ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของตำรวจที่ปฏิบัติงาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ / Factors Affecting Health Promoting Behaviors of Police Working in the Three Southernmost Provinces
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของตำรวจ 2) วิเคราะห์ความสมนัยของตัวแปรเพศ อายุ ศาสนา ภูมิลำเนา ดัชนีมวลกาย ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส สายการปฏิบัติงาน จำนวนปีที่รับราชการกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของตำรวจ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของตำรวจ ที่ปฏิบัติงานระดับอำเภอในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยตำรวจ จำนวน 338 นาย ได้จากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G* power เลือกตัวอย่างโดยการใช้วิธีการสุ่มหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความสมนัย (Correspondence analysis : CA) สถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ โดยใช้วิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple regression analysis) <br /> ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของตำรวจที่ปฏิบัติงานในระดับอำเภอ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.99, S.D. = 0.49) ระดับการศึกษามีความสมนัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับพฤติกรรมสร้างการเสริมสุขภาพด้านออกกำลังกาย (?2= 21.793, P-value = 0.005) ด้านโภชนาการ (?2 = 22.838, P-value = 0.004) ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (?2= 19.136, P-value = 0.014) และด้านพัฒนาจิตวิญญาณ (?2 = 18.850, P-value = 0.016) และสถานภาพสมรสมีความสมนัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (?2 = 24.035, P-value = 0.020) และด้านการออกกำลังกาย (?2 = 23.918, P-value = 0.021) และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถแห่งตน (? = 0.601, P-value <0.001) อิทธิพลด้านสถานการณ์ความไม่สงบ (? = 0.227, P-value <0.001) เจตคติต่อการสร้างเสริมสุขภาพ (? = -0.129, P-value = 0.003) และความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ (? = -0.114, P-value = 0.005) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรทั้ง 4 สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของตำรวจได้ร้อยละ 49.1 (Adjusted R2 =0.491) ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ 0.188 <br /> <br /> <br /> ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บังคับบัญชาตำรวจเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนและดำเนินการการสร้างเสริมสุขภาพหรือจัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตำรวจให้เหมาะสมตามระดับการศึกษาและสถานภาพสมรส และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการรับรู้ความสามารถแห่งตนให้แก่ตำรวจที่ปฏิบัติงาน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้<br />

The cross-sectional analytical study aimed to 1) explore health promoting behaviors of police 2) analyze correspondence between sex, age, religion, place of birth, body mass index, educational level, marital status, working lines, years of working and health promoting behaviors of police, and 3) investigate factors affecting health promoting behaviors of police working in the three southernmost provinces. The sample sizes were consisted of 338 police calculated by using program G * power and using multistage random sampling in recruitment of the subjects. The questionnaire about health promoting behaviors was developed and used as the research instrument. Data were analyzed using descriptive statistics: percentages, means and standard deviations and inferential statistics: correspondence analysis and stepwise multiple regression analysis. <br /> The results showed that health promoting behavior of the police working in the study areas was at a high level (x? = 3.99, S.D. = 0.49). Educational level was statistically significant association with health promoting behavior regarding exercises (?2 = 21.793, P-value = 0.005), nutrition (?2 = 22.838, P-value = 0.004), interpersonal relationship (?2 = 19.136, P-value = 0.014), and spiritual development (?2= 18.850, P-value = 0.016). In addition, marital status was statistically significant association with health promoting behaviors concerning health responsibilities (?2= 24.035, P-value = 0.020) and exercises (?2= 23.918, P-value = 0.021). For factors affecting health promoting behaviors, perceived self-efficacy (? = 0.601, P-value <0.001), influence of unrest situations (? = 0.227, P-value <0.001), attitude toward health promotion (? = -0.129, P-value = 0.003) and knowledge about health promotion (? = -0.114, P-value = 0.005) were statistically significant effects to health promoting behaviors of the police. All four variables could predict health promoting behaviors of the police by 49.1 percent (Adjusted R2 = 0.491) with the standard error of the prediction of 0.188.<br /> <br /> <br /> The results can be useful as basic information for the police?s commanders in planning and implementing health promotion programs as fitting to educational level and marital status. Moreover, it can be used for planning in setting up a program for developing competence of the police working in the three southernmost provinces regarding perceived self-efficacy.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameอัสณีย์ มะนอ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Symbols
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านสุขภาพอนามัย
--อาหารและการบริโภค
--สุขอนามัยชุมชน
--หน่วยงานบริการสาธารณสุข
     Contributor:
Name: ฐปนรรฆ์ ประทีปเกาะ
Roles: อาจารย์ที่ปรึกษา
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2560
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1144
     Counter Mobile: 25