ชื่อเรื่อง/Title การบริหารจัดการครอบครัวมุสลิมที่มีภรรยาหลายคนในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี / The Administration and Management of Muslims? Polygamy Family in Muang District, Pattani Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระบบครอบครัวอิสลามและการมีภรรยาหลายคนในศาสนาอิสลาม 2) การบริหารจัดการของครอบครัวมุสลิมที่มีภรรยาหลายคนในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 3) ปัญหาและเงื่อนไขเชิงบริบทที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการครอบครัวมุสลิมที่มีภรรยาหลายคนในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสารและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามจากกรณีศึกษาซึ่งเป็นครอบครัวมุสลิม จำนวนทั้งสิ้น 10 ครอบครัว โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม ATLAS.ti ช่วยในการจัดระบบการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างข้อสรุประดับมโนทัศน์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบครอบครัวในศาสนาอิสลามมีความสมบูรณ์แบบ มีการกำหนดเป้าหมาย กฎเกณฑ์ บทบาทหน้าที่ และโครงสร้างของระบบความสัมพันธ์ที่ชัดเจน การสร้างครอบครัวบนรากฐานของศาสนาจึงเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามคำสอนศาสนา การที่บทบัญญัติศาสนาอิสลามได้อนุญาตให้ผู้ชายมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่งคนแต่ไม่เกินสี่คนภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม เป็นการแสดงถึงความสมบูรณ์และความครอบคลุมของบัญญัติทางศาสนาที่สามารถสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อรักษาไว้ซึ่งศีลธรรมอันดีงามในสังคม ตลอดจนสร้างความสมดุลให้แก่สภาวะของสังคมในทุกยุคสมัย มนุษย์ในแต่ละยุคสมัยจึงต้องนำบทบัญญัติมาปฏิบัติอย่างรอบคอบให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของศาสนา และพึงมีความตระหนักว่าความรับผิดชอบในเรื่องครอบครัวนั้นเป็นสิ่งที่ต้องถูกสอบสวนในโลกหน้า 2. การบริหารจัดการในครอบครัวที่มีภรรยาหลายคนมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) การให้ความยุติธรรมด้านการแบ่งเวลา การให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู และการมอบสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ที่ภรรยาและบุตรพึงได้รับตามข้อก าหนดศาสนา 2) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว อันได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาภรรยา ระว่างบิดากับบุตร และระหว่างบุตรต่างมารดา 3) การถ่ายทอดความรู้ศาสนาให้แก่สมาชิก ทั้งในระดับสามีต่อภรรยา และบิดามารดาต่อบุตร 4) การอบรมเลี้ยงดูบุตร ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของทั้งผู้ที่เป็นสามีและภรรยา 5) การจัดการความขัดแย้งภายในครอบครัวด้วยสันติวิธีตามแนวทางศาสนา และ 6) การจัดการอารมณ์และความเครียด ด้วยการคิดในแง่ที่ดีและควบคุมอารมณ์ให้อยู่ภายใต้กรอบคำสอนศาสนา 3. ปัญหาที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการครอบครัวมุสลิมที่มีภรรยาหลายคน แบ่งออกได้ดังนี้ คือ 1) ปัญหาที่มีสาเหตุมาจากบุคคลภายใน อันได้แก่ ครอบครัวต้องประสบกับสภาวะความเครียดในช่วงของการปรับตัว ผู้น าครอบครัวขาดการเตรียมความพร้อมในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ภรรยาคนที่หนึ่ง และปัญหาสภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่ขาดความคล่องตัว 2) ปัญหาที่มีสาเหตุมาจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ขาดการยอมรับจากบิดามารดาและเครือญาติของภรรยา ความไม่เข้าใจของกลุ่มเพื่อนของบรรดาภรรยา การได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมจากสังคม และการได้รับผลกระทบจากสื่อที่เข้ามาคุกคามความมั่นคงของครอบครัว นอกจากนี้ เงื่อนไขเชิงบริบทยังคงส่งผลต่อการบริหารจัดการครอบครัว กล่าวคือ ควรมีการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องควบคู่กันทั้งในระดับปัจเจกบุคคล คือ ผู้น าครอบครัว ภรรยา และสตรีมุสลิมคนอื่นๆ และในระดับสังคมก็ควรมีการให้องค์ความรู้ที่ถูกต้องแก่มุสลิมทุกคน เพื่อให้การน าบทบัญญัตินี้ไปปฏิบัติมีความถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่มากที่สุด

This research aims to study; 1) the Islamic family system and polygamy in Islam, 2) The administration and management in the Muslims polygamy family in Muang District, Pattani Province, 3) the problems and conditions of context which affected the management of the Muslims polygamy family in Muang District, Pattani Province. The research was conducted by using document and qualitative method, and the data obtained from the case study of 10 families. The data was collected through the in-depth interview and observations without participation. Analyzing the data was done by interpretation the meaning of data and using a computer program of ATLAS.ti to assist in data analysis and construct the conceptual level. The results of this study were as follows: 1. Family system in Islam is a complete form. There are a clear goal, a particular structure of the relationship and specific roles. The family, built on a foundation of religion, is part of living up the religious teaching. In a particular conditions Islam has allowed men to have more than one wife, but not more than four wives. That was showing the completeness and comprehensiveness of the religious commandments to fulfill the natural needs of humans being. The reason behind that rules is to maintain morality in society and balance the necessity of social needs in every age. Indeed men in each period must be implement the rules carefully and in accordance with the real intention of religion, and should be conscious that there must be investigation of responsibilities in the next world. 2. The management in the Muslims polygamy Family including; 1) providing the wives and children fairly in time, livelihood and the other fundamental rights, 2) relationship building among familys members including the one between wives, between father-children and among a children of different mothers, 3) teaching of religious knowledge at level of husband to wives and also parent to children, 4) emphasizing the upbringing of children is the responsibility of both the husband and wife, 5) conflict management within the family by peaceful ways in accordance with religious teaching, 6) management of emotional and stress by positively thinking and emotional control under religious guidance.3. The problems that affected the management of polygamous family divided as follows; 1) the problems caused by the insiders, which include experiencing of stress during the period of adjustment in initially, the husband unprepared in making understand the reality to the first wife and lastly having the difficulties in economic issues, 2) the problems caused by the outsiders which include the parents of wife did not accept the certain status, the mistaken understanding of people with relation to his wife, have been treated unfairly by the society, and lastly the impact of the mass media. The contextual conditions still affect the management of the families, namely there should be a correct understanding concern the management at the individual level, e.g. husband, wife, and other Muslim women surrounding, and at social level, e.g. there should be the inculcation of right body of knowledge to all Muslims so as to correctly and appropriately put that rules to practice.
     ผู้ทำ/Author
Nameรูดียะห์ หะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Symbol
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านเศรษฐกิจและสังคม
--สตรีเด็กและเยาวชน
วิถีชีวิตและประเพณี
ด้านศาสนา
--ศาสนากับสังคม
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: ซาฝีอี อาดำ
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2556
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 2664
     Counter Mobile: 41