ชื่อเรื่อง/Title บทบาทด้านเศรษฐกิจของนบีมุฮัมมัด / The economic roles of the Prophet Muhammad (PBUH)
     บทคัดย่อ/Abstract งานวิจัยเอกสารเชิงประวัติเศรษฐกิจเรื่อง บทบาทด้านเศรษฐกิจของนบีมูฮัมมัด (ศ็อล) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทด้านเศรษฐกิจของนบีมูฮัมมัด (ศ็อล) โดยอาศัย (1) การรวบรวมข้อมูลจากอัลกุรอาน อัลหะดีษ และเอกสารที่เกี่ยวข้องในขั้นปฐมภูมิ ขั้นทุติยภูมิและขั้นตติยภูมิ (2) ตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูล (3) ตีความหลักฐานอย่างมีระเบียบ (4) สังเคราะห์ประวัติศาสตร์ (5) จัดเเบ่งข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่ หัวข้อใหญ่ และหัวข้อย่อย<br /><br /><br /> ผลการวิจัยพบว่า โลกทัศน์ด้านเศรษฐกิจของนบีมูฮัมมัด (ศ็อล) วางอยู่บน (1)การศรัทธาต่ออัลลอฮ์ (2)ความเป็นธรรมระหว่างมนุษยชาติ (3)การเป็นตัวเเทนของอัลลอฮ์ในการครอบตรองทรัพยากร (4)การพัฒนาเเละสร้างความเจริญก้าวหน้าบนโลก โดยนบีมูลฮัมมัด (ศ็อล) ได้จำเเนกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลออกจากกรรมสิทธิ์ส่วนรวม เช่นเดียวกับแยกการบริโถคที่จำเป็นออกจากการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย เพื่อทรัพยากรจะไม่หมุนเวียนท่ามกลางคนร่ำรวย<br /><br /><br /> นบีมูลฮัมมัด (ศ็อล) เคยหาเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์ ค้าขาย และจ่ายค่าจ้างเเก่ผู้รับจ้างก่อนก่อตั้งตลาดอิสลามและการใช้เงินดีนาร์และเงินดิรฮัมเป็นสื่อกลางทางการตลาด ตลอดจนการใช้มุด ศออฺ ฟะร็อก และวัซกฺ เป็นมาตรฐานในการตวงและการชั่ง เช่นเดียวกันนบีมูลฮัมมัด (ศ็อล) เคยร่วมกับคู่หุ้นส่วนของท่าน และพระนางเคาะดีญะอฺในการลงทุนแบบมุฎอเราะบะฮฺ ตลอดจนเคยร่วมกับประชาชนในการลงทุนแบบมุซาเราะอะฮฺ ก่อนเเต่งตั้งคณะบุคคลรับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจ<br /><br /><br /> นบีมูลฮัมมัด (ศ็อล) สร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยการจัดสวัสดิการสังคมและกระจายรายได้ เช่นเดียวกับก่อตั้งบัยตุลมาลเพื่อบริหารจัดการซะกาตฺเเละอื่นๆ และใช้ธุรกรรมทางการเงินที่ปราศจากดอกเบี้ย ห่างไกลจากความคลุมเครือ ความเสี่ยง เเละการเอารัดเอาเปรียบก่อนส่งเสริมธุรกิจการค่้าระหว่างประเทศ สิ่งเหล่านี้สามารถเเก้ไขและขจัดปัญหาเศรษฐกิจได้ และเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการสถาปนารัฐอิสลาม(มะดีนะฮฺ)

A documentary research for Economic histrorical on the role of the Prophet Muhammad in the economy is a study on the role of the Prophet Muhammad in the economy, (1) Collecting from al-Qur'an, al-Hadith and other miscellaneous documents included primary source, secondary source and tertiary source, (2) achieved (3) interpretive precedence (4) historical analysis (5) divided into several subjects.<br /><br /> The research found that perspective on the economy of the Prophet Muhammad based (1) to believe in Allah (2) fairness between humanity (3) the possession of resources on behalf of Allah (2) fairness between humanity (3) the possession of resources on behalf of Allah (4) development and proparity in the world. He separate personal property from public property. As he separated from the consumption of essential non-essential consumption to resource dose not rotate among the rich people.<br /><br /> He used to work with livestock and trade and pay the contractors before the establishment of the Islamic market and use Dinar and Dirham Intermediary market and use Sa'a, Faraq and Wasq a standard of measure and weigh. As he was a partner with the shareholders to do business and international trade with Khadijah (Mudharabah) and worked with the public investment in agriculture (Muzara'ah) before the appointment of persons responsible for the economy.<br /><br /> He established social security with social welfare and income distribution. As he established Baitul-Mal to manage Zakat and other. His financial transactions without interest, away from the ambiguity of risks and taking advantage before promoting international trade business. All of these can solve several economic problems and the major role of the important motives for composition of the state of the Islamic (Madinah).
     ผู้ทำ/Author
Nameนิพล แสงศรี
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgement
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
Chapter6
References
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--เศรษฐกิจชุมชน
ด้านศาสนา
--ผู้นำทางศาสนา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: ดลมนรรจน์ บากา
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2555
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 7612
     Counter Mobile: 35