ชื่อเรื่อง/Title ประชาคมสัตว์น้ำบริเวณแท่งคอนกรีตสำหรับการป้องกันตลิ่ง ในจังหวัดปัตตานี / The Roles of College of Islamic Studies, Prince of Songkla University
     บทคัดย่อ/Abstract ศึกษาประชาคมสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งที่มีการปักแท่งเสาคอนกรีตสำหรับ การป้องกันตลิ่งในจังหวัดปัตตานี ระหว่างเดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2553 เก็บตัวอย่างสัตว์น้ำด้วยเครื่องมืออวนสามชั้น เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อศึกษาผลของฤดูกาลและความลึกที่มีต่อความชุกชุม ความหลากชนิด และโครงสร้างประชากรของสัตว์น้ำ จากการศึกษาพบปลาอย่างน้อย 64 ชนิด โดยความชุกชุมและจำนวนชนิดของปลาในแต่ละเดือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.005) ปลาที่พบมากที่สุด คือ ปลาอีปุดหัวเล็ก (Opisthopterus tardoore) ปลาจวดหน้าสั้น (Dendrophysa russelii) และปลาแมวหัวแหลม (Thryssa kammalensis) พบกุ้ง 6 ชนิดและกั้ง 1 ชนิด ความชุกชุมและจำนวนชนิดของกุ้งที่พบในแต่ละเดือนแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.005) โดยที่พบมากที่สุด คือ กุ้งตะกาด (Metapenaeus affinis) กุ้งหัวมัน (Metapenaeus brevicornis) และกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis) พบปู 12 ชนิด ความชุกชุมและจ านวนชนิดของปูที่พบในแต่ละเดือนนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.005) โดยที่พบมากที่สุด คือ ปูเฉสวน (Coenobito sp.) ปูกระดุม (Lyphira perplexa) และปูหนุมานจุด (Mututa victor) ในขณะที่ระดับความลึกไม่มีอิทธิพลต่อความชุกชุมและจำนวนชนิดของสัตว์น้ำ (p>0.05) เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Cluster analysis เพื่อจัดกลุ่มของกลุ่มสัตว์น้ำ พบว่ามีแนวโน้มการจัดกลุ่มของสัตว์น้ำทั้ง 3 กลุ่ม เป็นไป ตามเดือน/ฤดูกาล เมื่อวิเคราะห์ค่าดัชนีความหลากหลาย (Shannon - Wieners diversity index) ของปลาจากอวนสามชั้น มีค่าเท่ากับ 3.09 ดัชนีความสม่ำเสมอของปลา (Evenness Index) มีค่าตลอดทั้งปีเท่ากับ 0.74 และดัชนีความโดดเด่นของปลาบางชนิด (Dominance Index) มีค่าตลอดทั้งปี 0.26 ส่วนดัชนีความหลากหลายของกุ้งและกั้งจากอวนสามชั้น มีค่าเท่ากับ 1.28 ดัชนีความสม่ำเสมอของกุ้งและกั้ง มีค่าตลอดทั้งปีเท่ากับ 0.66 และดัชนีความโดดเด่นของของกุ้งและกั้งบางชนิด มีค่าตลอดทั้งปี 0.34 ส่วนดัชนีความหลากหลายของปูจากอวนสามชั้น มีค่าเท่ากับ 0.26 ดัชนีความสม่ำเสมอของปู มีค่าตลอดทั้งปี เท่ากับ 0.10 และดัชนีความโดดเด่นของปูบางชนิด ตลอดทั้งปีเท่ากับ 0.26 และดัชนีความหลากหลายของหอยและหมึกจากอวนสามชั้น มีค่าเท่ากับ 0.49 ดัชนี ความสม่ำเสมอของหอยและหมึก มีค่าตลอดทั้งปีเท่ากับ 0.27 และดัชนีความโดดเด่นของหอยและหมึก มีค่าตลอดทั้งปีเท่ากับ 0.73 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประชาคมสัตว์น ้ากับปัจจัยสภาวะแวดล้อมโดยใช้ Canonical Correspondence Analysis (CCA) พบว่าสามารถจำแนกกลุ่มปลาออกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มกุ้งและกั้ง 4 กลุ่ม และกลุ่มปู 2 กลุ่มด้วยกัน และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของประชาคมสัตว์น้ำกับแพลงก์ตอนสัตว์ โดยใช้ Canonical Correspondence Analysis (CCA) พบว่าทั้งกลุ่มปลาและกลุ่มกุ้งสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 กลุ่ม ด้วยกัน ผลจากการศึกษาในครั้งนี้นับว่ามีความสำคัญมากสำหรับนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานต่อการจัดการชายฝั่งในอนาคต และยังเป็นการเติมเต็มข้อมูลที่ยังขาดอยู่ทางด้านโครงสร้างประชาคมของสัตว์น้ำในระบบนิเวศที่มีการดัดแปลงโดยมนุษย์ดังเช่นแนวก าแพงป้องกันตลิ่งในการศึกษาครั้งนี้

Study on community structure of aquatic fauna in adjacent area of concrete poles for wave protection along shallow coastal area of Pattani province was carried out during December 2009 to November 2010. Fauna was collected monthly by trammel net to investigate effects of season and depth on abundance, species richness and community structure. Sixty four species of fish collected in the area with highly significant difference for both abundance and species richness by month (p<0.005). The most dominant species were Opisthopterus tardoore, Dendrophysa russelii and Thryssa kammalensis. Six species of shrimp and one species of mantis shrimp were collected with highly significant differences for both abundance and species richness by month (p<0.005).The most dominant species were Metapenaeus affinis, Metapenaeus brevicornis and Penaeus merguiensis. Altogether,12 species of crab were recorded. Only monthly factor significantly affected abundance and species richness of crab (p<0.005). The most dominant species were Coenobito sp., Lyphira perplexa and Mututa victor. Depths had no impact on abundance and species richness of these three groups of aquatic fauna (p>0.05) in this study. Cluster analysis clearly separated community structure of aquatic fauna based on month, as supported by Analysis of similarity (ANOSIM). Based on ecological attribute analysis, the Shannon-Wieners diversity index, evenness index and dominant index of fish were 3.09, 0.74 and 0.26, respectively. Shannon-Wieners diversity index, evenness index and dominant index of shrimp and mantis shrimp were 1.28, 0.66 and 0.34, respectively. Shannon-Wieners diversity index, evenness index and dominant index of crab were 0.26, 0.10 and 0.26, respectively. Shannon-Wieners diversity index, evenness index and dominant index of mollusk were 0.49, 0.27 and 0.73, respectively. Based on relationship between water parameters and aquatic fauna, the Canonical Correspondence Analysis (CCA) separated two main groups of fish, four main groups of shrimp and mantis shrimp and two main groups of crab. And based on relationship between zooplankton and aquatic fauna, the Canonical Correspondence Analysis (CCA) separated two main groups of fish and shrimp. Result from this study is crucial as it will serve as fundamental information for managers to plan any coastal management in the future and to fulfill the lack of scientific information on community structure of aquatic fauna in this human-modified aquatic ecosystem.
     ผู้ทำ/Author
Nameนญาดา ขวัญทอง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix(1)
Appendix(2)
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
--การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
     Contributor:
Name: ซุกรี หะยีสาแม
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2556
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1291
     Counter Mobile: 86