ชื่อเรื่อง/Title การปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยเรื่องการปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสังกัดงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาใน 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1)เพื่อศึกษาการปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา 2)เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา จำเเนกตามอายุ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพทางครอบครัว ประสบการณ์การทำงานและตำเเหน่งในสถานศึกษา 3)เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ความต้องการและข้อเสนอเเนะของอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้เเก่ ข้าราชการครู พนักงานราชการและครูจ้างที่ดำรงตำเเหน่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาใน 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้ จำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้เเก่ การปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ใน 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้ ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .942 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) การทดสอบรายคู่ ใช้วิธีการของ LSD ทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า <br /><br /> การปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ใน 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจารย์มีความคิดเห็นมากที่สุด ด้านจรรยาบรรณ รองลงมา คือ ด้านลักษณธอาจารย์ที่ปรึกษา ด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ ด้านวิชาการ และน้อยที่สุดคือด้านทักษะปฏิบัติงาน<br /><br /> อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีรายได้ต่างกันมีการปฏิบัติหน้าที่ทั้งโดยรวมและรายด้าน กล่าวคือ ด้านคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05<br /><br /> อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีตำเเหน่งในสถานศึกษาต่างกันมีการปฏิบัติและบทบาทหน้าที่ทั้งโดยรวมและรายด้า กล่าวคือ ด้านคุณลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษา ด้านวิชาการและด้านบุคลิกภาพ และมนุษยสัมพันธ์เเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001, .05 และ .05 ตามลำดับ<br /><br /> ปลการศึกษาปัญหา อุปสรรค ความต้องการของอาจารย์ที่ปรึกษา มีประเด็น ดังนี้ ด้านอาจารย์พบว่า อาจารย์ที่ปรึกษามีกิจกรรม หน้าที่และภาระงานสอนมากเกินไป เวลาพบปะระหว่างครูและนักเรียน นักศึกษาบางครั้งไม่ตรงกัน ขาดการให้เกียรติและให้ความสำคัญของเพื่อร่วมงาน อาจารย์บางท่านมีบุคลิกภาพไม่เหมาะสม ไม่สละเวลา ขาดการให้ความสำคัญและตรวจสอบดูเเล สนับสนุนส่งเสริมของฝ่าบริหาร เช่น ควรมีชั่วโมงโฮมรูมและปฏิบัติได้จริง การสร้างระบบการติดต่อกับผู้ปกครองแบบรวดเร็วและทันเวลา มีการอบรมให้ความรู้แก่อาจารย์ที่ปรึกษา การจัดห้องพักครู หรือสถานที่หรือมีห้องเรียนอย่างเป็นสัดส่วน เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาสามารถพบปะได้สะดวก กระบวนการดำเนินงานของระบบอาจารย์ที่ปรึกษาควรเป็นรูปธรรม ทั้งนี้อาจารย์ที่ปรึกษามีข้อเสนอเเนะ กล่าวคือ มาตรการการเเก้ปัญหาการติดยาเสพติดของนักเรียน นักศึกษาภายในสถานศึกษาที่เป็นเอกภาพ ควรมีโครงการจัดการนิเทศอาจารย์ที่ปรึกษาของเเต่ละสถานศึกษา ให้การดูเเลเเละเอาใจใส่เป็นพิเศษเเก่อาจารย์ที่ปรึกษาด้านกำลังใจ ควรแบบบันทึกต่างๆเกี่ยวกับระบบดูเเลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ควรมีการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักเรียน นักศึกษา ควรมีการพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาที่เป็นวงจร มีประสิทธิภาะและเน้นการติดตามประเมินผล ผลจากเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้ จึงส่งผลให้อาจารย์ไม่กล้าไปเยี่ยมนักเรียน นักศึกษาและะผู้ปกครองในการติดตามดูเเลพฤติกรรมหลังเลิกเรียน ด้านนักเรียน พบปัญหาของนักเรียน นักศึกษา เช่น การออกกลางคัน นักเรียน นักศึกษามีปัญหาครอบครัว บางคนออกห่างจากอาจารย์ที่ปรึกษา ยอมรับคำปรึกษาแต่ไม่ปฏิบัติตามทำให้แก้ปัญหาไม่ได้ เมื่อมีปัญหาอาจจะเเก้ไขไม่ทันท่วงที นักเรียน นักศึกษาในที่ปรึกษามีจำนวนมากเกินไป ด้านผู้ปกครอง ได้เเก่ ผู้ปกครองขาดความเอาใจใส่ดูเเล