ชื่อเรื่อง/Title การวิเคราะห์การปนเปื้อนโลหะหนักในแม่น้ำปัตตานีและการดูดซับทางชีวภาพของโลหะหนักบางชนิดโดยสาหร่ายทะเลและจุลินทรีย์
     บทคัดย่อ/Abstract การศึกษาการปนเปื้อนของโลหะหนักทองเเดง ตะกั่ว และสารหนูในบริเวณลุ่มน้ำปัตตานัตอนบน โดยเก็บตัวอย่างน้ำ ดิน และสัตว์น้ำจากลำน้ำปัตตานี ช่วงบริเวณเหมืองเเร่เก่า บ้านถ่ำทะลุ อำเภอบันนังสะตา ถึงเขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 4 เเห่ง จำนวน 3 ครั้ง และทำการวิเคราะห์โดยวิธีอะตอมมิกเเอบซอบชันสเปคโตรโฟโตเมตรี พบว่า ทองเเดงมีการกระจายค่อนข้างสท่ำเสมอตลอดลำน้ำ คืออยู่ในช่วง 0.04-1.57 mg/L ส่วนปริมาณตะกั่ว และสารหนู อยู่ในช่วง 0.012-1.28 mg/L และ 8.0-90.7 ug/L ตามลำดับ สำหรับตัวอย่างตะกอนดินตรวจพบปริมาณของโลหะทองเเดง ตะกั่วและสารหนู อยู่ในช่วง 230-8,316; 1.47-66.2 และ 0.5-5.6 mg/kg; ตรวจไม่พบ -1.79+-0.64 mg/kg และตรวจไม่พบ -64.0+-5.5 ug/kg ตามลำดับ โดยพบโลหะมีปริมาณสูงในสัตว์น้ำพวกหอยขม<br /><br /> การศึกษาความสามารถการดูดซับโลหะแต่ละชนิด คือ ทองเเดง ตะกั่ว และสารหนู โดยวัสดุสาหร่ายทะเลที่มีมากในอ่าวปัตตานี คือ สาหร่ายผมนาง และสาหร่ายผักกาด โดยทำการทดลองแบบไม่ต่อเนื่อง เขย่าวัสดุตัวอย่างในสารละลายโลหะหนักแต่ละชนิดที่ค่าพีเอช หรือความเข้มข้นต่างๆกันเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้ววิเคราะห์ปริมาณโลหะที่เหลือโดยเครื่องอะตอมมิกแบบซอบชันสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ จากการใช้ความเข้มข้นเริ่มต้นของสารละลายทองเเดง ตะกั่วและสารหนูเท่ากับ 20 mg/L, 70 ug/L เเละ 50 ug/L ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ผลของค่าพีเอชต่อความสามารถดูดซับโลหะหนักคล้ายคลึงกันในวัสดุตัวอย่างสาหร่ายแต่ละชนิด โดยการดูดซับโลหะจะเพิ่มขึ้นเมื่อพีเอชของสารละลายมีค่าเพิ่มขึ้น จาก 2.0 ถึง 4.0 อัตราการเพิ่มการดูดซับจะลดลงและเริ่มคงที่ ณ พีเอช 5.0-7.0 ตัวอย่างสาหร่ายทั้งสองชนิดมีความสามารถดูดซับโลหะหนักแต่ละชนิดที่ใกล้เคียงกัน และเป็นไปตามกลไกการดูดซับแบบเเลงค์เมียร์ โดยสาหร่ายผมนางมีค่าความสามารถสูงสุดในการดูดซับโลหะ (Q+-SD) สำหรับทองเเดง ตะกั่ว และสารหนู เท่ากับ 16.10+-0.46 mg/g, 1.20-+0.05 mg/g และ 133.0+-6.0 ug/g ตามลำดับ ค่า Q ของสาหร่ายผักกาด คือ 14.64+-0.42 mg/g, 1.22+-0.07 mg/g และ 128.0+-5.0 ug/g ตามลำดับ ส่วนถ่านกัมมันต์มีการดูดซับโลหะแต่ละชนิดได้ต่ำกว่า (Q=8.70+-0.44 mg/g, 1.10+-0.05 mg/g และ 71.0+-5.0 ug/g ตามลำดับ) จากการศึกษาจลนศาสตร์ของการดูดซับโลหะพบว่า วัสดุตัวอย่างสาหร่ายแต่ละชนิดนี้สามารถดูดซับโลหะเเต่ละชนิดได้ในเวลารวดเร็ว โดยที่ความเข้มข้นของโลหะทองเเดงเเละตะกั่วเท่า 10 mg/L และ 25 ug/L ตามลำดับ สามารถดูดซับได้ถึง 90% ภายในเวลา 15 นาที และที่ความเข้มข้นของโลหะทองเเดงและตะกั่วค่าสงขึ้น (Cu=20 mg/L, Pb=50 ug/L) จะดูดซับได้ 90% ภายในเวลา 20-30 นาที ส่วนกรณีสารหนู (As=25, 50 ug/L) การดูดซับจะเกิดขึ้นค่อนข้างช้ากว่าคือดูดซับได้ 90% ภายในเวลา 30-35 นาที ศึกษาเเนวทางการนำสาหร่ายผมนางโดยการทดลองการดูดซับแบบไม่ต่อเนื่อง ความเข้มข้นของสารละลายตะกั่วคือ 20 mg/L และใช้ 0.1 M CaCl2 และ 0.1 M HNO3 เป็นตัวชะ พบว่า 0.1 M HNO3 สามารถชะตะกั่วออกจากวัสดุสาหร่ายได้มากกว่า 0.1 M CaCl2 ถึง 82% และ 72% ในรอบการชะที่ 1 และ 2 ในขณะที่ 0.1 M CaCl2 ชะออกได้เพียง 