ชื่อเรื่อง/Title วัฒนธรรมวิจัยของครูในจังหวัดปัตตานี / Research Culture of Teachers in Pattani Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมวิจัยของครูใน ด้านสภาพการวิจัย ด้านความเชื่อ เจตคติ ค่านิยมการวิจัยและด้านปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัย 2) เพื่อเปรียบเทียบวัฒนธรรมวิจัยในด้านความเชื่อเจตคติและค่านิยมการวิจัย ที่มี เพศ อายุ ประสบการณ์ในการสอน วุฒิการศึกษา หน่วยงานต้นสังกัดตำแหน่งและวิทยฐานะที่แตกต่างกัน 3) เพื่อเปรียบเทียบวัฒนธรรมวิจัยด้านปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัยที่มีต้นสังกัดแตกต่างกัน 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับวัฒนธรรมวิจัยของครูในด้านสภาพการวิจัย 5) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยของครูในจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในจังหวัดปัตตานี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 5 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 เกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของครู ตอนที่ 2 แบบสอบถามด้านสภาพการวิจัย ตอนที่ 3 แบบสอบถามด้านความเชื่อเจตคติและค่านิยมด้านการทำวิจัย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.936 ตอนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.978 ตอนที่ 5 ข้อเสนอแนะในการพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยของครู ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmatic Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าที (t - test) ค่าเอฟ (F -test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ไคสแควร์ (Chi-Square Test:2)ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูส่วนใหญ่เคยทำและกำลังทำวิจัยแต่ผลงานวิจัยยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ครูทำวิจัยจำนวน 1-2 เรื่อง เพื่อรองรับการประเมิน พัฒนาการจัดการเรียนการสอน และเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ ตามลำดับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อ เจตคติ และค่านิยมการวิจัยของครูอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่เอื้อต่อการท าวิจัยอยู่ในระดับปานกลาง 2) ครูที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์ ต้นสังกัด และตำแหน่งแตกต่างกัน มีวัฒนธรรมวิจัยในด้านความเชื่อ เจตคติและค่านิยมการวิจัยไม่แตกต่างกัน แต่ครูที่มีวุฒิและ วิทยฐานะแตกต่างกัน มีวัฒนธรรมวิจัยในด้านความเชื่อ เจตคติและค่านิยมการวิจัยแตกต่างกัน 3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัยของครูที่มีต้นสังกัดแตกต่างกัน ส่วนใหญ่แตกต่างกัน ยกเว้น เรื่องแหล่งค้นคว้าข้อมูลและทรัพยากรเพื่อการวิจัยไม่แตกต่างกัน ส่วนนโยบายและการบริหารงานวิจัยของต้นสังกัด นโยบายและการบริหารงานวิจัยของโรงเรียน ความรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัย งบประมาณด้านการวิจัย เวลาสำหรับการวิจัย ผลตอบแทน ที่ได้รับจากการวิจัยและโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการทำวิจัยของครู คุณภาพการวิจัยของครู การเผยแพร่งานวิจัยของครูและแผนการทำวิจัยของครูในช่วง 1-5 ปีข้างหน้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 และ 5) ผู้บริหารทุกระดับควรให้การสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

The purposes of this research were 1) to examine the research culture of teachers in Pattani province on beliefs, attitudes, values and support factors toward research conduct, 2) to compare teachers tresearch culture on beliefs, attitudes, and value issues in different sex, age, teaching experience, qualification, organization, position, and academic status. 3) to compare research culture on support factors of the different organizations. 4) to examine the relationship between individual factors and research culture on the current status. 5) to study the suggestions to Pattani teachers? research culture development. The samples were 400 teachers in pattani. The research instrument was a questionnaire consisted of five parts including Part 1: personal factors of teacher,Part 2: conditions of teacher research,Part 3: beliefs, attitudes and value toward research of which the realiability was 0.936,Part 4 about the support factors for research of which the realiability was 0.978 and Part 5: suggestion for research culture development .The data was analyzed using frequencies, percentage, means, standard deviation, t-test, F-test and Chi-Square Test. The findings were as follows: 1) most teachers did research but their research quality was low. In the past ten years, teachers did 1-2 researches for school evaluation, teaching improvement and academic promotion respectively. Pattani teachers had very high level of positive attitudes toward research and support factors were found at a medium level. 2) Teachers in different sex, age, teaching experience, organization and position had the same beliefs, attitudes, and values toward research. 3) support factors toward the different organization was significantlyfound different at .05 level, except in the sources for research requirement. The research policy and research administration knowledge and research experience, research budget, time, reward from research were significantly differences at .05 level. 4) Individual factors were found related to the research format, research quality, research distribution, and research plans in the next 5 years were significantly differences at .01 and .05 and 5) all administrators should provide a concrete support for teachers in doing research continually.
     ผู้ทำ/Author
Nameปวีณ์กร คลังข้อง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
     Contributor:
Name: เรชา ชูสุวรรณ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2556
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3835
     Counter Mobile: 39