ชื่อเรื่อง/Title บทบาทหญิงชายมุสลิมในการจัดการดูซงบ้านจะรังตาดง ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา / Muslim Gender in Dusong Management in Jarungtadong Village, Tatong Sub-District, Raman District, Yala
     บทคัดย่อ/Abstract งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทชุมชนบ้านจะรังตาดง ตำบล ท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา 2) สภาพบทบาทภายในบ้านของหญิงและชายมุสลิมในบ้านจะรังตาดง และ 3) สภาพบทบาทในดูซงของหญิงและชายมุสลิมในบ้านจะรังตาดง กลุ่มเป้าหมายเป็น ประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจะรังตาดงจำนวน 17 คน ประกอบด้วย ผู้ทำดูซง 9 คน กรรมการ กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำสายบุรีบ้านจะรังตาดง 2 คน ผู้อาวุโส 4 คน และผู้รู้ศาสนาอิสลาม เป็นหญิงและ ชาย 2 คน เครื่องมือที่ใช้คือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มี ส่วนร่วม แล้ววิเคราะห์ข้องมูลเชิงเนื้อหาแบบพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทของบ้านจะรังตาดง เป็นชุมชนเกษตรกรรม พื้นที่เป็นที่ราบ ริมแม่น้ำและพรุ มีระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย เป็นดูซงที่สมบูรณ์ และมีการสืบทอดเป็นมรดกจากบรรพบุรุษและพ่อแม่ ปัจจุบันสวนดูซงมีขนาดเล็กลง และความ หลากหลายทางชีวภาพน้อยลง การจัดการแบบเครือญาติมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการมี เอกสารสิทธิ์ถือครองที่ดินตามกฎหมาย แต่ยังมีการจัดการผลผลิตตามข้อตกลงและการปรึกษาหารือในลักษณะเครือญาติ 2) หญิงมีบทบาทเป็นแม่บ้านและช่วยสามีทำงานนอกบ้าน เนื่องจากภาระค่าใช้จ่ายภายในบ้านเพิ่มขึ้นและต้องการแบ่งเบาภาระของสามี ขณะที่สามีไม่ได้แบ่งเบาภาระงานบ้านของหญิง เพราะทั้งหญิงและชายเชื่อว่า งานภายในบ้าน เป็นหน้าที่ของหญิง 3) ทั้งหญิงและชายมีองค์ความรู้เกี่ยวกับดูซง บทบาทหลักในการทำดูซงขึ้นอยู่ความสามารถ ที่สั่งสมและได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นหญิงหรือชาย 4) การตัดสินใจ เกี่ยวกับการจัดการดูซง ขึ้นอยู่กับความเป็นเจ้าของดูซง และการปรึกษาหารือ 5) การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากดูซง ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างหญิงและชาย

This qualitative research aims to study multiple cropping management system or dusong (Malayu language) at Jarungtadong Village, Tatong sub-District, Raman District, Yala Province. Research objectives are; 1) To know the context of Jarungtadong Village; 2) To study Muslim women and men roles at Jarungtadong village; 3) To reflect Muslim women and men roles in dusong. Seventeen case studies are from 9 local villagers, men and women; 2 people from committee reserve environmental members; 4 people from senior leader; 1 woman and 1 man from Islamic religion academic. Research methodologies are documentary study, in-depth interview, group disscussion, non-participatory observation. The research data analyzed using descriptive content analysis. The result of this research found that 1) Context of Jarungtadong Village is agricultural. Dusong located near river and swamp forest. It has been heritage through generation at Jarungtadong Village. Family agreement for using dusong product is the only one that has not change. At present, dusong have changing to smaller size, and less variety. One major problem is when dusong have changed to be only a title deed for one single family. Land and product's heritage is depending on each family consulting. 2) No sampling woman in this research has a single role for being a housewife. Everyone work as a supporter with their husband at dusong for reducing household expenses. However, no husband changes their role for housework because men believe that housework is only a woman job. 3) Both men and women have equal access to dusong management wisdom from their parents. 4) Family agreement for using dusong product is depending on owner rights, consulting among family. 5) Assessment and use of dusong are not different between men and women.
     ผู้ทำ/Author
Nameลม้าย มานะการ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstratc
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--การมีส่วนร่วมทางสังคม
--การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
     Contributor:
Name: เพ็ญพักตร์ ทองแท้
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2557
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1492
     Counter Mobile: 45