ชื่อเรื่อง/Title ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกสาขาในการศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี / Factors Affecting Selection Field of Study at University Level of Students in Islamic Private Schools in Pattani Province
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิต และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตของนักศึกษาชายในหอพักมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จากประชากรที่เป็นนักศึกษาชาย จำนวน 426 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one - way anova) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) ผลการศึกษา พบว่า การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาตัวแปรที่สามารถจำแนกการเลือก สาขาในการศึกษาต่อและสร้างสมการการวิเคราะห์การจำแนก (Discriminant Analysis) เพื่อทำนายการเลือกสาขาในการศึกษาต่อสายสามัญหรือสายศาสนาของนักศึกษาปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยสัมพันธ์ (Correlation Study) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานีและกำลังศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มเรียนสายศาสนาจำนวน 57 คนกลุ่มเรียนสายสามัญจำนวน 229 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกสาขาในการศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ 12 ตัวแปร ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรที่สามารถจำแนกการเลือกสาขาในการศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยของนักศึกษาปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี ระหว่างนักศึกษาที่ศึกษาต่อสายสามัญและนักศึกษาที่ต่อสายศาสนา คือ การแนะแนวการศึกษาของครูแนะแนว สามารถนำมาพยากรณ์การเป็นสมาชิกของกลุ่มนักศึกษาที่ตัดสินใจเลือกสายสามัญได้ถูกต้องร้อยละ 87.2 และกลุ่มนักศึกษาที่ตัดสินใจเลือกสายศาสนาได้ถูกต้องร้อยละ 94.7 เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า สมการจำแนกสามารถพยากรณ์ทั้งสองกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 89.2 และได้กำหนดชื่อตัวแปรจำแนก ว่าอิทธิพลการแนะแนวทางโรงเรียน

The study aimed to determine variables discriminating study field selection and also to develop a model of discriminant analysis in order to predict study field selection, whether in general academic or Islamic studies programs, by first-year students at Prince of Songkla University who graduated from Islamic private schools in Pattani province. The correlation study was the research design in this study. Data were collected from two groups of the first-year students at Prince of Songkla University who graduated from Islamic private schools in Pattani province. These two groups included 57 students in Islamic studies programs and 229 in general academic programs. The study tools were a questionnaire about factors affecting study field selection at the university level with twelve variables. The results yielded that the predictor variable best discriminating study field selection at the university level of the first-year students at Prince of Songkla University who graduated from Islamic private schools in Pattani province, whether in general academic or Islamic studies programs was the educational guidance by guidance teachers. After the application of discriminant analysis, 87.2% of the analyzed students in general academic programs were classified correctly, while 94.7% of the students in Islamic studies programs were classified correctly. Overall, this discriminant analysis model correctly predicted 89.2% of both classified groups. The discriminator variable was identified as the effect of school guidance.
     ผู้ทำ/Author
Nameนาบีละห์ หะยีตาเฮร์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะศึกษาศาสตร์
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
Vitae
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านการศึกษา
--การจัดการศึกษา
--บุคลากรทางการศึกษา
อิสลามศึกษา
     Contributor:
Name: ชิดชนก เชิงเชาว์
Roles: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2556
     Type: วิทยานิพนธ์/THESES
     Copyrights :
     Counter : 1620
     Counter Mobile: 29