ติดตามลูกอย่างใกล้ชิด ผู้ปกครองเเท้จริงไม่ให้ความร่วมมือมาพบนักเรียน นักศึกษา<br /><br /> ข้อเสนอเเนะที่มีต่อการศึกษาควรมีการทบทวนให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้เข้าใจ เห็นความสำคัญของบทบาทงานการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เช่น การกำหนดออกเป็นนโยบายหลัก และมีระบบงานอาจารย์ที่ปรึกษาไว้ในเเผนปฏิบัติการ มีการประชาสัมพันธ์ การเเต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ ให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วม และมีการเตรียมการในระยะยาว จัดทำคู่มือการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ตลอดจนจัดโครงการที่เน้นงาด้านสวัสดิการนักเรียน นักศึกษาและการปกครองให้มากขึ้น มีเเผนพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษให้ครอบคลุมประเด็น ปัญหาตามขั้นตอน การกำหนดแผนพัฒนาควรเน้นการปฏิบัติงานที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนในทุกๆด้าน ควรมีการพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาโดยให้ได้มีโอกาสรับการอบรม หาความรู้เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดี คำนึงถึงจุดหมายที่เเท้จริงของบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา หาความรู้เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของนักเรียน นักศึกษาโดยคำนึงถึง ความเเตกต่างระหว่างบุคคล หน่วยงานควรให้ความสำคัญกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ ให้ความสมดุลภาระงานที่สอน มีสัดส่วนอัตารกำลังของอาจารย์ต่อภาระงานให้เหมาะสม ทั้งนี้เเนวทางในการเเก้ไขปัญหาอาจจะได้เเก่ การลดภาระงานอื่นนอกเหนือจากการสอนให้น้อยลง และการจัดบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อรับผิดชอบงานเหล่านี้โดยตรง เพื่อให้อาจารย์สามารถปฏิบัติหน้าที่การจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ สำหรับอาจารย์พิเศษและรายได้น้อย แนวทางแก้ปัญหา อาจการเปิดโอกาสให้อาจารย์เหล่านี้ได้รับการบรรจุ หรือมีหลักประกันความมั่นคงในอาชีพมากกว่าที่เป็นอยู่ ควรมีการทำงานอย่างมีระบบ มีหลักฐานการปฏิบัติงาน มีเทคนิค วิธีการ หรือการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อการดูเเลช่วยเหลือนักเรียนให้เกิดความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในการเเต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาควรพิเคราะห์ถึงคุณลักษณะเฉพาะหรือบุคลิกภาพของอาจารย์เป็นรายบุคคล กรณีที่อาจารย์ที่มีการปกิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสม หรือไม่สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่สถานศึกษาควรมีเเนวทางในการกำหนดโทษ ในทางตรงกันข้ามอาจนำภาระในหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษามาเป็นส่วนหนึ่งในพิจารณาคดีความชอบสถานศึกษาควรจัดอบรมสัมมนาอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ อาจเน้นการสัมมนาแบบสามเส้า กล่าวคือ ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ปกครอง ควรให้โอกาสนักเรียน นักศึกษาได้ประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อนำผลมาปรับปรุงและแก้ไขระบบงานอาจารย์ที่ปรึกษา กำหนดมาตรการให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้มีการรายงานผลการปฏิบัติงาน เพื่อสรุปผล ทั้งนี้ให้เป็นไปตามแบบบันทึกที่ทุกฝ่ายพัฒนานักเรียนได้กำหนดไว้ ควรมีระบบพี่เลี้ยง (Mentor) แก่อาจารย์ใหม่โดยที่อาจารย์พี่เลี้ยงสามารถให้คำเเนะนำได้ในทุกๆด้าน

     ผู้ทำ/Author
Nameอริยา คูหา
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. จิตวิทยาและการแนะแนว
Nameนิพนธ์ ภู่พลับ
Organization วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก ปัตตานี
Nameไชยสิทธิ์ กิจค้า
Organization วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี
Nameภิญญดา อธิรัตนชัย
Organization วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี
Nameนารีมาน ฮะซานี
Organization วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
งานวิจัยฉบับ
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยาลัยการอาชีพปัตตานี
Roles: ผู้สนับสนุนทุนวิจัย
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2555
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 1780
     Counter Mobile: 47