ชื่อเรื่อง/Title บทบาทหญิงชายมุสลิมกับการจัดการทรัพยากรประมงบ้านปากบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี / Muslim Gender and Fisheries Resource Management in Pakbangtawa Village, Nongchik District, Pattani
     บทคัดย่อ/Abstract งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทของชุมชน บ้านปากบางตาวา 2) บทบาทหญิงชายมุสลิมกับการจัดการทรัพยากรประมง และ 3) แสวงหาปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรประมง กลุ่มเป้าหมายมีทั้งหมด 17 คน คือ สามีภรรยาที่ประกอบอาชีพประมง 6 ครอบครัว จำนวน 12 คน ผู้นำที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแบบพรรณนาความ ผลการวิจัย พบว่า บ้านปากบางตาวาเป็นชุมชนประมง ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม มีการตั้งบ้านเรือนแบบกระจุกตัว ปัจจุบันทรัพยากรทางทะเลมีจำนวนลดลง ป่าชายเลน ถูกทำลาย มีโครงสร้างพื้นฐานที่อำนวยความสะดวกแก่ชุมชนเพิ่มขึ้น ทำให้สมาชิกในครอบครัว ต่างปรับตัว และพยายามสร้างรายได้ด้วยการประกอบอาชีพเสริม บทบาทหญิงชายมีการแบ่งงานกันทำโดยคำนึงถึง ประเภทของงานหนัก งานเบา ตามความแตกต่างด้านสรีระ การครองเรือนยึดหลักการอิสลามที่ให้การช่วยเหลือระหว่าง สามีภรรยา ภรรยาจึงมีบทบาทเพิ่มขึ้นโดยต้องออกเรือไปกับสามี เพื่อเป็นผู้ช่วย ในการใช้เครื่องมือประมง รวมทั้งเป็นผู้สื่อข่าวถึงญาติพี่น้องและเพื่อนบ้าน เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆในชุมชน สำหรับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมประมงที่ส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรประมง พบว่า ชายมีส่วนร่วมในการวางแผนและการปฏิบัติมากกว่าหญิง และคิดว่าทั้งหญิงชายมีส่วนร่วมในการมีส่วนได้ส่วนเสียเท่าเทียมกันและไม่มีส่วนร่วมในด้านการประเมินผล ปัจจัยภายใน ด้านผู้นำ และปัจจัยภายนอก ด้านหน่วยงานของรัฐ มีผลต่อการจัดการทรัพยากรประมงของหญิงชายมุสลิมบ้านปากบางตาวา

This qualitative research aimed to study 1) context of Pakbangtawa village; 2) Muslim gender role and fisheries resource management; and 3) identify internal and external factors effecting fisheries resource management. Seventeen subjects of the study included 6 fisherman couples, and 5 official leaders and non-official leaders. Research instrument were in-depth interview, group discussion, and non-participatory observation. The research data was analyzed using descriptive content analysis. The findings revealed that Ban Pakbangtawa was a fisherman village in which its people were Muslims. Their houses were cluster. At present, due to the decrease numbers of marine resources, destruction of mangrove forest, and construction of infrastructure, each family adapted themselves to the changes and tried to find other jobs to support the family. Role and fishery job division among the family member was divided according to type of task and physical differences. Regarding family life, subjects followed the rules of Islamic law, so women had to go fishing and help in carrying the fishing tools. They sent news to relatives and neighborhoods, and help in community activities. For participation in fishing activities about fisheries resource management, men were more active in planning and taking action than women, while they were equal in sharing interest. However, both genders didn?t involve in evaluation. Leader aspects and government organization aspects had an effect on fisheries resource management of the community.
     ผู้ทำ/Author
Nameจงรักษ์ ศรีจันทร์งาม
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstratcs
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--เศรษฐกิจชุมชน
ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
--การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
     Contributor:
Name: เพ็ญพักตร์ ทองแท้
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2557
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1749
     Counter Mobile: 52