ชื่อเรื่อง/Title การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี / Learner-centered Approach to Teaching of Teachers in Islamic Private Schools in Pattani Province
     บทคัดย่อ/Abstract การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี จำแนกตามเพศ กลุ่มวิชาที่สอน ประสบการณ์ในการสอน และขนาดโรงเรียน และ 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะและแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 351 คน ได้มาโดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน ส่วนกลุ่มตัวอย่างในการสนทนากลุ่ม ได้แก่ ครูที่รับผิดชอบงานสอนในแต่ละช่วงชั้นของศาสนาและสามัญ จำนวน 10 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงเฉพาะ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จำนวน 3 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงเฉพาะ ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านการดำเนินการสอนอยู่ในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี เมื่อแยกตามเพศ กลุ่มวิชาที่สอน ประสบการณ์ในการสอน และขนาดโรงเรียนต่างกัน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3. ข้อเสนอแนะและแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเตรียมการสอน ด้านการดำเนินการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผลการสอน

The objectives of this study are: 1) to examine the implementation of learner-centered approach to teaching of teachers in Islamic private schools in Pattani province; 2) to identify the differences in the implementation of this approach of teaching according to gender, subjects taught, teaching experience and school size; and 3) to provide suggestions to improve the implementation of learner-centered approach to teaching at Islamic private schools in Pattani province. A combination of quantitative and qualitative methods was used in this study. A survey-based questionnaire was utilized to collect quantitative data and focus group was used to collect qualitative data. The sample size for survey, 351 teachers at Islamic private schools in Pattani province, was identified using Krejcie and Morgan?s sample table. Purposive sampling was employed in selecting the sample for focus group in which 10 academic and religious teachers were chosen based on their teaching tasks in various levels. Stakeholder purposive sampling was used in the selection of interviewees. 3 administrators of the schools of different size: large, medium and small were selected for in-depth interview. The findings in this study show that: 1. The implementation of learner-centered approach to teaching of teachers in Islamic private schools in Pattani province was rate as ?high?. However, teaching activities were rated as ?medium?. 2. There were differences in the implementation of learner-centered approach to teaching of teachers of different gender, subject taught, teaching experience, and school size at .01 level of significance. 3. It was suggested that the teachers should improve in the following aspects: class preparation, teaching activities and teaching measurement and evaluation.<br />
     ผู้ทำ/Author
Nameเจะนิเยาะ มุสตาปะ
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยาลัยอิสลามศึกษา
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: นิเลาะ แวอุเซ็ง
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2556
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1972
     Counter Mobile: 29