|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
ผลการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 / Effects of Using Augmented Reality for Developing Learning Achievement on Arabic Consonant Pronunciation of Grade 3 |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของกลุ่มควบคุม กับ กลุ่มทดลอง เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับ 3) เพื่อศึกษาคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของกลุ่มทดลองโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องการอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 60 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาบทเรียนเทคโนโลยีเสมือนจริงในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านเนื้อหา เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับ อยู่ในระตับมากที่สุด (2) ต้านสื่อการเรียนการสอน คือ เทคโนโลยีเสมือนจริง อยู่ในระดับมาก (3) ด้านแผนการจัดกเรียนรู้ เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียน เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับ กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การวิเคราะห์ข้อมูลคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของกลุ่มทดลอง พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ ระดับ .01 และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์เพิ่มขึ้น 70 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในระดับสูง 4) การวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรูปแบบการเรียนเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่อง การอ่านออกเสียง พยัญชนะภาษาอาหรับของนักเรียนขั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
The purpose of this research were to 1) to develop a Augmented Reality lesson on effective reading of Arabic consonants 2) to compare post-learning achievement of the controlled group and the experimental group on reading Arabic consonants 3) To study the relative growth score of the experimental group by using Augmented Reality on reading of the Arabic consonants of grade 3 Students 4) To study the students' satisfaction with the Augmented Reality on the pronunciation of the Arabic consonants Of the 60 Grade 3 students. The results of the research revealed that 1) the steps to develop the model of the augmented reality lesson in the development of the learning achievement in reading out the Arabic consonants consisting of 3 aspects. (1) The result of the content quality assessment was at the highest level. (2) The result of the quality of teaching and learning augmented reality assessment was at the high level. (3) Assessing the quality of the learning management plan on Arabic consonants was at the highest level. 2) The comparison of post-learning achievement of the students toward reading out the Arabic consonants of grade 3 students between the experimental group and the controlled group found that the achievement after the study of students in the experimental group was significantly higher than the control group at the level of .01 3) The data analysis of the relative development score of the experimental group was found that the achievement on Arabic consonants Pronunciation, After studying is higher than before studying by statistically significant at the level of .01 and the relative development score increased by 70 percent which was at a high level. 4) The analysis of learners' satisfaction toward the augmented reality on reading of Arabic consonants of grade 3 students was at the highest level of satisfaction.<br />
|
|
ผู้ทำ/Author |
Name | รุสดี แวนาแซ | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
อิสลามศึกษา
--การจัดการศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
วิชัย นภาพงศ์ |
Roles: |
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2563 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
436 |
|
Counter Mobile: |
16 |
|