ชื่อเรื่อง/Title การใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุตามหลักธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี / Use of Information for Material Management Compliant to Good Governance Practices at Prince of Songkla University, Pattani Campus
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุตามหลักธรรมาภิบาลของผู้มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุ 2) เพื่อศึกษาประเภทสารสนเทศที่ใช้และเปรียบเทียบระดับการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุตามหลักธรรมาภิบาลของผู้มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุ และ 3) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีและปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุ จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-wayANOVA)ผลการวิจัย มี 5 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. ผลการศึกษาการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุตามหลักธรรมาภิบาลของผู้มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุ ตามกระบวนการบริหารจัดการพัสดุ ท้ัง 6 ด้านคือ ด้านการวางแผนกำหนดความต้องการพัสดุ ด้านการจัดหาพัสดุ ด้านการควบคุมพัสดุ ด้านการเบิกจ่ายพัสดุ ด้านการบำรุงรักษาพัสดุ และด้านการจำหน่ายพัสดุ พบว่า ผู้มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุทุกกลุ่ม มีการใช้สารสนเทศทุกรายการ ในกระบวนการบริหารจัดการพัสดุทุกด้าน 2. ผลการศึกษาประเภทสารสนเทศที่ใช้ และระดับการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า 2.1 ผู้มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุ มีการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหาร จัดการพัสดุ ในภาพรวมเป็นท้ังสารสนเทศหลักและสารสนเทศสนับสนุน โดยใช้เป็นสารสนเทศหลักอยู่ในระดับมาก และใช้เป็นสารสนเทศสนับสนุนอยู่ในระดับปานกลาง 2.2 ผลการเปรียบเทียบระดับการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุตามหลักธรรมาภิบาล จำแนกตามคุณลักษณะทางประชากรของผู้มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุได้แก่ ตำแหน่ง บทบาทหน้าที่ ประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านพัสดุ และหน่วยงานสังกัด ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ มีการใช้สารสนเทศด้านการควบคุม พัสดุเป็นท้ังสารสนเทศหลักและสารสนเทศสนับสนุนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มตำแหน่งอื่น ๆ โดยใช้เป็นสารสนเทศหลักอยู่ในระดับมากที่สุด และใช้เป็นสารสนเทศสนับสนุนอยู่ในระดับมาก 2) ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้ควบคุม มีการใช้สารสนเทศด้านการควบคุมพัสดุเป็นท้ังสารสนเทศหลักและสารสนเทศสนับสนุนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มบทบาทอื่น ๆโดยใช้เป็นสารสนเทศหลักอยู่ในระดับมากที่สุด และใช้เป็นสารสนเทศสนับสนุนอยู่ในระดับมาก 3) ผู้ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านพัสดุมากกว่า 10 ปี มีการใช้สารสนเทศด้านการควบคุมพัสดุ เป็นสารสนเทศหลักมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มประสบการณ์อื่นโดยมีการใช้อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานพัสดุ 2-5 ปี มีการใช้สารสนเทศด้านการเบิกจ่ายพัสดุเป็นสารสนเทศสนับสนุนมากที่สุด มากกว่ากลุ่มประสบการณ์อื่นโดยมีการใช้อยู่ในระดับมาก 4) ผู้ที่สังกัดหน่วยงานสนับสนุน มีการใช้สารสนเทศด้านการควบคุมเป็นท้ังสารสนเทศหลักและสารสนเทศสนับสนุนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยมากกว่าผู้ที่สังกัดหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน โดยท้ัง 2 ประเภท มีการใช้อยู่ในระดับมาก 3. ผลการศึกษาการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุ ที่มีความสอดคล้องตามหลักธรรมภิบาล ตามแนวคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553 10 องค์ประกอบ พบว่า 1) ด้านการวางแผนกำหนดความต้องการพัสดุสอดคล้องกับ องค์ประกอบที่ 6 หลักการมีส่วนร่วมมากที่สุด 2) ด้านการจัดหาพัสดุ สอดคล้องกับองค์ประกอบที่ 5 หลักความโปร่งใสมากที่สุด 3) ด้านการควบคุมพัสดุ สอดคล้องกับองค์ประกอบที่ 1 หลักประสิทธิผล และองค์ประกอบที่ 2 หลักประสิทธิภาพ มากที่สุด 4) ด้านการเบิกจ่ายพัสดุสอดคล้องกับองค์ประกอบที่ 1 หลักประสิทธิผล องค์ประกอบที่ 3 หลักการตอบสนอง และองค์ประกอบที่ 5 หลักความโปร่งใส่มากที่สุด 5) ด้านการบำรุงรักษาพัสดุ สอดคล้องกับองค์ประกอบที่ 4 หลักภาระรับผิดชอบมากที่สุด และ 6) ด้านการจำหน่ายพัสดุ สอดคล้องกับองค์ประกอบที่ 4 หลักภาระรับผิดชอบ และองค์ประกอบที่ 5 หลักความโปร่งใส มากที่สุด4. การเปรียบเทียบระดับการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุ พบว่า ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุ ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านพัสดุน้อยกว่า 2 ปีมีการใช้สารสนเทศด้านการจัดหาพัสดุ อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับกลุ่มผู้มีประสบการณ์ การปฏิบัติงานด้านพัสดุ 2-5 ปี 6-10 ปี และ มากกว่า 10 ปี ที่มีการใช้อยู่ในระดับมาก 5. การศึกษาการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า ผู้มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุ มีปัญหาในการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุในภาพรวม ได้แก่ ความทันสมัยของข้อมูล การสื่อสาร และการตรวจสอบสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุ พบว่า ผู้มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุ มีการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุที่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล ทำให้กระบวนการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ มีวิธีการหรือข้ันตอนการปฏิบัติงานตลอดจนความรู้ประสบการณ์ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีในหน่วยงาน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้รวมท้ัง มีการใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพัสดุในด้านต่าง ๆ เพิ่มเติมจากรายการที่สำรวจ

