ชื่อเรื่อง/Title การดำเนินงานวางแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล / Implementation of Strategic Planning of Private Islamic Schools in Satun Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานวางแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล 2) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานวางแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อประมวลปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานแผนกลยุทธ์ไปใช้เพื่อพัฒนาการบริหารของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล สังกัดส านักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสตูล จ านวน 222 คน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบ T และสถิติเปรียบเทียบ F ผลการวิจัย พบว่า สภาพการใช้กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านการจัดทำแผน ที่อยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครู โดยตัวแปรเพศ ระดับการศึกษา และขนาดของโรงเรียน มีสภาพการใช้กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูลไม่แตกต่างกัน ส่วนตัวแปรอายุ ต าแหน่ง และประสบการณ์การท างาน มีสภาพการใช้กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ปัญหาการใช้กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล คือ ขาดการวางแผน ไม่มีปฏิทินในการปฏิบัติงาน ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความเป็นมืออาชีพ ขาดความพร้อมเพรียงในการทำงานเป็นทีมและไม่มีการติดตามงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงาน คือ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าและจัดทำปฏิทินปฏิบัติงานที่แน่นอน มีการอบรมและให้ความรู้ในการจัดทำแผนกลยุทธ์แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงแผนให้มีความเหมาะสมกับการน าไปปฏิบัติและมีการติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

This research aims (1) to study reality of the implementation of strategic planning of private Islamic schools in Satun Province, (2) to compare the reality of the implementation of strategic planning of private Islamic schools in Satun Province based on difference of gender, age, educational level, job experience, and size of schools, and (3) to examine problems and ways of developing the implementation of strategic planning to improve the administration of the private Islamic schools in Satun Province. The samples of the study are 222, comprising administrators and teachers of the private Islamic schools in Satun officially affiliated with of the Office of Satun Private Education. The questionnaire and interview are used in the research to collect the relevant data. The statistics adopted in analyzing the data consist percentage value, average value, standard deviant value of T (Test), comparative statistics of T and F. The results of the research found that the implementation of strategic planning of private Islamic schools in Satun, according to the administrators and the teachers and as a whole, is at medium level. Considering individually, the implementation of all planning factors is also at medium level except plan making which is at much level. Comparative results of opinion of the administrators and the teachers based on the variants such as gender, educational level, and size of the schools in relation to the adoption of the administrative strategy in running the private Islamic schools in Satun are not different while those based on the variants such as age, position, and job experience are importantly different at the rate of .05. The problems of the implementation of the strategy in running the private Islamic schools in Satun are lack of planning, shortage of time planning in working, scarcity of job experience and professionalism, lack of steadily organized team-working, no continuous assessment of the work done. The ways to improve the performance are preplanning, adopting working timetable, training and educating on making of working plan for the relevant performers, and improving the plan in conformity with its implementation and continuous assessment.
     ผู้ทำ/Author
Nameซอฝีเย๊าะ หวังหลี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgement
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2556
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1933
     Counter Mobile: 35