ชื่อเรื่อง/Title ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการอ้างอิงฮะดีษเมาฎูอฺในกรณีความเชื่อและการปฏิบัติอิบาดะฮ์ของสังคมมุสลิมใน 5 จังหวัดฝั่งอันดามัน / An Analytical Study of the Impact of al-HadIth al-Mawdu? on the Faith and ?Ibadah Performance of Muslim Society in the 5 Provinces of the Andaman Sea
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักความเชื่อและการปฏิบัติอิบาดะฮ์ตามหลักการอิสลาม ศึกษาวิเคราะห์ทัศนะบรรดาอุละมาอ์เกี่ยวกับฮะดีษเมาฎูอฺ และศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบการอ้างอิงฮะดีษเมาฎูอฺต่อกรณีความเชื่อและการปฏิบัติอิบาดะฮ์ของสังคมมุสลิมใน 5 จังหวัดฝั่งอันดามันและแนวทางแก้ไข เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการอุลูมุลฮะดีษ หลักการอุศูลุลฟิกฮ์ และหลักการตัรญีฮ์ ผลการศึกษาพบว่า<br /> 1. หลักความเชื่อ และการปฏิบัติอิบาดะฮ์ตามหลักการอิสลามเป็นประเด็นสำคัญที่สุดทางศาสนาซึ่งจำเป็นต้องอ้างอิงหลักฐานมาจาก 2 แหล่งสำคัญ คือ อัลกุรอานและอัสสุนนะฮ์ที่สอดคล้องกับความเข้าใจและการปฏิบัติของบรรดาเศาะฮาบะฮ์ รวมถึงมติเอกฉันท์ของอุละมาอ์ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ มิฉะนั้นแล้วย่อมสุ่มเสี่ยงต่อการเบี่ยงเบนสู่การเป็นชิริก หรือบิดอะฮ์ หรือกุฟร์ หรือ คุรอฟาตได้<br /> 2. ฮะดีษเมาฎูอฺ หมายถึง ฮะดีษประเภทหนึ่งที่ถูกแอบอ้างหรือเข้าใจกันว่าเป็นคำพูด หรือเรื่องราวที่พาดพิงถึงท่านนบีมุฮัมมัด แต่ได้รับการพิสูจน์ตามหลักวิชาการฮะดีษด้วยกระบวนการตัครีจญ์และตะฮ์กีกอย่างชัดเจนว่าจริงแล้วเป็นเพียงคำพูดจากบุคคลอื่นซึ่งถูกอุปโลกน์ขึ้นโดยจงใจเพื่อเป้าหมายบางประการหรือถูกถ่ายทอดต่อกันมาโดยความเข้าใจผิด ทั้งนี้ลักษณะความเป็นฮะดีษเมาฎูอ์อาจเกิดขึ้นเฉพาะในส่วนตัวบท (มะตัน) หรือสายรายงาน (สะนัด) ของฮะดีษนั้นๆ ก็ได้ ด้วยเหตุผลทั้งปวงฮะดีษประเภทนี้จึงไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานทางศาสนาในกรณีใดๆได้ อีกทั้งไม่นับเป็นฮะดีษที่ถูกต้องในความหมายที่แท้จริง และถือเป็นฮะดีษเฎาะอีฟในระดับที่เลวที่สุด <br /> 3. จากการศึกษากรณีความเชื่อ และการปฏิบัติอิบาดะฮ์ต่างๆ ของสังคมมุสลิมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายฝั่งอันดามันพบว่ามีการอ้างอิงหลักฐานที่ไม่ถูกต้องซึ่งเป็นฮะดีษในระดับฮะดีษเมาฎูอฺ และระดับอื่นที่ใกล้เคียง เช่น ฮะดีษเฏาะอีฟญิดดัน จำนวนทั้งหมด 42 ฮะดีษ โดยมีผลกระทบที่ก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนต่างๆในทางศาสนาเป็นความผิดในหลายระดับมีทั้งเป็นชิริก กุฟร์ บิดอะฮ์ และคุรอฟาต สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการอ้างอิงฮะดีษเมาฎูอฺนั้น พบ 8 แนวทาง คือ 1) รณรงค์ให้สังคมมุสลิมตระหนักถึงความสำคัญของสุนนะฮ์ของท่านนบีมุฮัมมัด 2) อธิบายให้สังคมมุสลิมตระหนักถึงการทุ่มเทของบรรดาอุละมาอ์ในอดีตต่อการปกป้องฮะดีษหรือสุนนะฮ์ของท่านนบีมุฮัมมัด 3) สนับสนุนให้สังคมมุสลิมเรียนรู้วิชาการเกี่ยวกับฮะดีษในระดับที่สูงและลึกซึ้งยิ่งขึ้น 4) จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อเป็นเวทีให้มีการเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับอันตรายของฮะดีษเมาฎูอฺ หรือฮะดีษปลอมระหว่างผู้รู้หรือนักวิชาการมุสลิมฝ่ายต่างๆ 5) แนะนำให้สังคมมุสลิมรู้จักและเข้าถึงบรรดาตำราหลักด้านวิชาการฮะดีษ 6) ให้ความรู้ความเข้าใจแก่สังคมมุสลิมเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบประเภทของฮะดีษผ่านสื่อต่างๆ 7) จัดทำหนังสือ ตำรา สารานุกรม หรือเว็ปไซต์เกี่ยวกับอันตรายของฮะดีษเมาฎูอ์ หรือหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง และ 8) เสนอให้องค์กรด้านศาสนาในระดับต่างๆของสังคมมุสลิมมีนโยบายที่เข้มงวดต่อการเฝ้าสังเกตและป้องกันการแพร่หลายของความเชื่อและรูปแบบการปฏิบัติอิบาดะฮ์ต่างๆ ที่ขัดต่อหลักการศาสนา<br />