The purposes of this research were to 1) study the use of information for materialmanagement compliant to good governance practice of the personnel involving materialmanagement, 2) examine types of information in use and compare the usage levels of thepersonnel involving material management under the good governance, and 3) investigate goodpractices and problems of information usage under the good governance. The samples were 42personnel involving material management. The questionnaire was employed for collecting data,which were analyzed through mean, percentage, t-test and One-way ANOVA.Five major findings were as follows.1. In accordance with 6 aspects of material management under the good governanceframework, which included requirement plan, provision, control, requisition, maintenance andstorage, and distribution, the study discovered that every information item was used by all groupsof procurement-related personnel in all material management process.2. Regarding types of information in use and the usage levels, the research found that 2.1 the personnel involving material management principally and supportivelyused information with high and average levels respectively. 2.2 A comparative study based on positions, roles, material managementexperience and affiliation of the personnel involving material management discovered that 1) on average, material control information was principally and supportively used by heads of material staffs at the highest level; in that, principal and supportive information utilizations were at the highest and high levels respectively, higher than those utilized by personnel of other positions.2) Material controllers principally and supportively used material control information at the highest level; in that, the uses of principal and supportive information were at the highest and high levels respectively, higher than those of other roles. 3) Over-ten-year-experienced personnel principally used material control information at the highest level, while material requisition was supportively used by those with 2-5 years of experience at the highest level, higher than those of other experience personnel, whose levels of usage was high. 4) Personnel of supporting organization principally and supportively used material control information at the highest level, higher than those of academic organization,whose levels of principal and supportive usage were high. 3. In accordance with 10 elements of the good governance stated in tertiary education quality assurance 2553 B.E., the study discovered that 1) requirement plan was most relevant to the sixth element or participation; 2) provision to the fifth or transparency; 3) control to the first or effectiveness, and the second or efficiency; 4) requisition to the first or efficiency; the third or response, and the fifth or transparency; 5) maintenance and storage to the forth or responsibility,and the fifth or transparency. 4. A comparative study of the use of information in material management indicated that the personnel with less than 2 years of experience used the information in managing material at an average level, which differed from a high level of the personnel, whose working experiences were 2-5 years, 6-10 years and more than 10 years at a significant level of 0.05. 5. According to the study, an update of information, communication and investigation of information in use were problems in the use of information for material management, the study discovered that personnel involving material management followed the good governance in information usage. This led to efficient operation, good and practical operating process as well as knowledge and experience, regarded as beneficial good practice of the organization, the finding indicated that in addition to the surveyed items.
     ผู้ทำ/Author
Nameบุปผา ไชยแสง
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--นโยบายทางการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
     Contributor:
Name: อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2557
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1727
     Counter Mobile: 34