ชื่อเรื่อง/Title การสังเคราะห์กลยุทธ์การสอนของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหลักสูตรบูรณาการในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และแนวทางการนำไปใช้สำหรับบริบทโรงเรียนชายแดนภาคใต้
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กลยุทธ์การสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาความสัมพันธ์และวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และ 3) สังเคราะห์กลยุทธ์และพัฒนาแนวทางการนำไปใช้ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในบริบทสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ การศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงสำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การใช้สถิติบรรยาย และการถดถอยพหุคูณ กลุ่มเป้าหมายหลักคือครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาหลักสูตรบูรณาการ ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย และกลุ่มเป้าหมายรองคือผู้บริหารโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยผลการวิจัยมีดังนี้<br /> 1) ครูผู้สอนมีความคิดเห็นว่าการศึกษาในศตวรรษที่ 21 คือ การศึกษาที่สร้างผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถปรับตัวและยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ผู้เรียนมีทักษะการสื่อสารที่ดี และครูสามารถบูรณาการศาสนาในรายวิชา ผู้เรียนรู้เท่าทันสารสนเทศและสื่อเทคโนโลยีการสื่อสาร และสามารถเป็นพลเมืองโลก และครูผู้สอนควรมีคุณลักษณะสำคัญ 9 ด้าน ได้แก่ ครูคือโค้ช ผู้สอนประสบการณ์และทักษะชีวิตแก่ผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างของผู้เรียน สามารถบูรณาการศาสตร์ในการเรียนการสอน ผู้ที่ศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพ รู้ทันเทคโนโลยี มีเทคนิคการสอนที่ทันสมัย และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ในส่วนกลยุทธ์การสอนวิเคราะห์จากกรอบกลยุทธ์ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 2) การเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนการสอน 3) การวิเคราะห์ประเด็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอน 4) การออกแบบการวัดผลและประเมินผลแนวใหม่ 5) ระบบการนำผลการประเมินสู่การการปรับปรุงและพัฒนา และ 6) ระบบประกันคุณภาพการสอน<br /><br /> 2) ตัวแปรที่สามารถทำนายกลยุทธ์การสอนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ตัวแปรแนวทางของการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตัวแปรการพัฒนาวิชาชีพของครูผู้สอน ตัวแปรปัจจัยด้านผู้ปกครอง และตัวแปรด้านนโยบายแห่งรัฐ และตัวแปรที่สามารถทำนายทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ตัวแปรการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนการสอน ตัวแปรการประกันคุณภาพการสอน และตัวแปรการปรับปรุงการเรียนการสอน<br /> 3) กลยุทธ์จากการสังเคราะห์เพื่อใช้ในบริบทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ได้แก่ 1) กลยุทธ์หลักสูตรสามัญบูรณาการอิสลาม (บูรณาการสาระการเรียนรู้/บูรณาการโครงสร้างรายวิชา) 2) กลยุทธ์การสอนแนวใหม่ สำหรับรายวิชาบูรณาการอิสลาม 3) กลยุทธ์การวัดและประเมินการจัดการเรียนรู้บูรณาการอิสลาม 4) กลยุทธ์การนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและบริหารจัดการโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 5) กลยุทธ์ระบบพัฒนาครูโรงเรียนบูรณาการโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน และ 6) กลยุทธ์หุ้นส่วนทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหลักสูตรบูรณาการ ในส่วนแนวทางการนำไปใช้เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนโดยใช้กลยุทธ์การสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีชื่อว่ากระบวนการ ?อัพเลิร์น (UPLERN)? ซึ่งประกอบด้วย 6 กระบวนการ คือ 1) การทำความเข้าใจอย่างลึกซึ่ง (Understanding) 2) การจัดลำดับความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง (Prioritizing) 3) การเรียนรู้ (Learning) 4) การนำกลยุทธ์ไปใช้และประเมิน (Employing and Evaluation) 5) การให้ผลสะท้อนกลับและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Reflecting and Revising) และ 6) การสร้างเครือข่าย (Networking)

This study aims to 1) analyze pedagogical strategies in developing learners of the 21st century, 2) examine relationships and analyze factors related to the implementations of such strategies, and 3) synthesize strategies and develop implementational guidelines for Islamic private schools in the southern border provinces. Through multimethodology, the data were collected using an in-depth interview, a focus group discussion, a non-participant observation, and survey research. Subsequently, content analysis, descriptive statistics, and multiple regression were employed to process the data. The primary target group comprises teachers from private religious schools in charge of integrated curriculums in Malaysia, Indonesia, Singapore, and Thailand whereas the secondary one comprises school administrators, learners, and parents. The findings revealed the following insights:<br /> 1. The teachers perceive that 21st-century education is about nurturing lifelong learners so that they can flexibly adapt themselves to situations. Learners should possess practical communication skills, religious knowledge should be integrated into courses, learners should have adequate information literacy and communication technology media literacy, and learners should have the quality to become global citizens. Furthermore, teachers should be equipped with these nine desirable capacities: being coaches, introducing experiences and life skills to learners, understanding the differences among learners, being able to integrate science into teaching, being lifelong learners, being specialized in the fields, being technology literate, having modern pedagogical techniques, and being a team player. Additionally, the pedagogical strategies were analyzed from six strategic frameworks, including 1) curriculum and learning management, 2) pre-instructional preparation, 3) pedagogical-barrier analysis, 4) new measurement and evaluation designs, 5) developmental systems that utilize evaluation results, and 6) teaching quality assurance system.<br /> 2. The variables with pedagogical-strategy predictability at 0.05 statistical significance were guidelines for 21st-century educational management, teacher professional development, parents, and public policies. The variables with 21st-century-skill predictability at 0.05 statistical significance were pre-instructional preparation, teaching quality assurance, and pedagogical development.<br /> 3. The synthesized strategies for the contexts of Islamic private schools were 1) Islamic integrated general education (learning-strand/course-structure integrations), 2) new pedagogies for Islamic integrated courses, 3) measurement and evaluation for Islamic integrated learning management, 4) pedagogical utilization of educational technology in teaching and school management, 5) class-based integrated teacher development systems, and 6) educational partnership to enhance the quality of Islamic private schools providing integrated curriculums. On the implementational scale, driving pedagogical transformations and developing learners of the 21st century, a scheme known as ?UPLEARN? was proposed. The scheme contains six processes: 1) understanding, 2) prioritizing, 3) learning, 4) employing and evaluation, 5) reflecting and revising, and 6) networking
     ผู้ทำ/Author
Nameมูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Nameยุโสบ บุญสุข
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Nameนัชชิมา บาเกาะ
Organization มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Nameอิบรอฮีม ลามีน ซาโน
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contens
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
Chapter6
Chapter7
References
Appendix
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านกฎหมาย
ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
Roles: ผู้สนับสนุนงานวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2563
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 778
     Counter Mobile: 47