ชื่อเรื่อง/Title รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพลังอำนาจครู ในสามจังหวัดชายแดนใต้ / A causal relationship model Influencing teachers? power under the jurisdiction of primary education service area office in Three Southern Border provinces
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับพลังอำนาจครูในสามจังหวัดชายแดนใต้ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพลังอำนาจครู ในสามจังหวัดชายแดนใต้ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการนำปัจจัยที่ส่งผลต่อพลังอำนาจครู ในสามจังหวัดชายแดนใต้ไปใช้ในการปฏิบัติ วิธีการวิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพลังอำนาจ ครู กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังอำนาจครูที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบคัดกรองตัวแปรจากผู้เชี่ยวชาญ โดยการสังเคราะห์สาระจากเอกสาร แนวคิดทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเพิ่มหรือลดตัวแปร ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพลังอำนาจครูในสามจังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลในสามจังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 320 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ระยะที่ 3 การหาแนวทางการนำปัจจัยที่ส่งผลต่อพลังอำนาจครู ในสามจังหวัดชายแดนใต้ไปใช้ในการปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังอำนาจครู ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นเอกสารประกอบการสนทนากลุ่ม โดยผู้วิจัยสรุปข้อคิดเห็นจากการสนทนากลุ่มแล้วส่งกลับให้ผู้ร่วมสนทนากลุ่มยืนยันความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับพลังอำนาจครูในสามจังหวัดชายแดนใต้โดยรวมและรายองค์ประกอบ มีระดับพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพลังอำนาจครู ในสามจังหวัดชายแดนใต้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี (?2/df = 1.66 ; RMSEA= 0.03 ; GFI = 0.95 ; AGFI = 0.93) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพลังอำนาจครูมี 4 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกของครู ปัจจัย ด้านวัฒนธรรมโรงเรียนแบบร่วมมือ และปัจจัยด้านกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ โดยปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อพลังอำนาจครูในสามจังหวัดชายแดนใต้มากที่สุด และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อพลังอำนาจครูในสามจังหวัดชายแดนใต้ในอันดับรองลงมา โดยทั้งสองปัจจัยมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านปัจจัยด้านวัฒนธรรมโรงเรียนแบบร่วมมือ และปัจจัยด้านกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจเช่นเดียวกัน 3. แนวทางการนำปัจจัยที่ส่งผลต่อพลังอำนาจครูในสามจังหวัดชายแดนใต้ไปใช้ในการปฏิบัติมี 2 แนวทาง คือ 1) แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพลังอำนาจครู ในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยการพัฒนาผู้บริหารให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้วยการอบรมพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนทั้งก่อนเข้าสู่ตำแหน่งและขณะดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วม การศึกษาดูงานจากโรงเรียนต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จ และครูปรับพฤติกรรม ให้เข้ากับสภาพ แวดล้อมภายนอกของครูด้วยการปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน ปฏิรูปวิธีสอบ เน้นให้นักเรียนไปศึกษาเองที่บ้าน เพื่อชดเชยเวลาที่เสียไป ครูร่วมกันสร้างเครือข่ายและให้ ความร่วมมือปฏิบัติตนตามมาตรการคุ้มครองความปลอดภัย ศึกษาหลักธรรมของศาสนา แต่ละศาสนา เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง นอกจากนี้มีการสร้างวัฒนธรรมโรงเรียน แบบร่วมมือด้วยการอบรมพัฒนา ครูให้มีการทำงานเป็นทีม จัดกิจกรรมสร้างความสามัคคี ให้เกิดขึ้นในโรงเรียน ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเปิดโอกาสให้ครูพัฒนาตนเอง อย่างสม่ำเสมอ 2) แนวทางการพัฒนากระบวน การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยการสร้างขวัญและกำลังให้กับครู เพื่อ ให้ครูมีสวัสดิการและสวัสดิภาพที่ดี มอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน ให้ความสำคัญกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และการอบรมพัฒนาครูให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอน

This research aims at 1) studying the roles of Sahabiyat in the Madinan Society at the time of the Prophet Muhammad, 2) investigating the level of current Thai Muslim women in the three Southern Border Provinces of Thailand in practicing Sahabiyat?s roles, and 3) synthesizing the suggestions to develop the roles of current Thai Muslim women in the three Southern Border Provinces of Thailand in accordance with the roles of Sahabiyat. Qualitative method which documents, in-depth interview and focus group discussion of 16 experts, and quantitative method which composes of 90 key informants were used in collecting data. The document findings revealed that some Sahabiyat at the time of the Prophet Muhammad played an important role in the society and culture, economy, education and politics. The quantitative study showed that the level of Thai Muslim women in the three Southern Border Provinces in practicing the 4 aspects of Sahabiyat?s roles is in the average. The results of the synthesis of the experts? suggestions to develop the role of Thai Muslim women in the three Southern Border Provinces are summarized as follows: 1) campaigning for disseminating knowledge about Sahabiyat in all aspects throughout all levels of the society, 2) creating an understanding and awareness among Muslim leaders at all levels of the need to promote the role of Thai Muslim women in the three Southern Border Provinces in accordance with the roles of Sahabiyat, 3) producing a new generation of Muslim women leaders who are fully equipped with textual and contextual knowledge and understanding, 4) developing Islamic educational concepts to cover objectives and goals of Islamic education, and 5) providing space for Muslim women?s participation in religious organizations. The study also revealed that educational, religious, judicial institutions and Muslim women organizations which are functioning in the three Southern Border Provinces are vital mechanism to drive up and develop the roles of Thai Muslim women in accordance with the role of Sahabiyat.
     ผู้ทำ/Author
Nameปัญญา ศรีลารักษ์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstract
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
--ปัญหาทางการศึกษา
     Contributor:
Name: เรชา ชูสุวรรณ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2557
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1740
     Counter Mobile: 42