10% และ 45% ตามลำดับ แต่ตัวอย่างสาหร่ายที่ผ่านการชะครั้งเเรกด้วย 0.1 M CaCl2 จะสามารถดูดซับตะกั่วได้ดี ในช่วง 93-95 % ส่วนตัวอย่างสาหร่ายที่ผ่านการชะครั้งเเรกด้วย 0.1 M HNO3 จะดูดซับลดลงเหลือ 66-75 % แต่วัสดุสาหร่ายนี้ไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้อีก<br /><br /> การศึกษาการดูดซับโลหะทางชีวภาพโดยจุลนทรีย์ที่คัดออยกได้จากธรรมชาติซึ่งปนเปื้อนโลหะหนักโดยเก็บตัวอย่างดินและน้ำจากเเหล่งที่มีการปนเปื้อนสารหนู 4 แห่ง บริเวณเหมืองเเร่เก่า วัดถ้ำทะลุ ที่ลำน้ำปัตตานี อำเภอบันนังสะตา และบริเวณแม่น้ำปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และทำการเเยกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีสมบัติดูดซับสารหนูได้ พบว่าจากเชื้อจุลินทรีย์ที่คัดเเยกได้จำนวนทั้งหมด 158 ไอโซเลต มีจำนวน 8 ไอโซเลต สามารถเจริญได้ดีในอาหาร NB ที่มีสารหนูเข้มข้น 12 mg/L ในเวลา 24 ชั่วโมง โดยมีเพียง 1 ไอโซเลต (W 2-4 3) ที่สามารถดูดซับสารหนูได้มากที่สุด (63.4%) จากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเเบคทีเรียนชนิดนี้ พบว่าเป็นเเบคที่เรียนเเกรมลบ ไม่สร้างสปอร์ รูปร่างเป็นท่อน เคลื่อนที่โดยแฟลกเจลา ศึกษาสมบัติทางชีวเคมีของไอโซเลต W 2-4 3 เปรียบเทียบกับ Pseudomonas aeruginosa TISTR 358 พบว่ามีลักษณะบางประการคล้ายคลึงกัน และมีระยะเวลาในการเจริญที่ใกล้เคียงกัน คือ 26-30 ชั่วโมง จากการทดสอบความสามาถดูดซับโลหะสารหนูที่พีเอชต่างๆ (3.0-7.0) โดยเซลล์โซเลต W 2-4 3 ซึ่งเลี้ยงในอาหาร NB ที่มีสารหนูเข้มข้น 12 mg/L ที่พีเอช 7.0 เซลล์สามารถดูดซับสารหนูได้สูงสุด (65.5%) ปริมาณการดูดซับจะลดลงเมื่อค่าพีเอชในอาหารลดต่ำลง ความสามารถซับสารหนูของเซลล์ไอโซเลต W 2-4 3 เพิ่มขึ้น เมื่อระยะเวลาการดูซับมากขึ้น โดยในวันที่ 1-5 จะมีอัตราการดูดซับที่เพิ่มขึ้น เเต่เมื่อเวลาผ่านไปถึงวันที่ 7 อัตราการดูดซับจะลดลง ทำให้ปริมาณการดูดซับสารหนูเริ่มคงที่ จากการทดสอบการดูดซับสารหนูโดยเซลล์ W 2-4 3 ในสภาพที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต พบว่า สภาพเซลล์ที่มีชีวิต (น้ำหนักเเห้ง 0.2261 กรัม) สามารถดูดซับสารหนูได้ 0.34 mg/g อยู่ประมาณ 10 เท่า นอกจากนี้เชื้อไอโซเลต W 2-4 3 มีประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะสารหนูที่สูงกว่า ดซลล์ P.aeruginosa TISTR 358 ซึ่งมีการดูดซับสารหนูได้ดีที่สุด (44.8%) ที่ความเข้มข้นสารหนู 20 ug/g เท่านั้น ที่ความเข้มข้นสารหนูมากขึ้น เซลล์ P.aeruginosa TISTR 358 ไม่สามารถเจิญอยู่ได้

     ผู้ทำ/Author
Nameยุพดี ชัยสุขสันต์
Organization มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     เนื้อหา/Content
Cover
Abstracts
Acknowledgements
Contents
Chapter1
Chapter2
Chapter3
Chapter4
Chapter5
References
Appendix
เชื่อมโยงไปฐานข้อมูล TDC
     กลุ่มหัวเรื่อง: ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
--การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
--ปัญหาสิ่งแวดล้อม
     Contributor:
Name: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Roles: ผู้สนับสนุนทุน
     Publisher:
Name:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Address:ปัตตานี (Pattani)
     Year: 2545
     Type: งานวิจัย/Research Report
     Copyrights :
     Counter : 3277
     Counter Mobile: 95