This research aims to study belief principles and religious worships according to Islam. It is to examine opinions of Islamic scholars regarding ?ad?th Maw?u? and analyze impacts of citing ?ad?th Maw??? on the Faith and ?Ib?dah Performance of Muslim Society in the five provinces of the Andaman Sea. It also gives some recommendation for the solution. This study is a qualitative research, collecting data by survey and interview. It analyzes data by resorting to principle of sciences of had?th , Islamic Jurisprudence, and Tarjih. Its findings are as follows.<br /> 1. Belief Principles and Worship according to Islam is the most important issue, which must be derived from two important sources : namely al-Quran and al-Sunnah under which they are understood in line with the interpretation of the Prophet?s companions and scholars of Ahl al-Sunnah. Otherwise, it is risky for deviation towards Shirk, Bid?ah, Kufr, and Khurafat.<br /> 2. ?ad?th Maw??? is a had?th that is falsely claimed or understood as a word or a story related to Prophet Mohammad , but it is clearly proved from Takrij and Tahqiq process that they are a word from other people, which is invented intentionally for a certain purpose or is narrated from misunderstanding. Thus, ?ad?th Mawdu? is occurred to only the text (matan) as well as narration (sanad) of the had?th . For these reasons, this had?th is not allowed to be cited as a religious sources in any matter. It is also not a valid had?th in a true sense but rather the worst one of all defected hadith. <br /> 3. From a study on the Faith and ?Ib?dah Performance of the Muslim Societies in the five provinces of Andaman, it is found that there is a citation of 42 had?th Maw??? and had?th da?if jiddan, It has an impact and is wrong in many layers, which can be classified as Shirk, Kufr, Bid?ah, and Khurafat. In order to deal with a citation of ?ad?th Maw?u? on the Faith and ?Ib?dah Performance, it proposes 8 solutions as follows; 1) to campaign in the Muslim Societies in order to make an awareness of the importance of Sunnah of the Prophet , 2) to explain to the Muslim Societies about the endeavor of the past Islamic scholars, who strived to defend ?ad?th or Sunnah of the Prophet , 3) to support learning about high and deep levels of ?ad?th , 4) to organize projects and provide academic seminars among Muslim Scholars on a danger of ?ad?th Maw???or Fabricated ?ad?th, 5) to create an awareness and provide an access to main textbooks on hadith, 6) to teach about evaluative methods of had?th through different channels, 7) to provide textbooks, encyclopedia, and websites about the danger of ?ad?th Maw??? or invalid sources and, 8) to propose to Islamic organizations to have an assertive policy for monitoring and preventing diffusion of the belief and religious practices that are contradicted with Islamic Principles.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameนัศรุลลอฮ์ หมัดตะพงศ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contens
Symbols
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: อับดุลเลาะ การีนา
Roles:
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2561
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 317
     Counter Mobile: 18