ชื่อเรื่อง/Title สภาพการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ที่ได้รับเหรียญทองในจังหวัดสตูล / Status of the Performance of Mosque Based Islamic Education Center (Tadika) Awarded a Gold Medal in Satun Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสภาพการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดสตูล 2) เปรียบเทียบระดับสภาพการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดสตูลจำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ ระดับการศึกษาสามัญและระดับการศึกษาศาสนา 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ประชากรเป็นผู้บริหารศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดสตูล ที่บริหารศูนย์ฯ ประสบความส าเร็จได้รับรางวัลเหรียญทอง จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation ) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาอิสลามประจ ามัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดสตูล ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่ ด้านบรรยากาศ และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า ภาพรวมและรายอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบระดับการด าเนินงานของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ที่ได้รับเหรียญทอง ในจังหวัดสตูลจำแนกตาม อายุ ประสบการณ์ ระดับการศึกษาสามัญและระดับการศึกษาศาสนาอิสลาม พบว่า ผู้บริหารศูนย์ฯ ที่มี อายุ ประสบการณ์ และระดับการศึกษาศาสนาอิสลามที่ต่างกัน ทุกด้านไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นระดับการศึกษาสามัญที่พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ประมวลแนวทางการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) พบว่า ควรให้ความสำคัญในการพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์ฯ ทั้ง 5 ด้าน และมาตรฐานคุณภาพการศึกษาศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) จังหวัดสตูล ประกอบด้วย ด้านอัตลักษณ์ ด้านการส่งเสริมและด้านการดำเนินงานขั้นพื้นฐาน อย่างต่อเนื่องและมีระบบ

This research was aimed at studying (1) levels of management of Islamic learning centers of masjids in Satun, (2) comparative levels of management based on success factors varying from ages, experiences, secular educations and Islamic educations, and (3) sustainable development approaches. The sample included 42 golden-awarded chiefs of Islamic learning centers in Satun. Five factors covering staff, budget, facilities, atmosphere and community participation were investigated through a rating-scale questionnaire. The obtained data were analyzed to discover percentages, means, and standard deviations. The findings indicate the following: 1. A much level is found in all success factors both as a whole and individually. 2. In comparison of success factors, no difference is significantly discovered in different ages, experiences and religion educations. However, difference with significance of .05 is found in different secular educations. 3. For sustainable development of the Islamic learning center, it is suggested importance be focused in development of all five aspects. The standard of educational quality of the Islamic learning center of Satun includes identity, support and systematic and progressive fundamental works.
     ผู้ทำ/Author
Nameอภิสิทธิ์ ดำยูโซ๊ะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Symbol
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อะห์มัด ยี่สุ่นทรง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2556
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2273
     Counter Mobile: 27