstan foundation school changwat pattani
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของสถานศึกษาโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน จังหวัดปัตตานี และศึกษาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ในด้านการเตรีมความพร้อมในการจัดทำหลักสูตร จุดประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหาสาระ การจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และออกแบบการวิจัยแบบกรณีศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การบันทึกภาคสนาม การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร มีการบันทึกเทป การจดบันทึก และการสังเกต กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ครูวิทยาศาสตร์ หัวหน้าหมวดวิทยาศาสตร์ ผู้บริหารโรงเรียน ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการตรวจสอบแบบสามเส้านำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา แล้วสรุปบรรยายเชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1. โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามขนาดใหญ่ ก่อตั้งในที่ดินสาธารณกุศล ประชาชนนับถือศาสนา 100% พื้นโดยรอบบริเวณโรงเรียนเป็นสวนยาง และสวนผลไม้ สภาพครอบครัวมีความเข้มเเข็ง ชุมชนมีความผูกพันและมีความสัมพันธ์ที่ดี ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในเรื่องเเรงงานเพื่อการพัฒนาอาคารและบริเวณตลอดจนกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น<br /> 2. แนวทางในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน มีขั้นตอนในการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมความพร้อมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีการสร้างความตระหนักและความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้บุคคลากรมีการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกและผู้เชี่ยวชาญเพื่ออบรมให้ความรู้ในการจัดทำหลักสูตร มีการจัดสรรงบประมาณในการจัดทำหลักสูตร ด้านข้อมูลสารสนเทศ มีการศึกษาสภาพบริบทและความต้องการของชุมชน สถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียน ก่อนที่จะจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ส่วนด้านการประชาสัมพันธ์ มีการประชาสัมพันธ์การเปลี่ยนเเปลงหลักสูตร โดยการจัดทำเอกสารเผยเเพร่ความรู้ 2) ข้อมูลการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีการจัดทำเอกสารหลักสูตร ทำแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน การวัดเเละประเมินผล 3) การวางเเผนการใช้หลักสูตร มีการจัดสภาพเเวดล้อมภายในโรงเรียนและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 4) การดำเนินการใช้หลักสูตร มีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด<br /> 3. ในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ครูมีการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 โดยมีองค์ประกอบใกิจกรรมการสอนทั้ง 5 ด้าน ได้เเก่ 1) ด้านจุดประสงค์ของหลักสูตร ครูกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตรจากมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้แกนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาวิเคราะหืเป็นคำอธิบายรายวิชาและจุดประสงค์การเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตรฝื 2) ด้านเนื้อหาสาระ เนื้อหาที่ครูนำมาจัดสอนมีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความเหมาะสมกับสภาพความพร้อมและความรู้พื้นฐานของนักเรียน 3) ด้านการจัดการเรียนการการสอน ครูมีการเตรียมการสอนก่อนเข้าสอนทุกครั้ง โดยการศึกษาหาความรู้จากคุ่มือครู หนังสือเรียน และเเผนการจัดการเรียนรู้เพื่อเป็นเเนวทางในการสอน วิธีสอนที่ใช้ คือ การบรรยาย การปฏิบัติการทดลอง สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ 4) ด้านสื่อการเรียนการสอน ที่ครูจัดทำขึ้นเพื่อใช้เองคือ ใบความรู้ ใบงาน เเละรูปภาพต่างๆ ตัวอย่างของจริง โดยทำการศึกษาจากคู่มือประกอบการสอน เว็บไซต์ต่างๆเเละวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น 5) ด้านการวัดผลและประเมินผล ครูวัดเเละประเมินผลผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลายจากเเบบทดสอบที่สร้างขึ้นเอง เพื่อประเมินความรู้พื้นฐานของนักเรียน ปรับปรุงการเรียนการสอนและตัดสินผลการเรียน ภายหลังจากใช้หลักสูตร นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และบรรลุผลตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่หลักสูตรได้กำหนดไว้

The purposes of this research were to study the basic information and management processes of the Foundation Education Curriculum B.E. 2551 of Azizstan Foundation School, Changwat Pattani and to study the science learning management of the<br /><br /><br /> Foundation Education Curriculum B.E. 2551 in terms of preparing for developing the curriculum, objectives of the curriculum, contents, learning management, instructional materials, evaluation and assessment affecting the learning of science of the students at the lower secondary level. Then research methodology employed was qualitative research based on a case study and gathering of data by means of non-participatory observations, field notes, formal interviews, informal interviews, in-depth interviews, documentary studies, audiotapes, notes, and observations. The samples consisted of Mattayomsuksa I students, science teachers, head of science teachers, and<br /><br /><br /> school administrators. A triangulation method was used in checking the data. Content analysis and the inductive method were employed in data analysis. The findings revealed the following: 1. Azizstan Foundation School is a large Islamic private school located in a public area. All of the people involved with the school were Islamic. The school is surrounded by rubber and fruit plants. The family status of the people was very strong. The community had a strong relationship with the school and they were keen to participate on developing the buildings and surroundings of the school, as well as the schoolps activities. 2. The guidelines of the school curriculum management of Azizstan Foundation<br /><br /><br /> School consisted of four steps. The first step is preparing to develop the school curriculum. School personnel should recognize and thoroughly understand how to develop a school curriculum. There should be coordination between outside organizations and experts to train the school personnel on how to develop a school curriculum. The budget for developing the school curriculum should also be prepared. Additionally, the context and needs of the community, school, teachers, and students should be studied. Public relations should also be prepared to inform everyone involved about the changing of the curriculum by producing an information document. Secondly, to develop the school curriculum, the curriculum document, learning plans, learning management, evaluations, and assessments should be prepared. Thirdly, to plan the<br /><br /><br /> curriculum implementation, the school environment and atmosphere must be prepared to serve the studentsp learning. Lastly, to implement the curriculum, learning activities consistent with the learning standards and indicators should be prepared. 3. In the management of science learning management, teachers have managed science learning on the Foundation Education Curriculum B.E. 2551 covering 5 aspects of teaching activities: 1) curriculum objectives s teachers should specify curriculum objectives based on the science learning standards/ indicators to analyze as the subjectps descriptions and objectives, 2) contents s the contents should be consistent with science learning standards/<br /><br /><br /> indicators suitable for the readiness and background of the students. 3) learning management s the teachers should prepare for teaching every time before coming the class by searching for the related information from teacherps manuals, books, and learning plans and they should teach by lecture and experiment to encourage the interest of the students, 4) instructional materials s teachers should prepare their own teaching materials such as knowledge sheets, work sheets,<br /><br /><br /> pictures and samples by studying from teacherps manuals, websites, and local materials, and 5) evaluation and assessment s teachers can evaluate and assess the students by various methods such as using a developed test to evaluate the background knowledge of the students, to improve teaching, and to assess learning results.
     ผู้ทำ/Author
Nameซานูรี เมาะบูลา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--ปัญหาทางการศึกษา
     Contributor:
Name: ณัฐวิทย์ พจนตันติ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2555
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1493
     Counter Mobile: 267