ชื่อเรื่อง/Title ผลของการสอนตามแนวคิดวิธีธรรมชาติต่อความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับเตรียมความพร้อม / Effects of instruction based on the natural approach on english proficiency of preparatory level learners
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถทางภาษาอังกฤษ พัฒนาการในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเเละเจตคติของนักเรียนที่เรียนตามเเนวคิดวิธีธรรมชาติ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2554 โรงเรียนปุลากง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จำนวน 26 คน ได้จากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างเเบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ เเผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษตามเเนวคิดวิธีธรรมชาติ เเบบทดสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษเเละเเบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้เเก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เเละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) คะเเนนความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เรียนตามเเนวคิดวิธีธรรมชาติอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 5.307 คิดเป็นร้อยละ 53.07 เเละมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.18 2) นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.84 มีพัฒนาการในการเรียนรู้ภาษาอยู่ในขั้นปลายของช่วงที่ 2 (ขั้นพูดช่วงเริ่มต้น) รองลงมา นักเรียนร้อยละ 26.92 มีพัฒนาการในการเรียนรู้ภาษาอยู่ในขั้นของช่วงที่ 3 (ขั้นพัฒนาความสามารถด้านการพูด) เเละนักเรียนร้อยละ 7.69 มีพัฒนาการในการเรียนรู้ภาษาอยู่ในขั้นปลายของช่วงเเรก (ขั้นการพูด) 3) เจตคติที่มีต่อการเรียนถาษาอังกฤษของนักเรียนพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก

The purpose of this research were to study English proficiency, English language development, and attitudes of the students learning through the Natural Approach. The samples in this study were 26 students of Primary Grade 1 from Pulakong School, Yaring District, Pattani Province, who studies in the first semester of academic year 2011, selected by purosive sampling. The instruments used in this study were the Nature Approach lesson plans, English proficiency tests, and an attitude test. Statistics used for data analysis were percentage, arithmetic mean, and standard deviation. The research research revealed that 1) The score of English proficiency of the students leaning through the Natural Approach was at a moderate level with an arithmetic mean of 5.307, at an average score of 53.07 percent, and at a standard deviation of 1.18, 2) Language development of most students about 53.84 percent were at the end of the second stages (Early Production). The second, students about 26.92 percent were at the beginning of the second stages (Early Production). There were only 11.53 percent were at the beginning of the final stages (Extending Production). And there were 7.69 percent at the end of the early stages (Prespeech), and 3) The attitude toward English learning of students taught through the Natural Approach as a whole was at the high level.
     ผู้ทำ/Author
Nameนุรอานี โตะโยะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--ปัญหาทางการศึกษา
     Contributor:
Name: ธีรพงศ์ แก่นอินทร์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2555
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 968
     Counter Mobile: 53