|
|
|
ชื่อเรื่อง/Title |
ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 / Effects of Science, Technology and Society Approach on Achievement and Understanding of the Nature of Science of Prathomsuksa Six Students |
|
บทคัดย่อ/Abstract |
การวิจัยครั้งนี้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จ านวน 1 ห้องเรียน รวม 37 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มที่ศึกษาได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัด การเรียนรู้ เรื่องสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกภาคสนาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัด การเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ด าเนินการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนกับกลุ่มเดียว (One Group Pretest - Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมมีความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ถูกต้อง แต่มีความความเข้าใจที่แตกต่างกันในแต่ละด้าน 3. นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ โดยนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เกิดกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง เกิดกระบวนกลุ่ม กล้าคิด กล้าแสดงออก และสามารถน าความรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันและนักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมอยู่ในระดับมาก
This research aimed to study the effects of Science, Technology and Society Approach on achievement and understanding of the nature of science of prathomsuksa six students. The subjects were 37 prathomsuksa six students in the second semester of the 2009 academic year from Baan Koke School, Narathiwas Province, received by purposive sampling. They were instructed using the Science, Technology and Society Approach for 12 hours. The research instruments consisted of lesson plans on organisms and environment, achievement test, semi - structured interviews, field notes, interviewing and the students? satisfaction test and one group pretest - posttest design. The data were analyzed by mean, standard deviation and t - test for dependent group. The results of the study revealed that : 1. The students achievement was significantly higher on the posttest than pretest (p<.01). 2. The students correctly understanding the nature of science but here are some understanding in varies. 3. Learning behavior of the students by creating the students center that the students can absorb the self - knowledge, and can make the group of students to collaborate and to show the attitude, and able to take the knowledge as daily uses and to learn as happiness. 4. The students satisfaction toward Science, Technology and Society Approach was at high level. |
|
ผู้ทำ/Author |
Name | นูรียะห์ ตาเยะ | Organization | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
|
เนื้อหา/Content |
|
|
กลุ่มหัวเรื่อง: |
ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
|
|
Contributor: |
Name: |
ณัฐวิทย์ พจนตันติ |
Roles: |
ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ |
|
|
Publisher: |
Name | : | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | Address | : | ปัตตานี (Pattani) |
|
|
Year: |
2556 |
|
Type: |
วิทยานิพนธ์/THESES |
|
Copyrights : |
|
|
Counter : |
2454 |
|
Counter Mobile: |
31 |
|