ชื่อเรื่อง/Title ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม / Effects of inquiry-based learning on science achievement, science process skills and attitude towards science of student in multicultural society
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน17 คน ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2553 โรงเรียนวัดโคกหญ้าคา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึงทดลอง (quasi experimental research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ในสังคมพหุวัฒนธรรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินพฤติกรรมด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ และแบบบันทึกภาคสนามของผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบบันทึกภาคสนามมาประมวลผลและเรียบเรียงในรูปความเรียง<br /><br /><br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /><br /><br /> 1. กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สามารถนำไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรียนวัดโคกหญ้าคา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 2 นักเรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ นักเรียนมีความกระตือรือร้น ให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในกิจกรรม กล้าแสดงออก มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันและยอมรับความแตกต่างของเพื่อนร่วมชั้นเรียน<br /><br /><br /> 2. ผลสัมฤทธิ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรียนวัดโคกหญ้าคา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01<br /><br /><br /> 3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4โรงเรียนวัดโคกหญ้าคา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01<br /><br /><br /> 4. เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรียนวัดโคกหญ้าคา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนให้เข้าใจวัฒนธรรมของตนเอง พร้อมทั้งยอมรับและเข้าใจวัฒนธรรมของผู้อืน และสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และสามารถพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในสังคมพหุวัฒนธรรม

This research aimed to study the effects of inquiry-based learning on science achievement, science process skills and attitude towards science of students in multicultural society. The samples were 17 students in Prathomsuksa 4 in the second semester of the academic year 2010 of Wadkokyaka Schools, Pattani Education Primary Service Area Office 2. They were selected using purposive sampling. This research was Quasi experimental research. The research instruments were lesson plans for inquiry learning in the multicultural society, a science achievement test, a science process skill test, an assessment of behavioral science process skills, attitude towards science questionnaire, observation of student behavior form, interviewing students about learning form and field note. The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test. The data collected through the interview and observation were also discussed.<br /><br /> The findings were as follows<br /><br /> 1. The process of inquiry-based learning that can be used with student Pratomsuksa 4 at Wadkokyaka School, Pattani Education Primary Service Area Office 2. The students to could learn by the process of inquiry-based learning. The students were enthusiastic. The interest in learning help each other and accept the differences of classmates.<br /><br /> 2. The science achievement of the students after inquiry based learning was higher than that before learning at the significant level of .01<br /><br /> 3. The science process skills of the students after inquiry based learning was higher than that before learning at the significant level of .01<br /><br /> 4. The attitude toward science of students after inquiry based learning was higher than that before learning at the significant level of .01
     ผู้ทำ/Author
Nameรอฮานิง เจ๊ะดอเล๊าะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
     Contributor:
Name: ณัฐวิทย์ พจนตันติ
Roles: เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2555
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 3804
     Counter Mobile: 32