ชื่อเรื่อง/Title การวิเคราะห์ตัวแปรพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ / A multilevel Analysis Influencing on Learning Achievement of Prathomsuksa Six Students in the Three Southern Border Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคน ดังนั้นในการจัดการศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของกระบวนการศึกษาเเละผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียนเเต่เนื่องจากระบบทางการศึกษาเป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อนทำให้ข้อสรุปที่ได้จากการศึกษาคลาดเคลื่อนไปจากสภาพที่เป็นจริงของข้อมูล การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวเเปรพหุระดับ ซึ่งประกอบด้วย ตัวเเปรระดับนักเรียน ตัวเเปรระดับห้องเรียน ที่มีอิทธิพลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เพื่อสร้างสมการณ์พยากรณ์องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1056 คน และครูที่ปรึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 คน สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ปีการศึกษา 2553 ได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) ตัวเเปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวเเปรระดับนักเรียนจำนวน 9 ตัวเเปร ได้เเก่ การคิดเชิงระบบเจตคติต่อการเรียน การส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง อิทธิของกลุ่มเพื่อน เเรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความคาดหวังในผลสัมฤทธิ์ ความเชื่อมั่นในตนเอง นิสัยในการเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และตัวแปรในระดับห้องเรียน 3 ตัวแปร ได้เเก่ จำนวนนักเรียน สื่อการเรียนรู้ สภาพเเวดล้อมในห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ฉบับ ได้เเก่ 1ปแบบทดสอบวัดการคิดเชิงระบบ มีค่าความยากตั้งเเต่ 0.63 ถึง 0.65 ค่าอำนาจจำเเนกตั้งเเต่ 0.25 ถึง 0.42 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.878 2)เเบบวัดเจตคติต่อการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความคาดหวังในผลสัมฤทธิ์ ความเชื่อมั่นในตนเองมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.816 3)แบบสอบถามการสนับสนุนจากผู้ปกครอง อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ความสัมพันธิ์ระหว่างครูกับนักเรียน และนิสัยในการเรียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.923 4)แบบสอบถามครูผู้สอน จำนวนนักเรียน สื่อการเรียนรู้และสภาพเเวดล้อมในห้องเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.968 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยโปรเเกรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์พหุระดับ (Multilevel Analysis) ด้วยเทคนิคโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่นโดยใช้โปรเเกรม HLM. for Window version 4.04<br /> ผลการวิจัย 1. ตัวแรระดับนักเรียนที่มีอิะธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ เจตคติต่อการเรียน เเรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยที่ตัวแปรอิสระระดับนักเรียนสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 53.99 2. ตัวแปรระดับห้องเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้ 3. ตัวเเปรระดับห้องเรียนไม่มีความสัมพันธ์ต่อค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (Slope) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้ 4. สมการพยากรณ์ในการทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสามจังหวัดชายเเดนภาคใต้ ดังนี้ การวิเคราะห์ภายในห้องเรียน (Within-Unit Model) ACH=2.258+0.140(ATS)+0.347(MOT)+0.472(SUP) โดยสรุปผลการวิจัยในครั้งนี้ เจตคติต่อการเรียน เเรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง เป็นตัวแปรที่มีนัยสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ดังนั้นครูผู้สอนและผู้ปกครองจึงช่วยกันส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ซึ่งเป็นประโยชน์เเก่นักเรียนในอนาคต

Education is an essence for developing human resources. In the process of education management, it is necessary to concern about educating efficiency and learners' achievement. However, the education system is such a complicated system that the result of this study can be inexact. This research aimed to study the relationship of the multilevel factors affecting students' achievement, i.e. student-level, classroom-level variables that affect students' learning achievement, and to form the predictive equation for the components that affect 1056 Prathomsuksa-six students' learning achievement. And 40 Prathomsuksa-six class teachers belonging to Pattani primary education area no.1, Narathiwat primary education area no.2 and Yala primary education area no.1, of academic year 2010. The samples were selected by the multistage random sampling method. The variables used in the research consisted of 6 studentlevel variables, namely, systematic thinking, attitudes towards learning, parents' supports, influence from friends, achievement motivations, achievement expectation, self confidence, learning habits and interaction between teachers and students. And 3 classroom-level variables,namely, numbers of students, instructional media, and learning environment. There were 4researching tools, namely 1) systematic thinking test: Difficulty index between 0.63 to 0.65.Power index between 0.25 to 0.42. Confidence index equaled 0.878. 2) Learning attitude test: The confidence index of achievement motivations, achievement expectation, self confidence were equal to 0.816 3) Parents' supports, influence from friends, interaction between teachers andstudents and learning habits showed the confidence index of 0.923 4) Class teacher questionnaire, numbers of students, instructional media, and learning environment showed the confidence index of 0.968, analyzed by fundamental statistics. The correlative coefficient analysis and the Multilevel analysis by Hierarchical Linear Model were computed with the computer software HLM. for Window version 4.04€ The result revealed that: 1. Student-level variables affecting learning achievement of the Prathomsuksasix students in 3 southern border provinces with the statistical significance of .01 were Attitudes towards learning, achievement motivations, and parents supports , which were positively relative to learning achievement. The student-level independent variables could explain the deviation of learning achievement as much as 53.99% 2. Classroom-level variables had no relationship with learning achievement of the Prathomsuksa-six students in the three southern border provinces. 3. Classroom-level variables had no relationship the regression coefficients. (Slope) with learning achievement of the Prathomsuksa-six students in the three southern border provinces. 4. The predictive equation for the factors affecting learning achievement of the Prathomsuksa-six students in the three southern border provinces could me formed as follows. Within-Unit Model ACHij = 2.258 + 0.140 (ATS)ij+ 0.347 (MOT)ij + 0.472 (SUP)ij In summary, the results of this research. Attitudes towards learning, achievement motivations, and parents supports. The variables are statistically significant for the achievement of students. So, teachers and parents should help supports learning and development, which will benefit students in the future.
     ผู้ทำ/Author
Nameชญานิษฐ์ กาญจนดี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abtracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Contributor:
Name: ชิดชนก เชิงเชาว์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2556
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1578
     Counter Mobile: 53